ลักษณะวิธีการละหมาดตามซุนนะฮ์
โดย อ.อับดุลลอฮฺ สุไลหมัด
การละหมาดคืออะไร ?
การละหมาด หรืออัส-ศอลาฮฺ ( الصَّلاَةُ ) คือ ศาสนกิจที่ประกอบด้วยอิริยาบถและคำอ่านต่าง ๆ ที่เริ่มพิธีด้วยการ กล่าวตักบีรและเสร็จพิธีด้วยการกล่าวสลาม
การละหมาดคือเสาหลักของศาสนาอิสลาม ท่านมุอาซบินญะบัล ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
رَأْسُ الأَمْرِ اْلإِسْلاَمُ وَعَمُودُهُ الصَّلاَةُ
“สิ่งสำคัญสุดของกิจการทั้งปวงคืออิสลาม และเสาหลักของอิสลามคือการละหมาด”
บันทึกโดยอะหมัดและอัดติรมิซีย์
การละหมาดเป็นรู่ก่นหรือโครงสร้างหลักของศาสนาอิสลาม ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
بُنِيَ اْلإِسْلاَمُ عَلَى خَمْسٍ
“ศาสนาอิสลามถูกสร้างขึ้นบนหลักพื้นฐาน (รู่ก่น) 5 ประการ”
และหนึ่งในห้าประการที่ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวถึงก็คือ
وَإِقَامِ الصَّلاَةِ
“การดำรงละหมาด”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
การละหมาดคือภารกิจแรกที่จะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮ์ ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إِنَّ أَوَّلَ مَا يُحَاسَبُ النَّاسُ بِهِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ مِنْ أَعْمَالِهِمْ الصَّلاَةُ
“ประการแรกที่มนุษย์จะถูกไต่สวนในวันกิยามะฮ์ จากภารกิจต่างๆของพวกเขาคือการละหมาด“
บันทึกโดยอาบูดาวูดและอัลบัยฮะกีย์
การละหมาดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ละหมาดฟัรฎูและหมาดซุนนะฮ์ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้บัญญัติให้ผู้ศรัทธาละหมาดฟัรฎูในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง 5 เวลา คือ
(1) “ อัซซุฮรฺ ” ( الظُهْر ) เวลาบ่าย เมื่อตะวันเริ่มคล้อยจน ถึงเมื่อเงาของวัตถุยาวเท่าตัวเอง
(2) “ อัลอัศรฺ ” ( العَصْرُ ) เวลาเย็น เริ่มจากเมื่อเงาของวัตถุเริ่มยาวกว่าตัวเองจนถึงเมื่อดวงอาทิตย์ตก
(3) “ อัลมัฆริบฺ ” ( المَغْرِبُ ) เวลาหัวค่ำ เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงสิ้นสุดแสงสนธยา
(4) “ อัลอิชาอ์ ” ( الْعِشَاء ) เวลาค่ำ เมือสิ้นแสงสนธยาจนถึงครึ่งคืน และ
(5) “ อัลฟัจญ์รฺ ” ( الْفَجْرُ ) เวลาหัวรุ่ง เมื่อแสงรุ่งอรุณจริงปรากฏจนถึงก่อนอาทิตย์ขึ้น อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า
إِنَّ الصَّلَاةَ كَانَتْ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ كِتَابًا مَوْقُوتًا
“แท้จริงการละหมาดได้ถูกกำหนดให้เป็นภารกิจหน้าที่แก่ผู้ศรัทธาโดยมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ”
ซูเราะฮ์อันนิซาอฺ อายะฮ์ที่ 103
การเตรียมพร้อมก่อนละหมาด
ผู้ละหมาดต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดตามหลักการศาสนา (หลักฏอฮาเราะฮ์) เสื้อผ้าที่สวมใส่และบริเวณ ละหมาดต้องสะอาดปราศจากนายิส ร่างกายต้องสะอาดปราศจากหะดัษเล็กและใหญ่ ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لاَ يَقْبَلُ اللهُ صَلاَةَ أَحَدِكُمْ إِذَا أَحْدَثَ حَتَّى يَتَوَضَّأَ
“อัลลอฮ์จะไม่พิจารณาตอบรับการละหมาดของผู้หนึ่งผู้ใดในหมู่พวกท่านในขณะที่มีหะดัษอยู่ จนกว่าเขาจะอาบน้ำละหมาดเสียก่อน ”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์และอาบูดาวูด
ผู้ละหมาดจะต้องกั้นเขตหรือกำหนดบริเวณสำหรับละหมาดอย่างชัดเจน โดยวางวัสดุหรือสิ่งของที่สามารถที่ สังเกตเห็นได้ด้านหน้าผู้ละหมาด (เรียกว่าซุตเราะฮ์) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใดเดินผ่านหน้าขณะละหมาดได้ และให้ยืนละหมาดใกล้บริเวณซุตเราะฮ์นั้นมากที่สุด ท่านอาบูสะอีดอัลคุดรีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุล ลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إِذَا صَلَّى أَحَدُكُمْ فَلْيُصَلِّ إِلَى سُتْرَةٍ وَلْيَدْنُ مِنْهَا
"เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านละหมาด เขาจงละหมาดไปยังซุตเราะฮ์และจงให้ใกล้มันมากที่สุด"
บันทึกโดยอาบูดาวูดและอิบนุมาญะฮ์
และเมื่อกั้นเขตแล้ว ปรากฏว่ายังมีผู้เดินผ่านหน้าก็ไม่ถือว่ามีผลกระทบต่อการละหมาดของเขาแต่อย่างใด ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مُؤَخَّرَةُ الرَّحْلِ تَكُوْنُ بَيْنَ يَدَيْ أَحَدِكُمْ ثُمَّ لاَ يَضُرُّهُ مَا مَرَّ عَلَيْهِ
“เพียงไม้ขัดเชือกรัดอานท่อนหนึ่งที่วางไว้ด้านหน้าพวกท่าน (ขณะละหมาด) จากนั้นสิ่งที่ผ่านด้าน หน้าเขาจะไม่ กระทบต่อการละหมาดเขาแต่อย่างใด ”
บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิม,อาบูดาวูดและอิบนุมาญะฮ์
สรุปว่า มุสลิมที่จะละหมาดได้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยเงื่อนไขสำคัญ 4 ประการต่อไปนี้ คือ
1. มีความสะอาดตามศาสนบัญญัติ สะอาดจากหะดัษเล็กและใหญ่ สะอาดจากนายิสสิ่งสกปรกโสโครกตาม ศาสนบัญญัติ ทั้งร่างกาย,เสื้อผ้าและสถานที่
2. ปกปิดร่างกาย (เอาเราะฮ์) ให้มิดชิด และเรียบร้อยตามสมควร
3. หันหน้าไปทิศกิบละฮ์
4. เข้าเวลาหรืออยู่ในเวลาที่สามารถทำละหมาดได้
การละหมาดตามซุนนะฮ์
การละหมาดเป็นอิบาดะฮ์ และการอิบาดะฮ์ทุกประเภทต้องเป็นไปตามรูปแบบและลักษณะวิธีเฉพาะที่ศาสนา ได้บัญญัติไว้เท่านั้น ห้ามเพิ่มเติมหรือตัดทอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขในเรื่องการละหมาดโดยเด็ดขาด เพราะถือเป็น การก้าวก่ายและอุตริในศาสนา (บิดอะฮ์) และเป็นการขัดต่อคำสั่งของท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม ฉะนั้นผู้ละหมาดต้องรักษารูปแบบที่มีรายงานจากท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไว้เท่านั้น ท่านมาลิกอิบนุลหุวัยริษ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวกำชับถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
وَصَلُّوْا كَمَا رَأَيْتُمُونِيْ أُصَلِّيْ
"และพวก ท่านจงละหมาดตามที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์
และการละหมาดใดที่ปฏิบัติผิดเพี้ยนแตกต่างหรือไม่ตรงตามรูปแบบและลักษณะวิธีการละหมาดของท่าน รอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วถือว่าใช้ไม่ได้ (ไม่เซาะฮ์) ไม่ได้รับการพิจารณาตอบรับจากอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และเป็นความผิดอีกต่างหากด้วย ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานไว้ว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مَنْ عَمِلَ عَمَلاً لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَ رَدٌّ
“ผู้ใดกระทำการใดที่ไม่เป็นไปตามคำสั่งใช้ของเรา( หมายถึง ไม่ตรงตามศาสนาบัญญัติของเรา ) การงาน นั้นย่อมถูกปฏิเสธ”
บันทึกโดยมุสลิม
วิธีการและขั้นตอนการละหมาด
1. ยืนตรง ( القِيَامُ ) หันหน้าไปทิศกิบละฮ์ ให้ทั้งสองข้างห่างกันพอประมาณ ตามองพื้นบริเวณสุญูด อยู่ในอาการ สงบนอบน้อมพร้อมละหมาด
2. กล่าวตักบีร ( تَكْبِيْرَةُ الإِحْرَامِ ) เริ่มพิธีละหมาดโดยการกล่าวตักบีรว่า ( اَللهُ أَكْبَرُ ) พร้อมตั้งเจตนาละหมาดเพื่ออัลลอฮ์ การกล่าวตักบีรครั้งนี้เรียกว่า “ตักบีร่อตุ้ลอิหฺรอม” ขณะกล่าวตักบีรให้ยกมือทั้งสองข้างขึ้นเสมอไหล่หรือใบหู โดยพยายามให้ฝ่ามือหันตรงไปทิศกิบละฮ์ แล้วลดมือมือลงมากอดอก โดยวางมือขวากำลงบนหลังมือซ้าย หรือข้อมือ หรือแขนซ้ายแล้วทาบมือทั้งสองลงบนอก และบางครั้งก็ให้วางมือขวาบนแขนซ้ายโดยไม้ต้องกำ และการยกมือนั้นอนุญาตให้ยกหลังกล่าวตักบีรหรือก่อนตักบีรก็ได้เป็นบางครั้งเนื่องจากมีรายงานที่ถูกต้อง ยืนยันไว้
การกล่าวตักบีร เป็นการเริ่มเข้าสู่พิธีละหมาด ท่านค่อลีฟะฮ์อาลีและท่านอาบีสะอีดอัลคุดรย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ราย งานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مِفْتَاحُ الصَّلاَةِ الطُّهُورُ وَتَحْرِيمُهَا التَّكْبِيرُ وَتَحْلِيلُهَا التَّسْلِيمُ
“กุญแจสู่พิธีละหมาดคือความสะอาด (น้ำละหมาด) การเข้าสู่พิธีคือการตักบีร และการยุติพิธีคือการ กล่าวสลาม ”
บันทึกโดยอะหมัด,อาบูดาวูด,อัดติรมิซีย์และอิบนุมาญะฮ์์
3. ดุอาอ์อิสติฟตาหฺ ( دعاء الاستفتاح ) หลังกล่าวตักบีรแล้วให้อ่านดุอาอ์อิสติฟตาหฺ (หรืออิฟติตาหฺ) ด้วยบท ดุอาอ์ที่มีรายงานอย่างถูกต้องจากท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังต่อไปนี้
3.1 ให้ดุอาอ์ว่า
اللَّهُـمَّ بَاعِدْ بَيْنِيْ وَبَيْنَ خَطَايَايَ كَمَا بَاعَدْتَ بَيْنَ المَشْرِقِ وَالمَغْرِبِ، اللَّهُـمَّ نَقِّنِي مِنْ خَطَايَايَ كَمَا يُنَقَّى الثَّوْبُ الأَبْيَضُ من الدَّنَسِ، اللَّهُـمَّ اغْسِلْني مِنْ خَطَايَايَ بِالثَّلْـجِ وَالمَاءِ وَالبَرَدِ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ บาอิด บัยนี วะ บัยนะ เคาะฏอยายา กะมา บาอัดตะ บัยนัล มัชริกิ วัล มัฆริบ, อัลลอฮุมมะ นักกินี มินัล เคาะฏอยาย่า กะมา ยุนักก็อษ เษาบุ้ล อับยะฎุ มินัดดะนัส, อัลลอฮุมมัฆซิลนี มิน เคาะฏอยาย่า บิษ-ษัลญิ วัลมาอิ วัลบะร็อด )
ความหมาย “ โอ้อัลลอฮฺ ขอทรงแยกระหว่างข้าพระองค์และบาปของข้าพระองค์ ให้ห่างไกล เหมือนที่ทรงแยกทิศตะวันออกและทิศตะวันตกให้ห่างจากกัน ขอทรงชำระข้าพระองค์ ให้บริสุทธิ์จากความผิดของข้าพระองค์ เหมือนผ้าขาวที่ถูกชำระจนบริสุทธิ์จากความสกปรก ขอพระองค์ทรงล้างข้าพระองค์จากความผิดทั้งหลายของข้าพระองค์ด้วยหิมะ น้ำ และลูกเห็บ ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
3.2 หรือจะอ่านบทดุอาอ์นี้
سُبْـحَانَكَ اللَّهُـمَّ وَبِـحَـمْدِكَ، وَتَـبَارَكَ اسْمُكَ، وَتعَالَى جَدُّكَ، وَلا إلَـهَ غَيْرُكَ
คำอ่าน ( ซุบหานะกัลลอฮุมมะ วะบิหัมดิก้า วะตะบาเราะกัสมุก้า วะตะอาลาญัดดุก้า วะลาอิลาฮะฆัยรุก้า )
ความหมาย “ มหาบริสุทธ์ยิ่งพระผู้อภิบาลแห่งเรา เราขอสรรเสริญพระองค์ จำเริญยิ่งแล้วพระนาม ของพระองค์ สูงส่งยิ่งแล้วพระบารมีของพระองค์ และไม่มีพระเจ้าอื่นใดอีกแล้วนอกจากพระองค์”
บันทึกโดยอาบูดาวูดและอัตติรมิซีย์
3.3 หรือจะอ่านบทดุอาอ์นี้
اللَّهُـمَّ رَبَّ جِبْرَائِيلَ وَمِيكَائِيلَ وَإسْرَافِيلَ، فَاطِرَ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ، عَالِـمَ الغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ، أَنْتَ تَـحْكُمُ بَيْنَ عِبَادِكَ فِيْـمَا كَانُوا فِيهِ يَـخْتَلِفُونَ،اهْدِنِي لِـمَا اخْتُلِفَ فِيْـهِ مِنَ الحَقِّ بِإذْنِكَ،إنَّكَ تَـهْدِي مَنْ تَشَاءُ إلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيمٍ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ร็อบบะ ญิบรีล วะ มีกาอีล วะ อิสรอฟีล, ฟาฏิร็อส สะมาวาติ วัลอัรฎิ, อาลิมัล ฆ็อยบิ วัชชะฮาดะฮฺ, อันตะ ตะห์กุมุ บัยนะ อิบาดิกะ ฟีมา กานู ฟีฮิ ยัคตะลิฟูน, อิฮดินี ลิมัคตุลิฟะฟีฮิ มินัลฮักกิ บิอิซนิก, อินนะกะ ตะฮฺดี มัน ตะชาอุ อิลา ศิรอฏิม มุสตะกีม )
ความหมาย “ โอ้อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าของญิบรีล,มิกาอีลและอิสรอฟีล ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน ผู้ทรงรอบรู้สิ่งที่เร้นลับและเปิดเผย พระองค์คือผู้ตัดสินระหว่างบ่าวทั้งหลายของพระองค์ในเรื่องที่เกิด ความขัดแย้งขึ้น ขอทรงชี้นำข้าพระองค์สู่ความถูกต้องในเรื่องที่มีการขัดแย้งนั้นด้วยพระอนุมัติแห่ง พระองค์ แท้จริงพระองค์ทรงชี้นำผู้ที่ทรงประสงค์สู่ทางอันเที่ยงตรง “
บันทึกโดยมุสลิม
3.4 หรือจะอ่านบทดุอาอ์นี้
اللهُ أَكْبَرُ كَبِيراً، وَالحَـمْدُ للهِ كَثِيراً، وَسُبْـحَانَ اللهِ بُكْرَةً وَأَصِيلاً
คำอ่าน ( อัลลอฮุ อักบะรุกะบีรอ, วัลฮัมดุลิลลาฮิกะษีรอ, วะซุบหานัลลอฮิบุกเราะตัน วะอะศีลา )
ความหมาย “ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ที่สุด มวลการสรรเสริญอันมากมายเป็นอภิสิทธิแห่งพระองค์ และทรงบริสุทธิ์ยิ่งทั้งในยามเช้าและยามเย็น ”
บันทึกโดยมุสลิม
3.5 หรือจะอ่านบทดุอาอ์นี้
الحَـمْدُ للهِ حَـمْداً كَثِيراً طَيِّباً مُبَارَكاً فِيْـه
คำอ่าน ( อัลฮัมดุลิลลาฮิ หัมดันกะษีร็อน ฏ็อยยิบัน มุบาเราะกัน ฟีฮิ )
ความหมาย “ การสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ขอสรรเสริญด้วยการสรรเสริญที่มากมาย ดียิ่งและจำเริญยิ่ง ”
บันทึกโดยมุสลิม
3.6 หรือจะอ่านบทตะวัจญุฮฺก็ได้ คือ
وَجَّهْتُ وَجْهِيَ لِلَّذِيْ فَطَرَ السَّمَاوَاتِ وَاْلأَرْضَ حَنِيْفًا مُسْلِمًا وَمَا أَنَا مِنَ الْمُشْرِكِيْنَ ، إِنَّ صَلاَتِيْ وَنُسُكِيْ وَمَحْيَايَ وَمَمَاتِيْ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ ، لاَ شَرِيْكَ لَهُ وَبِذَلِكَ أُمِرْتُ وَأَنَا مِنَ الْمُسْلِمِيْنَ
บทตะวัจญุฮฺนี้บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิมและอัดติรมีซีย์ และสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ละหมาดจะใช้บทดุอาอ์ต่าง ๆ สลับกันตามสมควรและตามความสามารถในการจดจำ ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งซุนนะฮฺรูปแบบของ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการละหมาด
مُؤَخَّرَةُ الرَّحْلِ تَكُوْنُ بَيْنَ يَدَيْ أَحَدِكُمْ ثُمَّ لاَ يَضُرُّهُ مَا مَرَّ عَلَيْهِ
“เพียงไม้ขัดเชือกรัดอานท่อนหนึ่งที่วางไว้ด้านหน้าพวกท่าน (ขณะละหมาด) จากนั้นสิ่งที่ผ่านด้าน หน้าเขาจะไม่ กระทบต่อการละหมาดเขาแต่อย่างใด ”
บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิม,อาบูดาวูดและอิบนุมาญะฮ์
4. อ่านอัลฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺ ( قراءة الفاتحة والسورة ) หลังจากอ่านดุอาอิสติฟตาห์แล้ว ให้ผู้ละหมาดอ่าน ซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์จนจบต้น และให้กล่าวค่อย ๆ ว่า
أَعُوْذُ بِاللهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ
คำอ่าน ( อะอูซุบิลลาฮิ มินัช ชัยฏอนิร เราะญีม )
ความหมาย “ ข้าขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ ให้พ้นจากชัยฏอนผู้ถูกสาปแช่ง ”
หรือกล่าวว่า
أَعُوْذُ بِاللهِ السَّمِيْـعِ العَلِيمِْ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِْمِنْ هَـمْزِهِ، وَنَفْخِهِ وَنَفْثِهِ
คำอ่าน ( อะอูซุบิลลาฮิส สะมีอิล อะลีม, มินัช ชัยฏอนิร เราะญีม, มิน ฮัมซิฮี วะ นัฟคิฮี วะ นัฟษิฮฺ )
ความหมาย “ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ ผู้ทรงได้ยินและรอบรู้ยิ่งให้พ้นจากชัยฏอนผู้ถูกสาป แช่ง จากการกระซิบของมัน การพ่นและเป่ามนตร์ของมัน ”
บันทึกโดยอาบูดาวูดและอัตติรมิซีย์
หลังจากนั้น ให้กล่าวบิสมิลลาฮ์ ค่อย ๆ ว่า
بِسْمِ اللهِ الرَّحْـمَنِ الرَّحِيْـمِ
คำอ่าน ( บิสมิลลาฮิร เราะห์มานิร เราะฮีม )
ความหมาย “ ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
การอ่านซูเราะฮฺอัลฟาติฮะฮฺในละหมาดนั้นเป็นรู่ก่น ผู้ละหมาดจำเป็นต้องอ่าน และต้องอ่านอย่างถูกต้องและ ชัดเจน และหยุด(วักฟฺ)ทีละอายะฮฺ ผู้ที่ละหมาดโดยไม่อ่านซูเราะฮ์อัลฟาติหะฮฺในละหมาดถือว่าการละหมาด ของเขานั้นใช้ไม่ได้ (ไม่เซาะฮ์) ท่านอุบาดะฮ์อิบนุสศอมิต ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لاَ صَلاَةَ لِمَنْ لَمْ يَقْرَأْ بِفَاتِحَةِ الْكِتَابِ
“ ไม่มีการละหมาดที่ถูกต้องสำหรับผู้ที่ไม่อ่านอัลฟาติฮะฮ์ ”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์,มุสลิมและอาบูดาวูด
ท่านอาบูฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مَنْ صَلَّى صَلاَةً لَمْ يَقْرَأْ فِيْهَا بِأُمِّ الْقُرْآنِ فَهِىَ خِدَاجٌ هِىَ خِدَاجٌ غَيْرُ تَمَامٍ
“ผู้ใดละหมาดครั้งหนึ่งครั้งใดโดยไม่อ่านอุมมุลกุรอาน-คืออัลฟาติฮะฮ์-ในละหมาดนั้นแน่นอนการ ละหมาดนั้นบกพร่อง บกพร่อง ไม่สมบูรณ์”
บันทึกโดยมุสลิม
อิหม่ามและผู้ละหมาดคนเดียวจำเป็นต้องอ่านซูเราะฮฺอัลฟาติฮะฮฺในทุกร็อกอะฮ์ ส่วนผู้ที่ละหมาดเป็นมะอฺมูมนั้น นักวิชาการมีมุมมองและความเข้าใจที่แตกต่างกัน ส่วนหนึ่งเข้าใจว่ามะอฺมูมต้องอ่านอัลฟาติฮะฮ์ในทุกกรณี อีกส่วนหนึ่งเข้าใจว่า ให้มะฮมูมอ่านอัลติฮะฮ์แต่เฉพาะในละหมาดที่อ่านค่อยเช่นละหมาดซุฮรฺและอัศรฺ ส่วนละหมาดที่อิหม่ามต้องอ่านดังเช่นมัฆริบและอิชาอฺนั้น มะอฺมูมไม่ต้องอ่านอัลฟาติฮะฮ์ แต่ให้นิ่งฟังการ อ่านของอิหม่ามด้วยอาการสงบ
และการอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์นี้นั้น สมควรอ่านที่ละอายะฮ์ ไม่สมควรอ่านต่อเนื่องกันหลาย ๆ อายะฮ์ดังปรากฏ ในรายงานของท่านอิหม่ามอะหมัด จากท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์ว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม อ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์หยุดทีละอายะฮ์
كَانَ يُقَطِّعُ قِرَاءَتَهُ آيَةً آيَةً
“ ท่านรอซูลลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านหยุดทีละอายะฮ์ๆ ดังนี้”
และท่านอิหม่ามอัลฮากิมบันทึกในหนังสืออัลมุสตัดร็อกจากท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์ไว้อีกว่า
كَانَ يُقَطِّعُ قِرَاءَتَهُ آيَةً آيَةً
“ท่านรอซูลลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านหยุดทีละอายะฮ์ๆ อ่านว่า (อัลฮัมดุลิลลาฮิร็อบบิล อาละมีน) แล้วก็หยุด (อัรเราะหฺมานิรร่อฮีม) แล้วก็หยุด ”
5. การกล่าวอามีน ( التَأْمِيْنُ )
เมื่ออ่านอัลฟาติฮะฮ์จบต้นแล้ว ให้กล่าวว่า “ อามีน ” ( آمِيْن ) ทั้งอิมาม,มะอ์มูมและผู้ที่ละหมาดคนเดียว ทั้งนี้ให้กล่าวโดยลากเสียงให้ยาวและออกเสียงให้ดังพร้อม ๆ กันทั้งอิหม่ามและมะอ์มูม ทั้งนี้เฉพาะการละหมาด ที่อ่านเสียงดังเท่านั้น ส่วนการละหมาดที่ต้องอ่านฟาติฮะฮ์ค่อยก็ให้กล่าวอามีนค่อย ท่านอาบูฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إذَا أَمَّنَ الإمَامُ فَأَمِّنُوا فَإنَّهُ مَنْ وَافَقَ تَأْمِيْنُـهُ تَأْمِيْنَ المَلائِكَةِ غُفِرَ لَـهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِـهِ
“ เมื่ออิหม่ามกล่าว “อามีน” พวกท่านก็จงกล่าว “อามีน” เพราะผู้ใดที่กล่าวอามีนพร้อมการกล่าวอามีน ของ มะลาอิกะฮ์ เขาจะได้รับอภัยโทษจากความผิดที่ผ่านมา”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
ท่านอิบนุชิฮาบได้กล่าว อธิบายหะดีษนี้ว่า “ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็กล่าวว่า อามีน ”
หลังจากอ่านอัลฟาติฮะฮฺแล้วให้อ่านซูเราะฮฺหนึ่งซูเราะฮ์ หรืออายะฮ์อัลกุรอานจำนวนหนึ่งที่ง่ายและสะดวกที่จะ อ่าน การอ่านซูเราะฮ์นั้นให้ค่อยและดังตามการอ่านอัลฟาติฮะฮ์ ในร็อกอะฮ์แรกให้ยาวและมากกว่าในร็อกอะฮ์ ที่สอง ให้อ่านแบบช้าๆด้วยจังหวะและการออกเสียงที่ถูกต้องชัดเจนและด้วยน้ำเสียงที่ไพเราะน่าฟัง ท่านอาบูก้อตาดะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ( ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านอุมมุล กิตาบ-คืออัลฟาติฮะฮ์-และสองซูเราะฮ์ในสองร็อกอะฮ์แรกของละหมาดซุฮรฺ และในสองร็อกอะฮ์หลังนั้นอ่าน เพียงอุมมุลกิตาบเพียงอย่างเดียว โดยท่านจะอ่านซูเราะฮ์ในร็อกอะฮ์แรกให้ยาวและนานกว่าร็อกอะฮ์ที่สอง และท่านก็ทำในละหมาดอัศรฺและซุบห์แบบนี้ ) บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
6. แบบอย่างและตัวอย่างการอ่านซูเราะฮฺในการละหมาดทั้ง 5 เวลา
จากหะดีษของท่านอาบูก้อตาดะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ เข้าใจได้ว่า ตามซุนนะฮ์ของท่านรอซู ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการอ่านซูเราะฮ์ในละหมาดนั้น ให้อ่านในร็อกอะฮ์แรกให้ยาวกว่าใน ร็อกอะฮ์ที่สอง และหากเป็นไปได้ สมควรอย่างยิ่งที่ผู้ละหมาดจะรักษาแบบอย่างการอ่านซูเราะฮ์ในละหมาด ตามที่มีปรากฏในซุนนะฮ์ของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ด้วย เพื่อให้การละหมาดนั้น เป็นไปอย่างสมบูรณ์และตรงตามซุนนะฮ์มากที่สุด
1. ละหมาดซุบหฺ โดยส่วนใหญ่แล้วท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะอ่านซูเราะฮ์ในละหมาดซุบหฺ ที่มีจำนวนอายะฮ์ ไม่น้อยกว่า 60 อายะฮ์ บางครั้งท่านรอซูลุลลอฮ์อ่านซูเราะฮ์ประเภทฏิวาลมุฟัศซ็อล (คือซูเราะฮ์ยาว) เช่น ซูเราะฮฺกอฟฺ,อัลก้อมัร,อัสซัจญฺดะฮ์และอัรรูมเป็นต้น และบางครั้งก็อ่านซูเราะฮฺประเภท เอาซาฏุลมุฟัศศ็อล (คือปานกลาง) เช่น ซูเราะฮ์อัตตักวีร,อัลอะอฺลา,อัลฆอชิยะฮ์ และบางครั้งก็อ่านประเภท กิซอรุลมุฟัศศ็อลเราะฮ์ (คือสั้นๆ) เช่น ซูเราะฮฺอัซซัลซะละฮฺ,อัลฟะลักและอันนาสเป็นต้น และบางครั้งท่าน รอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านซูเราะฮฺที่ ยาวทั้งซูเราะฮ์ โดยแบ่งอ่านในร็อกอะฮ์แรกให้มากและ ยาวกว่าในร็อกอะฮฺที่สอง และบ่อยครั้งที่ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านซูเราะฮ์อัส ซัจญฺดะฮ์ในร็อกอะฮ์แรกของละหมาดซุบหฺวันศุกร์และอ่านซูเราะฮ์อัลอินซานในร็อกอะฮฺที่สอง
2. การละหมาดซุฮรฺ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะอ่านซูเราะฮ์ในละหมาดซุฮริประมาณ 30 อายะฮ์ น้อยและสั้นกว่าละหมาดซุบหฺ บางครั้งท่านก็อ่านซูเราะฮฺยาว และบางครั้งก็อ่านสูเราะฮฺสั้น มีรายงานว่า บางครั้งท่านอ่านซูเราะฮ์อัลอะอฺลา,อัลลัยลฺ,อัลบุรูจญฺและอัดฏอริกเป็นต้น
3. การละหมาดอัศรฺ โดยปกติแล้วท่านจะอ่านซูเราะฮ์ในละหมาดอัศรฺน้อยกว่าที่อ่านในละหมาดซุฮรฺ
4. การละหมาดมัฆฺริบ มีรายงานยืนยันว่าบางครั้งท่านอ่านซูเราะฮ์ในละหมาดมัฆริบด้วยซูเราะฮ์ประเภทฏิวาลุล มุฟัศศ็อล เช่น ซูเราะฮ์อัลอะอฺรอฟและอัลอันฟาล บางครั้งก็อ่านประเภทเอาสาฏุลมุฟัศซ็อล เช่น ซูเราะฮ์อัส- ซ็อฟฟ้าตและอัดดุคอน และบางครั้งก็อ่านประเภทกิศอรุลมุฟัศศ็อล เช่น ซูเราะฮ์อัลลอะอฺลา อัตตีน,อัลอิคลาศ, อัลฟะลักและอันนาสเป็นต้น
5. การละหมาดอิชาอ์ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะอ่านซูเราะฮ์ในละหมาดอิชาอฺประเภท ปานกลางและสั้น เช่น ซูเราะฮ์อัชชัมสฺ,อัลลัยลฺ,อัลอะอฺลาและอัตตีนเป็นต้น
مِفْتَاحُ الصَّلاَةِ الطُّهُورُ وَتَحْرِيمُهَا التَّكْبِيرُ وَتَحْلِيلُهَا التَّسْلِيمُ
“กุญแจสู่พิธีละหมาดคือความสะอาด (น้ำละหมาด) การเข้าสู่พิธีคือการตักบีร และการยุติพิธีคือการ กล่าวสลาม ”
บันทึกโดยอะหมัด,อาบูดาวูด,อัดติรมิซีย์และอิบนุมาญะฮ์์
7. การรู่กั๊วะ ( الرُّكُوْع )
หลังเสร็จสิ้นจากการอ่านอัลฟาติฮะฮ์และซูเราะฮ์แล้ว ให้หยุดนิ่งชั่วขณะหนึ่ง แล้วยกมือทั้งสองจนถึงระดับไหล่ หรือระดับติ่งหูทั้งสอง พร้อมกับกล่าวตักบีรว่า ( اَللهُ أَكْبَرُ ) แล้วจึงโค้งลงรุกั๊วะ โดยวางมือทั้งสองบนหัวเข่า เสมือนจับหรือกุมไว้ กางนิ้วออกจากกันเล็กน้อย ให้ข้อศอกแยกห่างจากลำตัว ให้แผ่นหลังราบมีระดับเสมอกัน ทั้งหมด ศรีษะอยู่ในระดับเดียวกับหลัง ไม่เชิดศีรษะขึ้นและไม่งุ้มหรือมุดศีรษะลง และให้อยู่ในอาการสงบนิ่ง ในขณะรุกั๊วะชั่วขณะหนึ่ง(ฏุมะนีนะฮ์) ท่านหญิงอาอิชะฮ์รายงาน จากท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม ว่า
وَكَانَ إِذَا رَكَعَ لَمْ يُشْخِصْ رَأْسَهُ وَلَمْ يُصَوِّبْهُ وَلَكِنْ بَيْنَ ذَلِكَ
“ และเมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รู่กั๊วะ ท่านจะไม่เชิดศีรษะของท่านขึ้น และจะไม่มุดศีรษะของท่านลง แต่ท่านจะอยู่ในระดับที่พอดี ”
“ และเมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รู่กั๊วะ ท่านจะไม่เชิดศีรษะของท่านขึ้น และจะไม่มุดศีรษะของท่านลง แต่ท่านจะอยู่ในระดับที่พอดี ”
คือปานกลาง คือไม่เชิดจนสูงและไม่มุดจนต่ำ หะดีษนี้บันทึกโดยมุสลิม
8. บทตัสบีห์ในรู่กั๊วะ (أَذْكَارُ الرُّكُوْعِ )
8.1 ให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَ رَبِّيَ العَظِيْمِ
คำอ่าน ( ซุบหานะ ร็อบบิยัล อะซีม )
“ บริสุทธิคุณยิ่ง พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ”
บันทึกโดยมุสลิม
8.2 หรือให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَكَ وَبِـحَـمْدِكَ لاَ إلَـهَ إلاَّ أَنْتَ
คำอ่าน ( ซุบหานะกะ วะ บิหัมดิกะ ลาอิลาฮะ อิลลา อันตะ )
“ บริสุทธิ์ยิ่งพระองค์ท่าน และด้วยการสรรเสริญพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอก จากพระองค์ ”
บันทึกโดยมุสลิม
8.3 หรือให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَكَ اللَّهُـمَّ رَبَّنَا وَبِـحَـمْدِكَ اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِيْ
คำอ่าน ( ซุบหานะกัลลอฮุมมะ ร็อบบะนา วะบิหัมดิกะ อัลลอฮุมมัฆฟิรฺลี )
“ มหาบริสุทธิ์ยิ่งพระองค์ท่าน โอ้อัลลอฮ์ โอ้พระผู้อภิบาลของเรา และด้วยการสรรเสริญ พระองค์ ได้โปรดประทานอภัยโทษแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
บทตัสบีห์นี้สมควรกล่าวให้มาก ๆ ทั้งในรุกูอฺและในสุญูด
8.4 หรือให้กล่าวว่าี้
سُبُّوحٌ قُدُّوْسٌ رَبُّ المَلاَئِكَةِ وَالرُّوْحِ
คำอ่าน ( ซุบบูหุน กุดดูซุน ร็อบบุล มะลาอิกะติ วัรรูหฺ )
“ผู้ทรงบริสุทธิคุณยิ่ง ผู้ทรงศักด์สิทธิ์ยิ่ง พระผู้อภิบาลแห่งมวลมลาอิกะฮฺทั้งหลายและญิบรีล ”
บันทึกโดยมุสลิม
8.5 หรือให้กล่าวว่าี้
اللَّهُـمَّ لَكَ رَكَعْتُ وَبِكَ آمَنْتُ وَلَكَ أَسْلَـمْتُ، خَشَعَ لَكَ سَمْعِيْ وَبَصَرِيْ وَمُـخِّيْ وَعَظْمِيْ وَعَصَبِيْ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ละกะ เราะกะอฺตุ, วะบิกะ อามันตุ, วะละกะ อัสลัมตุ, เคาะชะอะ ละกะ ซัมอี, วะ บะเศาะรี, วะมุคคี, วะอัซมี, วะ อะเศาะบี )
“โอ้อัลลอฮฺ แด่พระองค์ข้าได้โค้งรุกั๊วะ กับพระองค์ข้าได้ศรัทธา แด่พระองค์ข้าได้สยบยอม หูของข้าฯ ดวงตาของข้าฯ สมองของข้าฯ กระดูกของข้าฯ และเส้นประสาทของข้าฯ ได้น้อมนอบต่อพระองค์แล้ว ”
บันทึกโดยมุสลิม
8.6 หรือให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَ ذِي الجَبَرُوْتِ، وَالمَلَكُوْتِ، وَالكِبْرِيَاءِ، وَالعَظَمَةِ
คำอ่าน ( สุบหานะ ซิล วะบะรูต วัล มะละกูต วัล กิบริยาอ์ วัล อะเซาะมะฮฺ )
“ มหาบริสุทธิ์ยิ่ง พระองค์ผู้ทรงยิ่งด้วยความเกรียงไกร อำนาจบารมี ศักดิ์ศรี และความยิ่งใหญ่ ”
บันทึกโดยอาบูดาวูดและอันนะซาอีย์
โดยให้กล่าวทั้งในรุกูอฺและในสุญูด
ทั้งนี้หากมีความสามารถให้ใช้บทตัสบีหฺสำนวนนี้บ้าง สำนวนนั้นบ้าง ตามโอกาสและความสะดวก เพื่อเป็นการ รักษาไว้ซึ่งซุนนะฮฺแบบอย่างของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในทุกๆสำนวนที่ได้มีรายงานไว้
9. เงยขึ้นจากรุกูอฺ (الرَّفْعُ مِنَ الرُّكُوْعِ )
หลังจากกล่าวบทตัสบีห์ในรู่กั๊วะครบจำนวนแล้ว ให้เงยศีรษะขึ้นจากรู่กั๊วะ จนกระทั่งอยู่ในท่ายืนตรงโดยให้ข้อ กระดูกต่าง ๆ กลับอยู่ในสภาพที่เป็นธรรมชาติเดิมของมัน แล้วยกมือทั้งสองข้างเสมอระดับบ่าหรือระดับติ่งหูทั้ง สองเหมือนกับที่ผ่านมา แล้วปล่อยมือทั้งสองลง หากเป็นอิหม่ามหรือละหมาดคนเดียวให้กล่าวในขณะเงย ศีรษะว่า
سَمِعَ الله لِـمَنْ حَـمِدَه
คำอ่าน ( สะมิอัลลอฮุ ลิมันหะมิดะฮฺ )
“ อัลลอฮฺทรงได้ยินผู้ที่สรรเสริญพระองค์ ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
10. ดุอาอ์ขณะยืนตรงหลังเงยศีรษะขึ้นจากรู่กั๊วะ (الرَّفْعِ مِنَ الرُّكُوْعِ أَذْكَارُ )
เมื่ออยู่ในท่ายืนตรง(อิอฺติดาล)เรียบร้อยแล้ว ให้กล่าวดังต่อไปนี้
10.1 ให้กล่าวว่า
رَبَّنَا وَلَكَ الحَـمْدُ
คำอ่าน ( ร็อบบะนา วะละกัล หัมด์ )
“ โอ้พระผู้อภิบาลของเรา และการสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์เท่านั้น ์”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
10.2 หรือให้กล่าวว่า
رَبَّنَا لَكَ الحَـمْدُ
คำอ่าน ( ร็อบบะนา ละกัล ฮัมดฺ )
“โอ้พระผู้อภิบาลของเรา การสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์เท่านั้น ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์
10.3 หรือให้กล่าวว่า
اللَّهُـمَّ رَبَّنَا لَكَ الحَـمْدُ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ร็อบบะนา ละกัล ฮัมดฺ )
“โอ้อัลลอฮฺ โอ้พระผู้อภิบาลของเรา การสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์เท่านั้น”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
10.4 หรือให้กล่าวว่า
اللَّهُـمَّ رَبَّنَا وَلَكَ الحَـمْدُ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ร็อบบะนา วะ ละกัล ฮัมดฺ )
“โอ้อัลลอฮฺ โอ้พระผู้อภิบาลของเรา และการสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์เท่านั้น ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์
ทั้งนี้หากมีความสามารถให้ผู้ละหมาดใช้สำนวนนี้บ้าง สำนวนนั้นบ้าง ตามโอกาสและความสะดวก เพื่อเป็นการ รักษาไว้ซึ่งซุนนะฮฺแบบอย่างของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในทุกๆสำนวนที่ได้มีรายงานไว้
10.5 และสมควรกล่าวเพิ่มอีกว่า
حَـمْدًا كَثِيراً طَيِّباً مُبَارَكاً فِيْـهِ
คำอ่าน ( ฮัมดัน กะษีร็อน ฏ็อยยิบัน มุบาเราะกัน ฟีฮิ )
“ขอสรรเสริญต่อพระองค์ ด้วยการสรรเสริญที่มากมาย ดีเลิศ และจำเริญยิ่ง ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์
10.6 และกล่าวเพิ่มอีกว่า
مِلْؤُ السَّمَاوَاتِ، وَ مِلْؤُ الأَرْض وَمَا بَيْنَـهُـمَا، وَ مِلْؤُ مَا شِئْتَ مِنْ شَيْءٍ بَـعْدُ، أَهْلَ الثَّنَاءِ وَالمَـجْدِ، لا مَانِعَ لِـمَا أَعْطَيْتَ، وَلا مُعْطِيَ لِـمَا مَنَعْتَ، وَلا يَنْفَعُ ذَا الجَدِّ مِنْكَ الجَدُّ
คำอ่าน ( มิลอุส สะมาวาต, วะ มิลอุล อัรฎ์, วะ มาบัยนะฮุมา, วะ มิลอุ มา ชิอฺตะ มินชัยอิน บะอฺดุ, อะฮฺลัษ ษะนาอิ วัล มัจญ์ดฺ, ลา มานิอะ ลิมา อะอฺฏ็อยตะ, วะลา มุอฺฏิยะ ลิมา มะนะอฺตะ, วะลา ยันฟะอุ ซัลญัดดิ มินกัล ญัดดุ )
“การสรรเสริญที่เต็มเปี่ยมทุกท้องฟ้าและเปี่ยมทุกแผ่นดิน และเต็มเปี่ยมระหว่างทั้งสองนั้น รวมทั้งทุก สิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์นอกจากนั้น โอ้พระองค์ผู้ทรงคู่ควรแก่การสรรเสริญและการให้เกียรติ ไม่มีสิ่ง ใดกีดกันขัดขวางสิ่งที่พระองค์ประทานให้ และไม่มีสิ่งใดมอบในสิ่งที่พระองค์กีดกันขัดขวางได้ และความมั่งคั่งมิอาจให้ประโยชน์แก่ผู้มั่งคั่งนั้น ณ พระองค์ได้เลย”
บันทึกโดยมุสลิม
และในขณะยืนตรงเอี๊ยะติดาล ( اَلاِعْتِدَال ) หลังเงยศีรษะจากรู่กั๊วะแล้วทุกครั้ง จำเป็นจะต้องหยุดสงบนิ่ง ( الطمأنينة ) ชั่วขณะหนึ่งก่อนเปลี่ยนไปทำอิริยาบถต่อไป
11. การสุญูด (السجود )
หลังจากหยุดนิ่งชั่วขณะหนึ่งแล้ว ให้ย่อตัวลงสุญูด พร้อมกล่าวตักบีรฺ ( اَللهُ أَكْبَرُ ) โดยให้อวัยวะทั้งเจ็ดส่วน คือ หน้าผากรวมถึงจมูก ฝ่ามือมือทั้งสอง หัวเข่าทั้งสอง และปลายเท้าทั้งทั้งสอง วางให้แนบสนิทกับพื้น ห้ามกำหรือ ถืออะไรไว้ในมือ ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
أُمِرْتُ أَنْ أَسْجُدَ عَلَى سَبْعَةِ أَعْظُمٍ عَلَى الْجَبْهَةِ وَأَشَارَ بِيَدِهِ عَلَى أَنْفِهِ وَالْيَدَيْنِ وَالرُّكْبَتَيْنِ وَأَطْرَافِ الْقَدَمَيْنِ وَلاَ نَكْفِتَ الثِّيَابَ وَالشَّعَرَ
“ฉันถูกใช้ให้สุญูดบนอวัยวะเจ็ดส่วน คือ บนหน้าผาก แล้วท่านก็ชี้มือเลยไปถึงจมูกด้วย ฝ่ามือทั้งสอง ข้าง หัวเข่าทั้งสองข้าง และปลายเท้าทั้งสองข้าง และเราจะไม่กำผ้าหรือผมไว้ ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
โดยการลงสุญูดนั้น ให้ลงโดยการเอาหัวเข่าทั้งสองวางลงกับพื้นก่อนฝ่ามือ และเมื่อฝ่ามือทั้งสองแนบสัมผัสพื้น ดีแล้วจึงให้หน้าผากและจมูกแนบสัมผัสกับพื้นตามลำดับ และให้ฝ่ามือทั้งสองวางราบกับพื้นเสมอแนวหัวไหล่ หรือใบหู แบมือทั้งสองและให้นิ้วชิดกันและหันไปทางกิบละฮฺ ให้กางแขนห่างจากลำตัวพอประมาณ ข้อศอก ยกสูงขึ้นจากพื้น และให้หน้าท้องห่างจากต้นขา ให้ปลายเท้าทั้งสองแนบและยันพื้นโดยพยายามให้ปลายนิ้ว เท้าชี้ไปทิศกิบละฮฺ ให้เท้าทั้งสองตั้งชันอยู่ใกล้ๆกัน และระหว่างหัวเข่าทั้งสองข้างให้ห่างกันตามสมควร ต้องพยายามให้อวัยวะทั้ง 7 ส่วนแนบสัมผัสกับพื้น อย่าให้เผินลอย โดยเฉพาะส่วนหน้าผากที่มีตัวบทระบุกำชับไว้ ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวกำชับสอนวิธีละหมาดให้ชายคนหนึ่งว่า
وَإِذَا سَجَدْتَ فَأَمْكِنْ جَبْهَتَكَ مِنْ الأَرْضِ حَتَّى تَجِدَ حَجْمَ الأَرْضِ
“และเมื่อท่านสุญูด ท่านจงพยายามให้หน้าผากของท่านแนบสนิทกับพื้น จนกระทั่งท่านสัมผัสได้ถึง ลักษณะของพื้น ”
บันทึกโดยอะหมัดและอัดฏ็อบรอนีย์
และให้สงบและสำรวม ( الطمأنينة ) ในขณะสุญูด และให้กล่าวบทตัสบีหฺและอ่านดุอาอ์ให้มากๆ แต่ห้ามอ่าน อัลกุรอานทั้งในรุกูอฺและสุญูด ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
أَلاَ وَإِنِّي نُهِيْتُ أَنْ أَقْرَأَ الْقُرْآنَ رَاكِعًا أَوْ سَاجِدًا ، فَأَمَّا الرُّكُوْعُ فَعَظِّمُوْا فِيْهِ الرَّبَّ عَزَّ وَجَلَّ ، وَأَمَّا السُّجُوْدُ فَاجْتَهِدُوْا فِي الدُّعَاءِ فَقَمِنٌ أَنْ يُسْتَجَابَ لَكُمْ
“พึงทราบเถิดว่า ฉันถูกห้ามมิให้อ่านอัลกุรอานในขณะรู่กั๊วะและในขณะสุญูด ดังนั้นในการรู่กั๊วะ พวกท่านจงกล่าวถวายความยิ่งใหญ่เกรียงไกรแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าเถิด และส่วนในการสุญูดนั้นพวก ท่านจงพยายามกล่าวดุอาอฺวิงวอนให้มากๆ เพราะมันเป็นช่วงที่สมควรจะได้รับการตอบรับยิ่งนัก”
บันทึกโดยอะหมัดและอัดฏ็อบรอนีย์
12. ตัสบีห์และดุอาอ์ในสุญูด ( أَذْكَارُالسُّجُوْدِ )
เมื่ออวัยวะทั้งเจ็ดส่วนแนบสนิทกับพื้นเรียบร้อยแล้ว ให้กล่าวบทตัสบีห์และบทดุอาอฺที่มีรายงานจากท่านรอซูลุ ลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เช่น บทตัสบีห์ต่อไปนี้
12.1 ให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَ رَبِّيَ الأَعْلَى
คำอ่าน ( ซุบหานะ ร็อบบิยัล อะอฺลา์ )
“มหาบริสุทธิ์ยิ่ง พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ ผู้ทรงสูงส่งยิ่ง ”
บันทึกโดยมุสลิม
12.2 หรือให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَكَ اللَّهُـمَّ رَبَّنَا وَبِـحَـمْدِكَ اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِيْ
คำอ่าน ( ซุบหานะกัลลอฮุมมะ ร็อบบะนา วะบิฮัมดิก้า อัลลอฮุมมัฆฟิรฺลีฺ )
“มหาบริสุทธิ์ยิ่งพระองค์ท่าน โอ้อัลลอฮ์ โอ้พระผู้อภิบาลของเรา และด้วยการสรรเสริญพระองค์ ขอทรงโปรดประทานอภัยโทษแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
12.3 หรือให้กล่าวว่า
سُبُّوْحٌ قُدُّوْسٌ رَبُّ المَلاَئِكَةِ وَالرُّوْحِ
คำอ่าน ( ซุบบูฮุน กุ้ดดูซุน ร็อบบุล มะลาอิกะติ วัรรูหฺฺ )
“ผู้ทรงบริสุทธิคุณยิ่ง ผู้ทรงศักด์สิทธิ์ยิ่ง พระผู้อภิบาลแห่งมวลมลาอิกะฮฺทั้งหลายและญิบรีล”
บันทึกโดยมุสลิม
12.4 หรือให้กล่าวว่า
اللَّهُـمَّ لَكَ سَجَدْتُ، وَبِكَ آمَنْتُ، وَلَكَ أَسْلَـمْتُ، سَجَدَ وَجْهِيَ لِلَّذِي خَلَقَهُ وَصَوَّرَهُ، وَشَقَّ سَمْعَهُ وَبَصَرَهُ، تَـبَارَكَ اللهُ أَحْسَنُ الخَالِقِينَ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ละกะ สะญัดตุ, วะบิกะ อามันตุ, วะละกะ อัสลัมตุ, สะญะดะ วัจญ์ฮิยะ ลิลละซี เคาะละเกาะฮุ วะ เศาวะเราะฮุ, วะ ชั๊กเกาะ ซัมอะฮุ วะ บะเศาะเราะฮู, ตะบาเราะกัลลอฮุ อะห์สะนุล คอลิกีน )
“โอ้อัลลอฮ์ เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ข้าพระองค์กราบสุญูด และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ข้าฯศรัทธามั่น และต่อพระองค์เท่านั้นที่ข้าฯยอมจำนน ใบหน้าของข้าฯได้กราบสุญูดแด่ผู้ที่สร้างมัน ให้มันมีรูปทรง ที่สวยงาม และสร้างให้มีใบหูและดวงตา ดังนั้นบริสุทธิ์ยิ่งแล้วอัลลอฮฺผู้ทรงสรรสร้างที่ดียิ่ง”
บันทึกโดยมุสลิม
12.5 หรือให้กล่าวว่า
اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِيْ ذَنْبِيْ كُلَّهُ، دِقَّهُ وَجِلَّهُ، وَأَوَّلَـهُ وَ آخِرَهُ، وَعَلانِيَتَـهُ وَسِرَّهُ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมัฆฟิรฺลี ซันบี กุลละฮุ, ดิ๊กเกาะฮู วะ ญิลละฮุ, วะเอาวะละฮู วะ อาคิเราะฮุ, วะ อะลานิยะตะฮู วะ สิรเราะฮูิ )
“โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ในความผิดบาปทั้งหลายของข้า ฯ ทั้งเล็ก และใหญ่ ทั้งครั้งแรก (เก่า) และครั้งหลัง (ใหม่) ทั้งที่เปิดเผยและหลบซ่อน”
บันทึกโดยมุสลิมและอาบูดาวูด
12.6 หรือให้กล่าวว่า
اللَّهُـمَّ أَعُوذُ بِرِضَاكَ مِنْ سَخَطِكَ، وَبِمُعَافَاتِكَ مِنْ عُقُوبَتِكَ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْكَ، لا أُحْصِي ثَنَاءً عَلَيْكَ، أَنْتَ كَمَا أَثْنَيْتَ عَلَى نَفْسِكَ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ อะอูซุบิริฎอกะ มิน สะเคาะฏิก, วะ บิมุอาฟาติกะ มิน อุกูบะติก, วะอะอูซุบิกะ มินกะ, ลา อุห์ซี ษะนาอัน อะลัยกะ, อันตะ กะมา อัษนัยตะ อะลา นัฟซิกุ )
“โอ้อัลลอฮ์ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยความพอพระทัยของพระองค์จากความพิโรธของ พระองค์ และข้าฯขอความคุ้มครองด้วยการให้ความปลอดภัยของพระองค์จากการลงโทษของพระองค์ และข้าฯขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากพระองค์เอง ข้าฯมิอาจจะนับการสรรเสริญสดุดีต่อพระองค์ ได้ พระองค์ทรงเป็นเช่นที่พระองค์ได้สรรเสริญแก่พระองค์เอง”
บันทึกโดยมุสลิม
12.7 หรือให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَكَ وَبِـحَـمْدِكَ لاَ إلَـهَ إلاَّ أَنْتَ
คำอ่าน ( ซุบหานะกะ วะ บิหัมดิกะ ลาอิลาฮะ อิลลา อันตะุ )
“บริสุทธิ์ยิ่งพระองค์ท่าน และด้วยการสรรเสริญพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ”
บันทึกโดยมุสลิม
และเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ละหมาดจะเลือกใช้สำนวนตัสบีห์ต่างๆนี้ตามโอกาสและความสะดวก ทั้งนี้เพื่อ เป็นการรักษาไว้ซึ่งซุนนะฮฺแบบอย่างของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ให้ครบทุกรูปแบบ และควรอยู่ในท่าสุญูดอย่างสงบและสำรวม กล่าวบทตัสบีห์อย่างน้อย1 ครั้ง ที่ดีควรกล่าว 3 ครั้งหรือมากกว่านี้ และควรกล่าวบทดุอาอ์อื่น ๆ ให้มากๆตามปรารถนา
เพราะการสุญูดนั้นถือว่าเป็นอิริยาบถที่บ่าวหรือผู้ละหมาดได้ใกล้ชิดอัลลอฮ์มากที่สุด ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงส่งเสริมให้ดุอาอฺวิงวอนขอจากอัลลอฮ์ในขณะสุญูดให้มากที่สุด ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า รอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
أَقْرَبُ مَا يَكُونُ الْعَبْدُ مِنْ رَبِّهِ وَهُوَ سَاجِدٌ فَأَكْثِرُوا الدُّعَاءَ
“วาระที่บ่าวจะได้อยู่ใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้ามากที่สุดคือในขณะสุญูด ดังนั้นพวกท่านจงดุอาอฺวิงวอน ให้มาก ๆ เถิด”
บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิม,อาบูดาวูดและอันนซาอีย์
13. เงยขึ้นนั่งระหว่างสองสุญูด ( الرَّفْعُ مِنَ السُّجُوْدِ )
จากนั้นให้เงยศีรษะขึ้นจากท่าสุญูด พร้อมกล่าวตักบีรฺ ( اَللهُ أَكْبَرُ ) แล้วนั่งแบบ “อิฟติรอช” ( افتراش ) คือนั่งให้ ก้นทับบนเท้าซ้ายที่แบนราบกับพื้น ปลายนิ้วเท้าขวายันพื้น และชี้ไปทิศกิบละฮฺ วางฝ่ามือทั้งสองทาบลง บนหน้าขาหรือหัวเข่า แบฝ่ามืออกเล็กน้อยไม่นิ้วมือชิดติดกัน และให้ปลายนิ้วมือทั้งหมดชี้ตรงไปทิศกิบละฮ์
และในบางครั้งให้นั่งแบบ “อิกอาอ์” คือนั่งโดยให้เท้าทั้งสองตั้งชันยันกับพื้นไว้ แล้วนั่งลงบนส้นเท้าทั้งสอง ด้วยอาการสำรวมและสงบนิ่ง แล้วกล่าวบทดุอาอ์ในขณะนั่ง
14. ดุอาอ์ขณะนั่งระหว่างสุญูด ( أَذْكَارُ الْجَلْسَةِ بَيْنَ السَّجْدَتَيْنِ )
จากนั้นให้กล่าวบทดุอาอ์และซิกรุลลอฮ์ที่มีรายงานจากท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังเช่นดุอาอ์ต่อไปนี้
14.1 หรือให้กล่าวว่า
اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِيْ وَارْحَمْنِيْ وَعَافِنِيْ وَاهْدِنِيْ وَارْزُقْنِيْ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมัฆฟิรลี วัรฮัมนี, วะอาฟินี, วะฮฺดีนี,, วัรซุกนี )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ โปรดเมตตาข้าฯ โปรดให้ความปลอดภัย แก่ข้าฯ โปรดชี้นำข้าฯ และโปรดประทานปัจจัยดำรงชีพแก่ข้าฯ”
บันทึกโดยอะหมัดและอบูดาวูด
14.2 หรือให้กล่าวว่า
رَبِّ اغْفِرْ لِيْ وَارْحَمْنِيْ وَاجْبُرْنِيْ وَارْزُقْنِيْ وَارْفَعْنِيْ
คำอ่าน ( ร็อบบิฆฟิรฺลี วัรฮัมนี , วัจญ์บุรนี , วัรซุกนี วัรฟะอฺนีี )
“โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานอภัยแก่ข้าฯ โปรดเมตตาข้าฯ โปรดปกครองดูแลข้าฯ โปรดประทานปัจจัยดำรงชีพแก่ข้าฯ โปรดยกฐานะข้าฯ”
บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ
14.3 หรือให้กล่าวว่า
رَبِّ اغْفِرْ لِيْ، رَبِّ اغْفِرْ لِيْ
คำอ่าน ( ร็อบบิฆฟิรลี ร็อบบิฆฟิรลีี )
“โอ้พระผู้เป็นเจ้าข้าพระองค์ ขอทรงประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ โอ้พระผู้เป็นเจ้าข้าพระองค์ ขอทรงประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ ”
บันทึกโดยอะหมัด,อาบูดาวูด,อันนะซาอีย์และอิบนุมาญะฮฺ
หลังจากนั้นให้กล่าวตักบีรฺ แล้วลงสุญูดครั้งที่สอง พร้อมกล่าวตักบีรฺ ( اَللهُ أَكْبَرُ ) แล้วปฏิบัติเหมือน กับที่ปฏิบัติใน การสุญูดครั้งแรกดังที่กล่าวมาแล้ว หลังจากนั้นให้เงยศีรษะขึ้นจากสุญูดครั้งที่สอง พร้อมกล่าวตักบีรฺ “อัลลอฮุอักบัรฺ” แล้วลุกขึ้นยืนเพื่อทำละหมาดในร็อกอะฮฺที่สองต่อไป โดยใช้ฝ่ามือทั้งสองยันพื้นแล้วลุกขึ้น (หรืออาจกำมือทั้งสองขณะยันพื้นหรือจับที่หัวเข่าขณะลุกขึ้นก็ได้) โดยไม่ต้องยกมือทั้งสองและไม่ต้องอ่าน ดุอาอ์อิสติฟตาหฺอีก ให้เอามือกอดอก แล้วปฏิบัติเหมือนในร็อกอะฮฺแรกทุกขั้นตอนดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพียงแต่ใช้เวลาให้สั้นกว่าร็อกอะฮฺแรกเล็กน้อย
อนึ่ง อนุญาตให้นั่งพักระยะสั้นๆหลังจากเงยศีรษะขึ้นจากสุญูดครั้งที่สองในร็อกอะฮ์ที่หนึ่งก่อนยืนขึ้นทำร็อกอะฮ์ ที่สอง โดยนั่งให้เส้นสาย ข้อกระดูกต่างๆของร่างกายอยู่ในสภาพที่ผ่อนคลาย พร้อมลุกชึ้นทำร็อกอะฮ์ต่อไป การนั่งนี้เรียกว่า (ญัลสะตุลอิสติรอหะฮฺ) ซึ่งไม่มีการอ่านบทดุอาอ์หรือคำซิกรุลลอฮ์ในขณะนั่งพักแต่อย่างใด
15.ขั้นตอนการปฏิบัติในร็อกอะฮ์ที่ 2 ( ألرَّكْعَةُ الثَّانِيَةُ )
เมื่อเส็รจและลุกขึ้นจากร็อกอะฮ์แรกแล้ว ให้ผู้ละหมาดยืนตรงเพื่อทำร็อกอะฮ์ที่ 2 ต่อ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ยืนตรงแล้วอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์จนจบต้น โดยให้เริ่มอ่านจาก
1.1. อะอูซุบิลลาฮ์ฯ
1.2. บิสมิลลาฮ์
1.3. แล้วจึงอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์จนจบต้น
1.4. สร็จแล้วให้กล่าวอามีน ( آمِيْن )
2. อ่านซูเราะฮ์หรืออายะฮ์จำนวนหนึ่ง โดยให้มีจำนวนน้อยกว่าในร็อกอะฮ์แรก
3. ก้มลงรู่กั๊วะ พร้อมกล่าวตักบีร ( اَللهُ أَكْبَرُ ) และในขณะรู่กั๊วะให้กล่าวบทตัสบีหฺ
4. เงยศีรษะขึ้นจากรู่กั๊วะพร้อมกล่าว (سَمِعَ اللهُ لِـمَنْ حَـمِدَه ) และ (رَبَّنَا وَلَكَ الحَـمْدُ ) และดุอาอฺ
5. ก้มลงสุญูดพร้อมกล่าวตักบีร ( اَللهُ أَكْبَرُ ) และในขณะสูญูดให้กล่าวบทตัสบีห์ (سُبْـحَانَ رَبِّيَ الأَعْلَى ) และดุอาอฺ
6. เงยศีรษะขึ้นมานั่งระหว่างสองสุญูดพร้อมกล่าวตักบีร ( اَللهُ أَكْبَرُ ) แล้วอ่านบทดุอาอฺ เช่น (رَبِّ اغْفِرْ لِيْ )
7. ก้มลงสุญูดครั้งที่สองพร้อมกล่าวตักบีร ( اَللهُ أَكْبَرُ ) และในขณะสูญูดให้กล่าวบทตัสบีห์และดุอาอฺ
8. เงยศีรษะขึ้นจากสุญูดครั้งที่ 2 พร้อมกล่าวตักบีร ( اَللهُ أَكْبَرُ ) เพื่อนั่งตะชะฮฮุด์
16. เงยขึ้นนั่งระหว่างสองสุญูด ( الرَّفْعُ مِنَ السُّجُوْدِ )
หากเป็นการละหมาดที่มี 2 ร็อกอะฮ์ เช่น ละหมาดซุบหฺ ละหมาดวันศุกร์ หรือละหมาดอีด วิธีการนั่งหลังจากเงย ศีรษะขึ้นจากสุญูดครั้งที่สองแล้ว คือ ให้นั่งทับบนเท้าซ้ายที่แนบราบกับพื้น เท้าขวายันกับพื้น เช่นเดียวกับการ นั่งระหว่างสองสุญูด วางมือทั้งสองบนต้นขาหรือหัวเข่า ให้ปลายนิ้วเสมอหัวเข่า กำนิ้วมือขวาทั้งหมดยกเว้นนิ้วชี้ สายตามองที่นิ้วชี้ ชี้ด้วยนิ้วชี้ยังที่สุญูด และให้เหยียดนิ้วสูงขึ้นและตรงไปทิศกิบละฮ์เมื่อกล่าวถึงประโยค ชะฮาดะฮ์ (หรือเมื่อกล่าวถึงพระนามของอัลลอฮ์) เพื่อแสดงถึงความเอกะของอัลลอฮ์ และจะเป็นการดียิ่ง (อัฟฎ็อล) หากจะกำนิ้วก้อยและนิ้วนางและให้หัวแม่มือ(นิ้วโป้ง)ชนต่อเป็นวงกลมกับนิ้วกลาง แล้วชี้ด้วยนิ้วชี้ จากนั้นให้อ่านบทตะชะฮฺฮุด ดังต่อไปนี้
16.1 บทตะชะฮฺฮุดจากรายงานของท่านอับดิลลาฮ์อิบนิมัสอูด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งเป็นบทที่ท่านรอลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สอนท่านอิบนุมัสอูดด้วยตัวเอง คือ
التَّحِيَّاتُ للهِ وَالصَّلَوَاتُ وَالطَّيِّبَاتُ، السَّلاَمُ عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُّ وَرَحْـمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُـهُ، السَّلاَمُ عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِـحِينَ، أَشْهَدُ أَنْ لاَ إلَـهَ إلاَّ اللهُ، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُولُـهُ
คำอ่าน ( อัตตะหิยฺยาตุลิลลาฮฺ, วัศฺศอละวาตุวัฏฺฏ็อยยิบาตฺ, อัสลามุอะลัยกะ อัยฺยุฮันนะบิยฺยุ วะเราะฮฺมะตุล ลอฮิวะบะรอกาตุฮฺ, อัสลามุอะลัยนา วะอะลาอีบาดิลลาฮิศฺศอลิหีน, อัชฮะดุอัลฺลาอิลาฮะอิลฺลัลลอฮฺ, วะอัชฮะดุอันนะมุหัมมะดัน อับดุฮูวะรอซูลุฮฺี )
“มวลการเคารพสดุดี การวิงวอนและความดีงามต่างๆเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ขอความศานติ ความเมตตาและความจำเริญทั้งหลายของอัลลอฮ์จงประสบแด่ท่านโอ้ผู้เป็นนบี ขอความศานติ จงประสบแด่พวกเราและแด่ปวงบ่าวของอัลลอฮ์ผู้ทรงคุณธรรม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญาณว่ามุฮัมหมัดนั้นเป็นบ่าว และศาสนทูตของพระองค์ ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
16.2 หรือบทตะชะฮฺฮุดจากรายงานของท่านอับดุลลอฮ์อิบนิอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งเป็นบทที่ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สอนท่านอิบนุมัสอูดด้วยตัวท่านเองเช่นกัน คือ
التَّحِيَّاتُ المُبَارَكَاتُ الصَّلَوَاتُ الطَّيِّبَاتُ للهِ، السَّلاَمُ عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُّ وَرَحْـمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُـهُ،السَّلاَمُ عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِـحِيْنَ، أَشْهَدُ أَنْ لاَ إلَـهَ إِلاَّ اللهُ، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُوْلُ اللهِ
คำอ่าน ( อัตตะหิยฺยาตุล มุบาเราะกาตุศ เศาะลาวาตุต ฏ็อยยิบาตุลิลลาฮฺ , อัสลามุอะลัยกะอัยฺยุฮันนะบิยฺยุ วะเราะฮฺมะตุลลอฮิวะบะรอกาตุฮฺ, อัสลามุอะลัยนาวะอะลา อีบาดิลลาฮิศฺศอลิหีน , อัชฮะดุอัลฺลาอิลาฮะ อิลฺลัลลอฮฺ , วะอัชฮะดุอันนะมุหัมมะดันเราะสูลุลลอฮฺีี )
“มวลการเคารพสดุดีอันจำเริญยิ่ง การวิงวอนและความดีงามต่างๆ เป็นกรรมสิทธิ์ของ อัลลอฮฺ ขอความศานติ ความเมตตาและความจำเริญทั้งหลายของอัลลอฮ์จงประสบแด่ท่านโอ้ผู้เป็นนบี ขอความศานติจงประสบแด่พวกเราและแด่ปวงบ่าวของอัลลอฮ์ผู้ทรงคุณธรรม ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญาณว่ามุฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์ ”
บันทึกโดยมุสลิม
16.3 หรือบทตะชะฮฺฮุดจากรายงานของท่านอาบีมูซาอัลอัชอะรีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งแตกต่างจากบทตะชะฮฺฮุดในรายงาน ของท่านอิบนุมัสอูด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เพียงแค่ประโยคแรกเท่านั้น
التَّحِيَّاتُ الطَّيِّبَاتُ الصَّلَوَاتُ للهِ ، السَّلاَمُ عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُّ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُهُ ،السَّلاَمُ عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِحِينَ ، أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّاللهُ ، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ
คำอ่าน ( อัตตะหิยฺยาตุต ฏ็อยยิบาตุตุศ เศาะลาวาตุต ลิลลาฮฺ , อัสลามุอะลัยกะอัยฺยุฮันนะบียฺยุ วะเราะฮฺมะตุลลอฮิวะบะรอกาตุฮฺ อัสลามุอะลัยนา วะอะลา อีบาดิลลาฮิศฺศอลิฮีน , อัชฮะดุอัลฺลาอิลาฮะ อิลฺลัลลอฮฺ , วะอัชฮะดุอันนะมุหัมมะดัน อับดู้ฮูว่าร่อซูลุฮฺีี )
“มวลการเคารพสดุดี ความดีงามและการวิงวอนทั้งหลาย เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ขอความ ศานติจงประสบแด่พวกเราและแด่ปวงบ่าวของอัลลอฮ์ผู้ทรงคุณธรรม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้า อื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญาณว่ามุฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์”
บันทึกโดยมุสลิมฺ
16.4 หรือบทตะชะฮฺฮุดจากรายงานของท่านค่อลีฟะฮ์อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งจะแตกต่างจากบทตะชะฮฺฮุด ในรายงานของท่าน อิบนุมัสอูด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เพียงแค่ประโยคแรกเช่นเดียวกัน
التَّحِيَّاتُ للهِ الزَّاكِيَاتُ للهِ الطَّيِّبَاتُ الصَّلَوَاتُ للهِ ، السَّلاَمُ عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُّ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُهُ ،السَّلاَمُ عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِحِينَ ، أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّاللهُ ، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ
คำอ่าน ( อัตตะหิยฺยาตุลิลลาฮฺ อัซซากิยาตุลิลลาฮฺ อัดฏ็อยยิบาตุตุศ เศาะลาวาตุลิลลาฮฺ , อัสลามุอะลัยกะอัยฺยุฮันนะบียฺยุ วะเราะฮฺมะตุลลอฮิวะบะรอกาตุฮฺ อัสลามุอะลัยนา วะอะลา อีบาดิลลาฮิศฺศอลิฮีน , อัชฮะดุอัลฺลาอิลาฮะ อิลฺลัลลอฮฺ , วะอัชฮะดุอันนะมุหัมมะดัน อับดู้ฮูว่าร่อซูลุฮฺฺีี )
“มวลการเคารพสดุดีเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ความบริสุทธิ์จำเริญกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ และความ ดีงาม,การวิงวอนทั้งหลายกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ขอความศานติจงประสบแด่พวกเราและแด่ปวงบ่าว ของอัลลอฮ์ผู้ทรงคุณธรรม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญาณว่า มุฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์ ”
บันทึกโดยมาลิก,อัชชาฟิอีย์และอัลบัยฮะกีย์ฺ
ในการอ่านบทตะชะฮฺฮุดนั้น หากมีความสามารถก็ควรอ่านด้วยสำนวนนี้บ้าง และสำนวนนั้นบ้าง ตามความ สามารถ สลับสับเปลี่ยนกันไป ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งซุนนะฮ์ของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่มีรายงานไว้อย่างหลากหลาย
17. การอ่านซอละหวาตนาบี (الصَّلاةُ عَلَى النَّبِيِّ )
หลังจากอ่านบทตะชะฮฺฮุดเรียบร้อยแล้ว ซุนนะฮ์ให้อ่านซอละหวาตให้กับท่านนบี ด้วยประโยคสำนวนที่ได้รับ รายงานมาจากท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เช่น
17.1 สำนวนที่หนึ่ง จากรายงานของท่านกะอฺบิบนิอุญเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ คือ
اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ ، كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ ، إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ اللَّهُمَّ بَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ ،كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ ، إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลา มุฮัมหมัด วะอะลาอาลิ มุฮัมหมัด, กะมาศ็อลลัยตะ อะลาอิบรอฮีม วะอะลา อาลิอิบรอฮีม อินนะกะหะมีดุมมะญีด, อัลลอฮุมมะบาริกอะลา มุฮัมหมัด วะอะลาอาลิ มุฮัมหมัด, กะมาบาร็อกตะอะลาอิบรอฮีม วะอะลาอาลิอิบรอฮีม อินนะกะหะมีดดุมมะญีดฺฺีี )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานซอละหวาต (ความเมตตาและการสรรเสริญ) แด่มุฮัมหมัดและวงษ์วาน ของมุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทานซอละหวาตแด่อิบรอฮีมและวงษ์วานของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญและทรงเกียรติยิ่ง โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานบาร่อกะฮ์ (ความประเสริฐจำเริญ) แด่มูฮำหมัดและวงษ์วานของมุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทานความประเสริฐ จำเริญแด่อิบรอฮีมและวงษ์วานของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญ และทรงเกียรติยิ่ง”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์
17.2 หรือสำนวนที่สอง จากรายงานของท่านอาบีสะอีดอัลคุดรีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ คือ
اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ عَبْدِكَ وَرَسُوْلِكَ كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ ،وَبَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَآلِ إِبْرَاهِيْمَ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลา มุฮัมหมัด อับดิกะ วะร่อซูลิกะ กะมาศ็อลลัยตะ อะลาอิบรอฮีม วะบาริกอะลา มุฮัมหมัด วะอะลาอาลิ มุฮัมหมัด, กะมาบาร็อกตะอะลาอิบรอฮีม วะอะลาอาลิอิบรอฮีม )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานซอละหวาต (ความเมตตาและการสรรเสริญ) แด่มุฮัมหมัดผู้เป็นบ่าวของ พระองค์ และศาสนทูตของพระองค์ เช่นที่พระองค์ประทานซอละหวาตแด่อิบรอฮีม และขอทรงประทาน บาร่อกะฮ์ (ความประเสริฐจำเริญ) แด่มูฮำหมัดและวงษ์วานของมุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทานความ ประเสริฐจำเริญแด่อิบรอฮีมและวงษ์วานของอิบรอฮีม ”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์,อันนะซาอีย์และอิบนุมาญะฮ์
17.3 หรือสำนวนที่สาม จากรายงานของท่านอาบีมัสอูดอุกบะฮ์บินอัมร์อัลอันซอรีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ คือ
اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ ،كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ ، وَبَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ ،كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ فِي الْعَالَمِينَ، إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลา มุฮัมหมัด วะอะลาอาลิมุฮัมหมัด, กะมาศ็อลลัยตะ อะลาอิบรอฮีม วะอะลา อาลิอิบรอฮีม วะบาริกอะลา มุฮัมหมัด วะอะลาอาลิมุฮัมหมัด, กะมาบาร็อกตะอะลาอิบรอฮีม วะอะลาอาลิ อิบรอฮีม ฟิลอาละมีน อินนะกะหะมีดดุมมะญีดฺฺีี )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานซอละหวาต (ความเมตตาและการสรรเสริญ) แด่มุฮัมหมัดและวงษ์วานของ มุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทานซอละหวาตแด่อิบรอฮีมและวงษ์วานของอิบรอฮีม และขอทรง ประทานบาร่อกะฮ์ (ความประเสริฐจำเริญ) แด่มูฮำหมัดและวงษ์วานของมุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทาน ความประเสริฐจำเริญแด่อิบรอฮีมและวงษ์วานของอิบรอฮีมในสากลโลก แท้จริงพระองค์นั้นทรง เป็นที่สดุดีสรรเสริญและทรงเกียรติยิ่ง”
บันทึกโดยอัดติรมิซีย์และอิบนุหิบบาน
17.4 หรือสำนวนที่สี่ จากรายงานของท่านอาบีหุมัยดฺอัสซาอิดีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ คือ
اللَّهُـمَّ صَلِّ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى أَزْوَاجِهِ وَذُرِّيَّتِـهِ، كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى آلِ إبْرَاهِيْمَ، وَبَارِكْ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى أَزْوَاجِهِ وَذُرِّيَّتِـهِ ، كَمَا بَارَكْتَ عَلَى آلِ إبْرَاهِيْمَ، إنَّكَ حَـمِيْدٌ مَـجِيْدٌ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะศ็อลลิอะลา มุฮัมหมัด วะอะลาอัซวาญิฮี วะซุรริยะติฮฺ, กะมาศ็อลลัยตะ อะลาอาลิอิบรอฮีม, วะบาริกอะลามุฮัมหมัด วะอะลาอัซวาญิฮี วะซุรริยะติฮฺ, กะมาบาร็อกตะ อะลาอาลิอิบรอฮีม, อินนะกะหะมีดดุมมะญีดฺฺีี )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานซอละหวาต (ความเมตตาและการสรรเสริญ) แด่มุฮัมหมัด และแด่เหล่าภริยา และลูกหลานของมุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทานซอละหวาตแด่วงษ์วานของอิบรอฮีม และขอทรง ประทานบะรอกะฮ์ (ความประเสริฐจำเริญ) แด่มุฮัมหมัด และแด่เหล่าภริยาและลูกหลานของ มุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประ ทานความประเสริฐจำเริญแด่วงษ์วานของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรง เป็นที่สดุดีสรรเสริญและทรงเกียรติยิ่ง”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์
17.5 หรือสำนวนที่ห้า จากรายงานของท่านอาบีมัสอูดอุกบะฮ์บินอัมร์อัลอันซอรีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ คือ
اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ النَّبِيِّ اْلأُمِّيِّ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَآلِ إِبْرَاهِيمَ وَبَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะศ็อลลิอะลา มุฮัมหมัด อันนะบียิลอุมมียฺ วะอะลาอาลิมุฮัมหมัด กะมาศ็อลลัยตะ อะลาอาลิอิบรอฮีม, วะอะลาอาลิอิบรอฮีม วะบาริกอะลามุฮัมหมัด กะมาบาร็อกตะ อะลาอาลิอิบรอฮีม วะอะลาอาลิอิบรอฮีม , อินนะกะหะมีดดุมมะญีดฺฺีี )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานซอละหวาต (ความเมตตาและการสรรเสริญ) แด่มุฮัมหมัด ผู้เป็นนาบี ที่อ่านเขียนไม่เป็น และแด่วงษ์วานของมุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทานซอละหวาตแด่อิบรอฮีม และวงษ์วานของอิบรอฮีม และขอทรงประทานบะรอกะฮ์ (ความประเสริฐจำเริญ) แด่มุฮัมหมัด ผู้เป็นนาบีที่อ่านเขียนไม่เป็นเช่นที่พระองค์ประทานบะรอกะฮ์ (ความประเสริฐจำเริญ) แด่อิบรอฮีมและวงษ์วานของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญและทรงเกียรติยิ่ง”
บันทึกโดยอะหมัดและอันนะซาอีย์และอิบนุคุซัยมะฮ์
ในการอ่านบทซอละหวาตนั้น หากมีความสามารถก็ควรอ่านด้วยสำนวนนี้บ้าง สำนวนนั้นบ้าง ตามความสามารถ สลับสับเปลี่ยนกันไป ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งซุนนะฮ์ของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่มีรายงานไว้อย่างหลากหลาย
18.การลุกขึ้นทำต่อในร็อกอะฮ์ที่สามและสี่ ( القِيَامُ إِلَى الرَّكْعَةِ الثَّالِثَةِ والرَّابِعَةِ )
หากเป็นการละหมาด 3 ร็อกอะฮฺเช่นมัฆฺริบ หรือ 4 ร็อกอะฮฺ เช่น ซุฮรฺ,อัศรฺและอิชาอ์ เมื่ออ่านบทตะชะฮฺฮุด ครั้งที่หนึ่งและซอละหวาตนาบีในร็อกอะฮ์ที่สองเรียบร้อยแล้ว ให้ลุกขึ้นทำร็อกอะฮฺที่สามต่อ โดยกล่าวตักบีรฺ ( اَللهُ أَكْبَرُ ) ขณะยันตัวลุกขึ้น โดยใช้มือทั้งสองยันพื้น หลังจากนั้นให้ยกมือทั้งสองจนถึงระดับไหล่หรือระดับติ่งหู ทั้งสอง แล้ววางมือทั้งสองกอดอกอีกครั้ง แล้วอ่านอัลฟาติหะฮฺ โดยไม่ต้องอ่านซูเราะฮ์ จากนั้นให้ลงรู่กั๊วะและ สุญูดตามขั้นตอนที่ผ่านมาแล้วข้างต้น จากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นร็อกอะฮฺที่สามให้นั่งเพื่ออ่านตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย เป็นลำดับต่อไป
แต่ถ้าเป็นการละหมาดสี่ร็อกอะฮฺ ก็ให้ลุกขึ้นทำร็อกอะฮฺที่สี่อีกร็อกอะฮ์หนึ่ง โดยอ่านเพียงอัลฟาติฮะฮ์เท่านั้น ไม่ต้องอ่านซูเราะฮ์อื่น จากนั้นให้ลงรู่กั๊วะและสุญูดตามขั้นตอนปกติ จนกระทั่งแล้วเสร็จ
19. การนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย (جَلْسَة التَشَهُّدِ الأَخِيْرِ )
เมื่อสุญูดครั้งสุดท้ายเสร็จแล้ว ให้นั่งเพื่ออ่านบทตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย โดยมีซุนนะฮ์ให้นั่งในท่าตะวัรรุก (التَوَرُّك ) โดยนั่งให้ก้นราบกับพื้น สอดเท้าซ้ายลอดใต้แข้งขาขวา ปลายเท้าขวายันพื้น มือทั้งสองวางบนหน้าขา หรือหัวเข่า ให้ปลายนิ้วเสมอหัวเข่า กำนิ้วก้อยและนิ้วนางและให้หัวแม่มือ(นิ้วโป้ง)ชนต่อเป็นวงกลมกับนิ้วกลาง แล้วชี้ด้วยนิ้วชี้ สายตามองที่นิ้วชี้ จากนั้นให้อ่านบทตะชะฮฺฮุด หรือนั่งโดยให้สะโพกซ้ายแนบพื้น ปลายเท้าทั้งสองยืดไปทางเดียวกัน สอดเท้าซ้ายลอดใต้แข้งขาขวา โดยไม่ต้องชันเท้าขวา
เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว ให้อ่านบทตะชะฮฺฮุดและบทซอละหวาตนาบีจนจบต้นตามลำดับ และในการนั่งท่าตะวัรรุก นี้นั้น ให้นั่งในลักษณะนี้บ้าง และลักษณะนั้นบ้าง สลับกันไปตามโอกาส ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งซุนนะฮ์ของท่าน รอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่มีรายงานไว้อย่างหลากหลาย
20.การอ่านตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้ายและการซอละหวาตนาบี (التَشَهُّدِ الأَخِيْرِ وَالصَّلاَةُ عَلَى النَّبِيِّ )
ในการนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้ายในทุกการละหมาด เช่น ร็อกอะฮ์ที่สามของละหมาดมัฆริบและร็อกอะฮ์ที่สี่ของ ละหมาดซุฮรฺ,อัศรฺและอิชาอฺ และรวมถึงร็อกอะฮ์ที่สองของละหมาดที่มีสองร็อกอะฮ์เช่นละหมาดซุบหฺ ผู้ละหมาดจำเป็นต้องอ่านบทตะชะฮฺฮุดและซอละหวาตนาบีจนจบต้น จะอ่านด้วยสำนวนหนึ่งสำนวนใดก็ได้ จากหลาย ๆ สำนวนที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งนี้การอ่านตะชะฮฺฮุดและการซอละหวาตนาบีในการนั่งครั้ง สุดท้ายหรือในร็อกอะฮ์สุดท้ายนั้นมีฮู่ก่มเป็นรู่ก่น ส่วนการอ่านตะชะฮฺฮุดครั้งแรกนั้นเป็นวาญิบ และการอ่านซอละหวาตในตะชะฮฺฮุดครั้งแรกนั้นเป็นสุหนัต ตามทรรศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางท่านที่เข้าใจว่าเป็นวาญิบ
21.การอ่านดุอาอฺก่อนให้สลาม ( الدُّعَاءُ قَبْلَ السَّلاَمِ )
หลังจากอ่านบทตะชะฮฺฮุดและซอละหวาตนาบีเรียบร้อยแล้ว มีซุนนะฮ์ให้อ่านดุอาอฺก่อนให้สลาม ด้วยบทดุอาอฺต่อไปนี้
21.1 ดุอาอ์จากรายงานของอาบีฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ใช้ให้อ่านดุอาอฺหลังบทตะชะฮฺฮุดว่า
اللَّهُـمَّ إنِّيْ أَعُوْذُ بِكَ مِنْ عَذَابِ جَهَنَّمَ، وَمِنْ عَذَابِ القَبْرِ، وَمِنْ فِتْنَةِ المَـحْيَا وَالمَـمَاتِ، وَمِنْ شَرِّ فِتْنَةِ المَسِيْحِ الدَّجَّالِ
คำอ่าน (อัลลอฮุมมะ อินนีอะอูซุบิกะ มินอะซาบิ ญะฮันนัม, วะมินอะซาบิล ก็อบริ, วะมิน ฟิตนะติล มะห์ยา วัลมะมาติ, วะมิน ชัรริ ฟิตนะติล มะสีหิด ดัจญาล)
“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากการลงโทษในนรกญะฮันนัม จากการลงโทษในหลุมฝังศพ จากการทดสอบทั้งขณะมีชีวิตและขณะเสียชีวิตแล้ว และจากความชั่วร้ายของการล่อลวงของดัจญาล”
บันทึกโดยมุสลิม
21.2 ดุอาอ์จากรายงานของท่านค่อลีฟะฮ์อาบีบักร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะ ซัลลัม ให้อ่านดุอาอฺในละหมาดหลังตะชะฮฺฮุดว่า
اللَّهُمَّ إِنِّيْ ظَلَمْتُ نَفْسِيْ ظُلْمًا كَثِيْرًا ، وَلاَ يَغْفِرُ الذُّنُوبَ إِلاَّ أَنْتَ ، فَاغْفِرْ لِيْ مَغْفِرَةً مِنْ عِنْدِكَ ،وَارْحَمْنِي إِنَّك أَنْتَ الْغَفُورُ الرَّحِيْمُ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ อินนี ซ่อลัมตุ นัฟซี ซุลมัน กะษีรอ, วะลา ยัฆฟิรุซซุนูบะ อิ้ลลาอันตะ, ฟัฆฟิรลี มัฆฟิเราะตัน มินอินดิกะ, วัรฮัมนี อินนะกะ อันตัล เฆาะฟูรุรเราะหีมฺีี )
“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าพระองค์อยุติธรรมต่อตัวเองอย่างมากมาย และไม่มีผู้ใดจะอภัยโทษได้นอกจาก พระองค์เท่านั้น ขอทรงโปรดอภัยแก่ข้าฯ โดยการประทานอภัยจากพระองค์ ขอทรงเมตตาข้าฯ แท้จริงพระองค์นั้นทรงยิ่งด้วยการอภัย ทรงยิ่งด้วยพระเมตตา ”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์และอัดติรมิซีย์
21.3 ดุอาอ์จากรายงานของท่านค่อลีฟะฮ์อาลี ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านดุอาอฺหลังตะชะฮฺฮุดก่อนสลามว่า
اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِيْ مَا قَدَّمْتُ وَمَا أَخَّرْتُ، وَمَا أَسْرَرْتُ وَمَا أَعْلَنْتُ، وَمَا أَسْرَفْتُ، وَمَا أَنْتَ أَعْلَـمُ بِـهِ مِنِّيْ،أَنْتَ المُقَدِّمُ وَأَنْتَ المُؤَخِّرُ، لاَ إلَـهَ إلاَّ أَنْتَ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมัฆฟิรลี มาก็อดดัมตุ วะมาอัคค็อรฺตุ, วะมาอัสร็อรฺตุ, วะมาอะอฺลันตุ, วะมาอัสร็อฟตุ, วะมา อันตะอะอฺละมุ บิฮีมินนี, อันตัลมุก็อดดิมุ, วะอันตัลมุอัคคิรุ, ลาอิลาฮะ อิลลาอันตะฺฺีี )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานอภัยในสิ่งที่ข้าพระองค์ทำผิดไปแล้วและสิ่งที่ข้าฯจะทำในภายหลัง ทั้งสิ่งที่ข้าฯทำโดยลับ (ลักลอบ) และโดยเปิดเผย ทั้งสิ่งที่ข้าฯทำเกินเลยไปโดยพลการ และสิ่งที่พระองค์รู้ดีกว่าตัวข้าฯ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ดำรงอยู่ก่อนแต่เดิมและเป็นผู้ดำรงอยู่สุดท้าย ไม่มีอวสาน ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น”
บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิม,อาบูดาวูดและอัดติรมิซีย์์ฺ
21.4 ดุอาอ์จากรายงานของท่านหญิงอาอิชะฮ์ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านดุอาอฺในละหมาดก่อนสลามว่า
اللَّهُمَّ إِنِّيْ أَعُوْذُ بِكَ مِنْ الْمَأْثَمِ وَالْمَغْرَمِ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ อินนี อะอูซุบิกะ มินัล มะอฺษะมิ วัล มัฆร็อมฺฺีี )
“โโอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าพระองค์ ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากการทำบาป และการมีหนี้สิน”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์,มุสลิม,อาบูดาวูดและอันนะซาอีย์
21.5 ดุอาอ์จากรายงานของท่านฟัรวะฮ์บินเนาฟัล ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม อ่านดุอาอฺในละหมาดก่อนสลามว่า
اللَّهُمَّ إِنِّيْ أَعُوْذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا عَمِلْتُ وَمِنْ شَرِّ مَا لَمْ أَعْمَلْ
คำอ่าน (อัลลอฮุมมะ อินนี อะอูซุบิกะ มินชัรริ มาอะมิลตุ วะมินชัรริ มาลัม อะอฺมัล )
“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าพระองค์ ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายที่ข้าฯได้ทำ และจากความชั่วร้ายที่ข้าฯไม่ได้ทำ”
บันทึกโดยอันนะซาอีย์์
21.6 ดุอาอ์จากรายงานของอาบีซอและห์ จากซอฮาบะฮ์ของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม คนหนึ่งว่า เขาอ่านดุอาอฺในละหมาดหลังตะชะฮฺฮุดก่อนสลามว่า
اللَّهُمَّ إِنِّيْ أَسْأَلُكَ الْجَنَّةَ وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ النَّارِ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ อินนี อัสอะลุกั้ลญันนะตะ วะอะอูซุบิกะ มินันนาริ)
“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ให้ได้เข้าสวรรค์ และขอความคุ้มครองต่อพระองค์ ให้พ้นจากนรก”
บันทึกโดยอะหมัดและอาบูดาวูด
และหากประสงค์จะอ่านดุอาอื่นเพิ่มอีก ก็สามารถทำได้ ทั้งนี้จากท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สอนให้ผู้ละหมาด ขอดุอาอฮฺให้มากๆตามใจปรารถนา ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุมัสอูด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า สอนบทตะชะฮฺฮุดให้พวกเรา และใช้ให้พวกเราเลือกขอดุอาอฺที่ดีต่างๆหลังอ่าตะชะฮฺฮุดแล้วว่า
ثُمَّ يَتَخَيَّرُ مِنْ الْمَسْأَلَةِ مَا شَاءَ
“จากนั้นให้เขาเลือกวอนขอได้ตามใจชอบ ”
บันทึกโดยมุสลิม
ในอีกรายงานหนึ่งระบุว่า
ثُمَّ يَتَخَيَّرُ بَعْدُ مِنْ الدُّعَاءِ مَا شَاءَ
“จากนั้นให้เขาเลือกดุอาอฺตามที่ปรารถนาในภายหลัง-คือหลังบทตะชะฮฺฮุด ”
บันทึกโดยอะหมัด
ในบันทึกของ ท่านอาบูดาวูดระบุไว้ว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
ثُمَّ لِيَتَخَيَّرْ أَحَدُكُمْ مِنْ الدُّعَاءِ أَعْجَبَهُ إِلَيْهِ فَيَدْعُوَ بِهِ
“จากนั้นคนหนึ่งคนใดจากหมู่พวกท่านจงเลือกดุอาอฺที่ถูกใจเขามากที่สุดแล้วขอตามนั้น ”
22. การให้สลามเลิกละหมาด ( التَّسْلِيْم )
การกล่าวสลามเป็นการยุติและออกจากพิธีละหมาด ดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว จากรายงานของท่านอาบีสะอีด อัลคุดรีย์
وَتَحْلِيلُهَا التَّسْلِيمُ
“และการยุติพิธีละหมาดคือการกล่าวสลาม”
บันทึกโดยอะหมัด,อาบูดาวูด,อัดติรมิซีย์และอิบนุมาญะฮ์
ดังนั้นเมื่อผู้ละหมาดอ่านบทตะชะฮฺฮุด,ซ่อละหวาตนาบีและดุอาอฺก่อน สลามเรียบร้อยแล้ว ให้กล่าวสลาม 1 ครั้ง โดยผินหน้าไปทางขวาสุด จนกระทั่งว่าผู้อยู่ด้านหลังสามารถมองเห็นแก้มได้ และกล่าวสลามอีกครั้งพร้อม ผินหน้าไปทางซ้ายสุดเช่นเดียวกัน การกล่าวสลามให้กล่าวด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
ثُمَّ يَتَخَيَّرُ بَعْدُ مِنْ الدُّعَاءِ مَا شَاءَ
“จากนั้นให้เขาเลือกดุอาอฺตามที่ปรารถนาในภายหลัง-คือหลังบทตะชะฮฺฮุด ”
บันทึกโดยอะหมัด
22.1 วิธีที่ 1 สลามตามรายงานของท่านอับดุลลอฮ์อิบนุมัสอูด,ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอุมัร,ท่านวาอิลอิบนิหุญุร และท่านอัมมารบินยาซิร ว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวสลามเลิกละหมาด 2 ครั้ง ด้านขวาและด้านซ้ายว่า
السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللهِ
“อัสสะลามมุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮฺ ”
บันทึกโดยอะหมัด,อาบูดาวูด,อัดติรมิซีย์,อันนะซาอีย์และอิบนุมาญะฮ์
22.2 วิธีที่ 2 สลามตามรายงานของท่านวาอิลอิบนิหุญุร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม กล่าวสลามด้านขวาว่า
السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُه
“อัสสะลามมุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮิ วะบ่าร่อกาตุฮฺ ”
และด้านซ้ายว่า
السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللهِ
“อัสสะลามมุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮฺ ”
บันทึกโดยอาบูดาวูด
22.3 วิธีที่ 3 สลามตามรายงานของท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวสลามด้านขวาว่า
السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللهِ
“อัสสะลามมุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮฺ ”
และด้านซ้ายว่า
السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ
“อัสสะลามมุอะลัยกุม ”
บันทึกโดยอะหมัดและอันนะซาอีย์
23. บทซิกรุลลอฮ์หลังละหมาด ( الصَّلاَةِ أَذْكَارٌبَعْدَ )
เมื่อผู้ละหมาดกล่าวสลามเลิกจากละหมาดเรียบร้อยแล้ว มีซุนนะฮฺให้กล่าวบทซิกรุลลอฮ์ดังต่อไปนี้
23.1 กล่าวอิสติฆฟาร 3 ครั้ง โดยนั่งอยู่ในอิริยาบถเดิมและออกเสียงให้ดังพอประมาณ
اَسْتَغْفِرُ اللهَ ، اَسْتَغْفِرُ اللهَ ، اَسْتَغْفِرُ اللهَ
คำอ่าน อัสตัฆฟิรุ้ลลอฮฺ อัสตัฆฟิรุ้ลลอฮฺ อัสตัฆฟิรุ้ลลอฮฺ
“ฉันขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์”
บันทึกโดยมุสลิม
23.2 เสร็จแล้วให้กล่าว ( 1 ครั้ง ) โดยนั่งอยู่ในอิริยาบถเดิมและให้เสียงดังพอประมาณ
اللَّهُمَّ أَنْتَ السَّلاَمُ ، وَمِنْكَ السَّلاَمُ ، تَبَارَكْتَ ذَا الْجَلاَلِ وَاْلإِكْرَامِ
คำอ่าน อัลลอฮุมม่า อันตัส-ซ่าลาม ว่ามินกัสซ่าลาม ต้าบาร็อกต้า ยาซั้ลญ่าลาลี่ วั้ลอิกรอม
“โอ้อัลลอฮ์พรององค์ทรงสันติ และความศาสนตินั้นมาจากพระองค์ พระองค์ทรงยิ่งด่วยความจำเริญ โอ้ผู้ทรงยิ่งในความสูงศักดิ์และความมีเกียรติ”
บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิมและอัดติรมิซีย์
ท่านเษาบาน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า “ เมื่อท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เสร็จสิ้นจาก ละหมาด ท่านจะกล่าวอิสติฆฟาร 3 ครั้ง และกล่าวต่อว่า ( اللَّهُمَّ أَنْتَ السَّلاَم ... ) ”
บันทึกโดยมุสลิม,อาบูดาวูดและอัตติรมีซีย์
และมีรายงานจากท่านหญิงอาอิฃะฮ์ว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะนั่งอยู่ในท่าเดิม ขณะกล่าว ( اللَّهُمَّ أَنْتَ السَّلاَمُ وَمِنْكَ السَّلاَمُ .... ) และท่านอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “ การออกเสียง ซิกรุลลอฮ์ให้ดัง (พอประมาณ)หลังจากเสร็จละหมาดฟัรฏูนั้น มีมาตั้งแต่สมัยของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม แล้วข้าพเจ้ารู้ว่าพวกเขาเลิกละหมาดเพราะได้ยินเสียงดังนั้น ” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
23.3 เสร็จแล้วให้กล่าวว่า ( 1 ครั้ง )
لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ اللَّهُمَّ لاَ مَانِعَ لِمَا أَعْطَيْتَ ، وَلاَ مُعْطِيَ لِمَا مَنَعْتَ ، وَلاَ يَنْفَعُ ذَا الْجَدِّ مِنْكَ الْجَدُّ
คำอ่าน ลาอิลาฮ่า อิ้ลลั้ลลอฮู่ วะหฺด้าฮู ลาชะรีก้าละฮฮ ละฮุ้ลมุ้ลกู้ ว่าละฮุ้ลฮัมดู้ ว่าฮู่ว่าอะลากุ้ลลี่ ชัยอินก็อดีรรฺ อัลลอฮุมม่า ลามานิอ้า ลี่มาอะอฺฏ็อยต้า ว่าลามุอฺฏิย่า ลี่มาม่านะอฺต้า ว่าลายันฟ่าอู้ ซั้ลญัดดี้ มินกั้ลญัดดู้
“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาดีใดๆสำหรับพระองค์ อำนาจและการสรร เสริญทั้งมวลเป็นของพระองค์ และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง โอ้อัลลอฮ์ ไม่มีผู้ใดสามารถ ยับยั้งขัดขวางสิ่งที่พระองค์ทรงประทานได้ และไม่มีผู้ใดมอบสิ่งที่พระองค์ทรงยับยั้งได้ และฐานะ ความมั่งคั่งจะไม่สามารถเอื้อใหผู้มีฐานะนั้นรอดพ้นจากการเอาผิดและลงโทษของอัลลอฮ์ได้”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์์์ฺ
ท่านมุฆีเราะฮฺอิบนิชัวะบะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า “ แท้จริงท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะกล่าวบทดังกล่าวนี้หลังจากเสร็จละหมาดฟัรฏูทุกครั้ง ”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์,มุสลิม,อาบูดาวูดและอัตติรมิซีย์
23.4 เสร็จแล้วให้กล่าวว่า ( 1 ครั้ง )
لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ،لاَ حَوْلَ وَلاَ قُوَّةَ إِلاَّ بِاللهِ،لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَ لاَ نَعْبُدُ إِلاَّ إِيَّاهُ ، لَهُ النِّعْمَةُ وَلَهُ الْفَضْلُ وَلَهُ الثَّنَاءُ الْحَسَنُ ، لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ مُخْلِصِيْنَ لَهُ الدِّيْنَ وَلَوْ كَرِهَ الْكَافِرُوْنَ
คำอ่าน ลาอิลาฮ่า อิ้ลลั้ลลอฮู่ วะหฺด้าฮู ลาชะรีก้าละฮฮ ละฮุ้ลมุ้ลกู้ ว่าละฮุ้ลฮัมดู้ ว่าฮู่ว่าอะลากุ้ลลี่ ชัยอินก็อดีรรฺ ลาเฮาล่า ว่าลากูว่าต้า อิ้ลลาบิ้ลลาฮฺ ลาอิลาฮ่า อิ้ลลั้ลลอฮู่ ว่าลานะอฺบู้ดู้อิ้ลลาอี้ยาฮู่ ล่าฮุนนิอฺมะตู้ ว่าล่าฮุ้ลฟัฎลู่ ว่าล่าฮุษษะนาอุ้ลหะซัน ลาอิลาฮ่า อิ้ลลั้ลลอฮู่ มุคลี่ซีน่าล่าฮุดดีน ว่าเลาก้ารี่ฮั้ลกาฟี่รูน
“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาดีใดๆสำหรับพระองค์ อำนาจและการสรร เสริญทั้งมวลเป็นของพระองค์ และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง ไม่มีอำนาจและพลังใดนอก จากอัลลอฮ์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และเราจะไม่สักการะภักดีสิ่งใดนอกจากพระองค์เท่านั้น กรุณาธิคุณ ความเมตตา และการสรรเสริญอันดีงามล้วนเป็นของพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก อัลลอฮ์ โดยบริสุทธิ์ใจในการภักดีต่อพระองค์ แม้ว่าบรรดาผู้ปฏิเสธจะรังเกียจชิงชังก็ตาม”
บันทึกโดยมุสลิม
ท่านอับดุลลอฮฺอิบนุซุเบร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า “ ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านบทซิกรุลลอฮ์ดังกล่าวเป็นประจำทุกครั้งหลังเสร็จละหมาด ” บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิมและอันนะซาอีย์ และท่านอิบนุซุเบร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ก็อ่านเป็นประจำเช่นกัน
23.5 สำหรับเวลาซุบห์ให้กล่าวเพิ่มอีก 10 ครั้ง (โดยนั่งท่าเดิมและไม่พูดอะไรก่อน)
لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ ، يُحْيِي وَيُمِيتُ ، وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ
คำอ่าน ลาอิลาฮ่า อิ้ลลั้ลลอฮู่ วะหฺด้าฮู ลาชะรีก้าละฮฮ ละฮุ้ลมุ้ลกู้ ว่าละฮุ้ลฮัมดู้ ยุหฺยีว่ายู่มีตู้ ว่าฮู่ว่า อะลากุ้ลลี่ ชัยอินก็อดีรรฺ
“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาดีใดๆสำหรับพระองค์ อำนาจและการสรร เสริญทั้งมวลเป็นของพระองค์ ทรงให้เป็นและทรงให้ตาย และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง”
ท่านอาบีซัรรฺและท่านอับดุรเราะหฺมานบินฆ็อนมฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ ผู้ใดกล่าว
..... لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ
หลังเสร็จจากละหมาดซุบหฺ โดยที่เขายังคงนั่งสอดเท้าอยู่ตามเดิมและไม่พูดอะไรก่อน อัลลอฮฺ ตะอาลา จะทรงบันทึกความดีให้เขา 10 ความดี และลบล้างความผิดให้ 10 ความผิด และเพิ่มฐานานุศักดิ์ให้ เขาอีก 10 ขั้น และคุ้มครองเขาให้รอดพ้นจากชัยฏอนและสิ่งเลวร้ายทั้งมวลตลอดทั้งวัน ”
บันทึกโดยอัตติรมิซีย์
และท่านอุมาเราะฮฺบินชะบีบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ ผู้ใดกล่าว
..... لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ
หลังละหมาดมัฆริบ อัลลอฮฺ ตะอาลา จะทรงส่งมะลาอิกะฮฺพร้อมอาวุธ เพื่ออารักขาคุ้มครองเขาจาก ชัยฏอนตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า และบันทึกความดีให้เขาอีก 10 ความดี ลบล้างความผิดให้อีก 10 ความผิด และเสมือนว่าเขานั้นได้ปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระอีก 10 คน ”
บันทึกโดยอัตติรมิซีย์
23.6 จากนั้นให้กล่าวคำตัสบีหฺ ( سُبْحَانَ اللهِ ) ตะหฺมีด ( الْحَمْدُ للهِ ) และตักบีร ( اللهُ أَكْبَرُ ) อย่างละ 33 ครั้ง เมื่อครบเสร็จแล้วให้กล่าวตามทันทีว่า
لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ ، وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ
คำอ่าน ลาอิลาฮ่า อิ้ลลั้ลลอฮู่ วะหฺด้าฮู ลาชะรีก้าละฮฮ ละฮุ้ลมุ้ลกู้ ว่าละฮุ้ลฮัมดู้ ยุหฺยีว่ายู่มีตู้ ว่าฮู่ว่า อะลากุ้ลลี่ ชัยอินก็อดีรรฺ
“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาดีใดๆสำหรับพระองค์ อำนาจและ การสรรเสริญทั้งมวลเป็นของพระองค์ ทรงให้เป็นและทรงให้ตาย และพระองค์ทรงเดชานุภาพ เหนือทุกสิ่ง”
ท่านอาบีฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ ผู้ใดกล่าวคำตัสบีหฺ ( سُبْحَانَ اللهِ ) 33 ครั้ง กล่าวคำตะหฺมีด ( الْحَمْدُ لله ) 33 ครั้ง และกล่าวคำตักบีร (اللهُ أَكْبَرُ ) อีก 33 ครั้ง และกล่าวให้ครบร้อยครั้งด้วยคำว่า
( لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ ...... إلخ )
ความผิดชองเขาจะได้รับการอภัย แม้จะมีมากเท่าฟองน้ำในทะเลก็ตาม ”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์,มุสลิมและอาบูดาวูด
23.7 จากนั้นให้กล่าว ( 1 ครั้งหรือมากกว่า )
اللَّهُمَّ أَعِنِّي عَلَى ذِكْرِكَ وَشُكْرِكَ وَحُسْنِ عِبَادَتِكَ
คำอ่าน : อัลลอฮุมม่า อ้าอินนี อ้าลาซิกริก้า ว่าชุกรี่ก้า ว่าฮุสนี่อี้บาด้าตี้ก้า
“โอ้อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานความช่วยเหลือต่อข้าพระองค์ให้ได้กล่าวรำลึกถึงพระองค์ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์โดยดี”
ท่านมุอาซอิบนิญะบัล ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม คว้ามือฉันและบอกกับฉันว่า “ โอ้มุอาซเอ๋ย ฉันขอสาบานยืนยันต่ออัลลอฮ์ ฉันรักท่านมากๆ ฉันขอสั่งกำชับว่า ท่านอย่าละเลยเพิกเฉยหลังเสร็จละหมาดทุกครั้ง ท่านต้องกล่าวว่า
( اللَّهُمَّ أَعِنِّي عَلَى ذِكْرِكَ وَشُكْرِكَ وَحُسْنِ عِبَادَتِكَ )
บันทึกโดยอาบูดาวูด
23.8 เสร็จแล้วให้อ่านอายะฮฺกุรซีย์,ซูเราะฮ์อัลอิคลาศ,ซูเราะฮฺอัลฟะลักและซูเราะฮฺอันนาสอย่างละ 1 ต้น
ท่านอาบูอุมามะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ ผู้ใดอ่าน อายะฮฺกุรซีย์หลังละหมาดฟัรฏูทุกครั้ง จะไม่มีสิ่งใดขัดขวางเขาจากการได้เข้าสวรรค์นอกจากความ ตายเท่านั้น ”
บันทึกโดยอันนะซาอีย์
และมีรายงานจากท่านอุกบะฮฺอิบนิอามิร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ใช้ให้ฉันอ่านอัลมุเอาวะซ้าต ( الْمُعَوَّذَاتُ ) ขอความคุ้มครองหลังเสร็จละหมาดทุกครั้ง ” บันทึกโดยอะหมัด และอาบูดาวูด ( อัลมุเอาวะซ้าต คือ ซูเราะฮ์อิคลาศ,ซูเราะฮฺ อัลฟะลักและซูเราะฮฺอันนาส )
بسم الله الرحمن الرحيم
قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ اللَّهُ الصَّمَدُ لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ وَلَمْ يَكُنْ لَهُ كُفُوًا أَحَدٌ
คำอ่าน : กุ้ลฮู่วั้ลลอฮู่อ้าฮัด อัลลอฮุศซ่อมัด ลัมย่าลิดว่าลัมยูลัด ว่าลัมย่ากุ้ลล่าฮู กู้ฟู่วันอ้าฮัด
“-มูฮัมหมัด-จงกล่าวเถิดว่า พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ อัลลอฮฺทรงเป็นที่พึ่ง พระองค์มิได้ให้กำเนิด ผู้ใดและมิได้กำเนิดจากผู้ใด และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ ฺ ”
بسم الله الرحمن الرحيم
قُلْ أَعُوذُ بِرَبِّ الْفَلَقِ مِنْ شَرِّ مَا خَلَقَ وَمِنْ شَرِّ غَاسِقٍ إِذَا وَقَبَ وَمِنْ شَرِّ النَّفَّاثَاتِ فِي الْعُقَدِ وَمِنْ شَرِّ حَاسِدٍ إِذَا حَسَدَ
คำอ่าน : กุ้ลอ้าอูซู่บี้ร็อบบิ้ลฟ่าลัก มินชัรฺรี่มาค่อลัก ว่ามินชัรฺรี่ฆอซี่กินอี้ซาว่าก็อบ ว่ามินชัรฺริน นัฟฟาซาตี้ ฟิ้ลอู้ก็อด ว่ามินชัรฺรี่ฮาซิดินอี้ซาฮ่าซัด
“-มูฮัมหมัด- จงกล่าวเถิดว่า ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระผู้เป็นเจ้าแห่งรุ่งอรุณ ให้พ้นจาก ความชั่วร้ายของสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง และพ้นจากความชั่วร้ายของความมืดมิดในยามราตรี เมื่อมันปกคลุม และพ้นจากความชั่วร้ายของบรรดาผู้เสกเป่าในปมเงื่อน และพ้นจากความชั่วร้าย ของผู้อิจฉาเมื่อเขาอิจฉา”
بسم الله الرحمن الرحيم
قُلْ أَعُوذُ بِرَبِّ النَّاسِ مَلِكِ النَّاسِ إِلَهِ النَّاسِ مِنْ شَرِّ الْوَسْوَاسِ الْخَنَّاسِ الَّذِي يُوَسْوِسُ فِي صُدُورِ النَّاسِ مِنَ الْجِنَّةِ وَالنَّاسِ
คำอ่าน : กุ้ลอ้าอูซู่บี้ร็อบบินนาส ม่าลี่กินนาส อี้ลาฮินนาส มินชัรฺริ้ลวัสวาซิ้ลคอนนาส อั้ลล่าซียู่วัสวิซู่ ฟีซู่ดูรินนาส มี่นั้ลญินน่าตี้วันนาส
“-มูฮัมหมัด- จงกล่าวเถิดว่า ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระผู้เป็นเจ้าแห่งมวลมนุษย์ ผู้เป็นราชาแห่งมวลมนุษย์ ผู้เป็นพระเจ้ามวลมนุษย์ ให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายของเหล่า ชัยฏอนที่กระซิบกระซาบ หลอกลวง ซึ่งกระซิบกระซาบในหัวอกของมนุษย์ ทั้งจากเหล่า ญินและมวลมนุษย์ ”
อายะฮฺกุรซียฺ
اللَّهُ لَا إِلَهَ إِلَّا هُوَ الْحَيُّ الْقَيُّومُ لَا تَأْخُذُهُ سِنَةٌ وَلَا نَوْمٌ لَهُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ مَنْ ذَا الَّذِي يَشْفَعُ عِنْدَهُ إِلَّا بِإِذْنِهِ يَعْلَمُ مَا بَيْنَ أَيْدِيهِمْ وَمَا خَلْفَهُمْ وَلَا يُحِيطُونَ بِشَيْءٍ مِنْ عِلْمِهِ إِلَّا بِمَا شَاءَ وَسِعَ كُرْسِيُّهُ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ وَلَا يَئُودُهُ حِفْظُهُمَا وَهُوَ الْعَلِيُّ الْعَظِيمُ
คำอ่าน : อัลลอฮู่ลาอี้ลาฮ่า อิ้ลลาฮู่วั้ลฮัยยุ้ลก็อยยูม ลาต๊ะคู่ซู่ฮู ซี่น่าตูวฺ ว่าลาเนามฺ ล่าฮูมาฟิสซ่าวาตี้ ว่ามาฟิ้ลอัรฎฺ มันซั้ลล่าซียัชฟ่าอู้อินด้าฮู อิ้ลลาบี้อิซนิฮฺ ยะอฺล่ามู่มาบัยน่าอัยดีฮิม ว่ามาค็อลฟ่าฮุม ว่าลายู่ ฮีฏูน่า บี้ชัยอิน มินอิลมี่ฮี อิ้ลลาบี้มาชาอฺ ว่าซี้อ้ากุรฺซียู่ฮุสซ่ามาวาตี้วั้ลอัรฎฺ ว่าลาย่าอูดู้ฮู ฮิฟซู่ฮู่มา ว่าฮู่วั้ล อ้าลียุ้ลอ้าซีม
“อัลลอฮ์นั้น ไม่มีพระเจ้าที่คู่ควรแก่การเคารพสักการะใดๆนอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงมีชีวินผู้ทรง ดำรงด้วยพระองค์เอง การง่วงนอนและการนอนหลับใด ๆจะมิอาจเกิดขึ้นกับพระองค์ สิ่งที่อยู่ในบรรดา ชั้นฟ้าและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ใครเล่าคือผู้ที่จะอนุเคราะห์ช่วยเหลือ แก่ผู้อื่น ณ ที่พระองค์ได้ นอกจากด้วยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้า ของพวกเขา และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของพวกเขา และพวกเขาจะไม่รู้สิ่งใดจากความรู้ของพระองค์ ได้นอกจากสิ่งที่พระองค์ประสงค์เท่านั้น เก้าอี้พระองค์นั้นกว้างไพศาลทั่วชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และการรักษามันทั้งสองก็ไม่เป็นภาระหนักอึ้งต่อพระองค์ และพระองค์นั้นคือผู้ทรงสูงศักดิ์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่” ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 255
ยังมีบทซิกรุลลอฮ์และบทดุอาอฺอื่นๆอีกที่ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยใช้กล่าว และอ่านหลังละหมาด ศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราหะดีษที่บันทึกกิจวัตรของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
โดย อ.อับดุลลอฮฺ สุไลหมัด
การละหมาดคืออะไร ?
การละหมาด หรืออัส-ศอลาฮฺ ( الصَّلاَةُ ) คือ ศาสนกิจที่ประกอบด้วยอิริยาบถและคำอ่านต่าง ๆ ที่เริ่มพิธีด้วยการ กล่าวตักบีรและเสร็จพิธีด้วยการกล่าวสลาม
การละหมาดคือเสาหลักของศาสนาอิสลาม ท่านมุอาซบินญะบัล ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
رَأْسُ الأَمْرِ اْلإِسْلاَمُ وَعَمُودُهُ الصَّلاَةُ
“สิ่งสำคัญสุดของกิจการทั้งปวงคืออิสลาม และเสาหลักของอิสลามคือการละหมาด”
บันทึกโดยอะหมัดและอัดติรมิซีย์
การละหมาดเป็นรู่ก่นหรือโครงสร้างหลักของศาสนาอิสลาม ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
بُنِيَ اْلإِسْلاَمُ عَلَى خَمْسٍ
“ศาสนาอิสลามถูกสร้างขึ้นบนหลักพื้นฐาน (รู่ก่น) 5 ประการ”
และหนึ่งในห้าประการที่ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวถึงก็คือ
وَإِقَامِ الصَّلاَةِ
“การดำรงละหมาด”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
การละหมาดคือภารกิจแรกที่จะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮ์ ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إِنَّ أَوَّلَ مَا يُحَاسَبُ النَّاسُ بِهِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ مِنْ أَعْمَالِهِمْ الصَّلاَةُ
“ประการแรกที่มนุษย์จะถูกไต่สวนในวันกิยามะฮ์ จากภารกิจต่างๆของพวกเขาคือการละหมาด“
บันทึกโดยอาบูดาวูดและอัลบัยฮะกีย์
การละหมาดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ละหมาดฟัรฎูและหมาดซุนนะฮ์ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้บัญญัติให้ผู้ศรัทธาละหมาดฟัรฎูในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง 5 เวลา คือ
(1) “ อัซซุฮรฺ ” ( الظُهْر ) เวลาบ่าย เมื่อตะวันเริ่มคล้อยจน ถึงเมื่อเงาของวัตถุยาวเท่าตัวเอง
(2) “ อัลอัศรฺ ” ( العَصْرُ ) เวลาเย็น เริ่มจากเมื่อเงาของวัตถุเริ่มยาวกว่าตัวเองจนถึงเมื่อดวงอาทิตย์ตก
(3) “ อัลมัฆริบฺ ” ( المَغْرِبُ ) เวลาหัวค่ำ เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าจนถึงสิ้นสุดแสงสนธยา
(4) “ อัลอิชาอ์ ” ( الْعِشَاء ) เวลาค่ำ เมือสิ้นแสงสนธยาจนถึงครึ่งคืน และ
(5) “ อัลฟัจญ์รฺ ” ( الْفَجْرُ ) เวลาหัวรุ่ง เมื่อแสงรุ่งอรุณจริงปรากฏจนถึงก่อนอาทิตย์ขึ้น อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า
إِنَّ الصَّلَاةَ كَانَتْ عَلَى الْمُؤْمِنِينَ كِتَابًا مَوْقُوتًا
“แท้จริงการละหมาดได้ถูกกำหนดให้เป็นภารกิจหน้าที่แก่ผู้ศรัทธาโดยมีกำหนดเวลาที่แน่นอน ”
ซูเราะฮ์อันนิซาอฺ อายะฮ์ที่ 103
การเตรียมพร้อมก่อนละหมาด
ผู้ละหมาดต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดตามหลักการศาสนา (หลักฏอฮาเราะฮ์) เสื้อผ้าที่สวมใส่และบริเวณ ละหมาดต้องสะอาดปราศจากนายิส ร่างกายต้องสะอาดปราศจากหะดัษเล็กและใหญ่ ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لاَ يَقْبَلُ اللهُ صَلاَةَ أَحَدِكُمْ إِذَا أَحْدَثَ حَتَّى يَتَوَضَّأَ
“อัลลอฮ์จะไม่พิจารณาตอบรับการละหมาดของผู้หนึ่งผู้ใดในหมู่พวกท่านในขณะที่มีหะดัษอยู่ จนกว่าเขาจะอาบน้ำละหมาดเสียก่อน ”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์และอาบูดาวูด
ผู้ละหมาดจะต้องกั้นเขตหรือกำหนดบริเวณสำหรับละหมาดอย่างชัดเจน โดยวางวัสดุหรือสิ่งของที่สามารถที่ สังเกตเห็นได้ด้านหน้าผู้ละหมาด (เรียกว่าซุตเราะฮ์) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใดเดินผ่านหน้าขณะละหมาดได้ และให้ยืนละหมาดใกล้บริเวณซุตเราะฮ์นั้นมากที่สุด ท่านอาบูสะอีดอัลคุดรีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุล ลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إِذَا صَلَّى أَحَدُكُمْ فَلْيُصَلِّ إِلَى سُتْرَةٍ وَلْيَدْنُ مِنْهَا
"เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านละหมาด เขาจงละหมาดไปยังซุตเราะฮ์และจงให้ใกล้มันมากที่สุด"
บันทึกโดยอาบูดาวูดและอิบนุมาญะฮ์
และเมื่อกั้นเขตแล้ว ปรากฏว่ายังมีผู้เดินผ่านหน้าก็ไม่ถือว่ามีผลกระทบต่อการละหมาดของเขาแต่อย่างใด ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مُؤَخَّرَةُ الرَّحْلِ تَكُوْنُ بَيْنَ يَدَيْ أَحَدِكُمْ ثُمَّ لاَ يَضُرُّهُ مَا مَرَّ عَلَيْهِ
“เพียงไม้ขัดเชือกรัดอานท่อนหนึ่งที่วางไว้ด้านหน้าพวกท่าน (ขณะละหมาด) จากนั้นสิ่งที่ผ่านด้าน หน้าเขาจะไม่ กระทบต่อการละหมาดเขาแต่อย่างใด ”
บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิม,อาบูดาวูดและอิบนุมาญะฮ์
สรุปว่า มุสลิมที่จะละหมาดได้นั้นต้องเพียบพร้อมด้วยเงื่อนไขสำคัญ 4 ประการต่อไปนี้ คือ
1. มีความสะอาดตามศาสนบัญญัติ สะอาดจากหะดัษเล็กและใหญ่ สะอาดจากนายิสสิ่งสกปรกโสโครกตาม ศาสนบัญญัติ ทั้งร่างกาย,เสื้อผ้าและสถานที่
2. ปกปิดร่างกาย (เอาเราะฮ์) ให้มิดชิด และเรียบร้อยตามสมควร
3. หันหน้าไปทิศกิบละฮ์
4. เข้าเวลาหรืออยู่ในเวลาที่สามารถทำละหมาดได้
การละหมาดตามซุนนะฮ์
การละหมาดเป็นอิบาดะฮ์ และการอิบาดะฮ์ทุกประเภทต้องเป็นไปตามรูปแบบและลักษณะวิธีเฉพาะที่ศาสนา ได้บัญญัติไว้เท่านั้น ห้ามเพิ่มเติมหรือตัดทอนเปลี่ยนแปลงแก้ไขในเรื่องการละหมาดโดยเด็ดขาด เพราะถือเป็น การก้าวก่ายและอุตริในศาสนา (บิดอะฮ์) และเป็นการขัดต่อคำสั่งของท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม ฉะนั้นผู้ละหมาดต้องรักษารูปแบบที่มีรายงานจากท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไว้เท่านั้น ท่านมาลิกอิบนุลหุวัยริษ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวกำชับถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
وَصَلُّوْا كَمَا رَأَيْتُمُونِيْ أُصَلِّيْ
"และพวก ท่านจงละหมาดตามที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์
และการละหมาดใดที่ปฏิบัติผิดเพี้ยนแตกต่างหรือไม่ตรงตามรูปแบบและลักษณะวิธีการละหมาดของท่าน รอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วถือว่าใช้ไม่ได้ (ไม่เซาะฮ์) ไม่ได้รับการพิจารณาตอบรับจากอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และเป็นความผิดอีกต่างหากด้วย ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานไว้ว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مَنْ عَمِلَ عَمَلاً لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَ رَدٌّ
“ผู้ใดกระทำการใดที่ไม่เป็นไปตามคำสั่งใช้ของเรา( หมายถึง ไม่ตรงตามศาสนาบัญญัติของเรา ) การงาน นั้นย่อมถูกปฏิเสธ”
บันทึกโดยมุสลิม
วิธีการและขั้นตอนการละหมาด
1. ยืนตรง ( القِيَامُ ) หันหน้าไปทิศกิบละฮ์ ให้ทั้งสองข้างห่างกันพอประมาณ ตามองพื้นบริเวณสุญูด อยู่ในอาการ สงบนอบน้อมพร้อมละหมาด
2. กล่าวตักบีร ( تَكْبِيْرَةُ الإِحْرَامِ ) เริ่มพิธีละหมาดโดยการกล่าวตักบีรว่า ( اَللهُ أَكْبَرُ ) พร้อมตั้งเจตนาละหมาดเพื่ออัลลอฮ์ การกล่าวตักบีรครั้งนี้เรียกว่า “ตักบีร่อตุ้ลอิหฺรอม” ขณะกล่าวตักบีรให้ยกมือทั้งสองข้างขึ้นเสมอไหล่หรือใบหู โดยพยายามให้ฝ่ามือหันตรงไปทิศกิบละฮ์ แล้วลดมือมือลงมากอดอก โดยวางมือขวากำลงบนหลังมือซ้าย หรือข้อมือ หรือแขนซ้ายแล้วทาบมือทั้งสองลงบนอก และบางครั้งก็ให้วางมือขวาบนแขนซ้ายโดยไม้ต้องกำ และการยกมือนั้นอนุญาตให้ยกหลังกล่าวตักบีรหรือก่อนตักบีรก็ได้เป็นบางครั้งเนื่องจากมีรายงานที่ถูกต้อง ยืนยันไว้
การกล่าวตักบีร เป็นการเริ่มเข้าสู่พิธีละหมาด ท่านค่อลีฟะฮ์อาลีและท่านอาบีสะอีดอัลคุดรย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ราย งานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مِفْتَاحُ الصَّلاَةِ الطُّهُورُ وَتَحْرِيمُهَا التَّكْبِيرُ وَتَحْلِيلُهَا التَّسْلِيمُ
“กุญแจสู่พิธีละหมาดคือความสะอาด (น้ำละหมาด) การเข้าสู่พิธีคือการตักบีร และการยุติพิธีคือการ กล่าวสลาม ”
บันทึกโดยอะหมัด,อาบูดาวูด,อัดติรมิซีย์และอิบนุมาญะฮ์์
3. ดุอาอ์อิสติฟตาหฺ ( دعاء الاستفتاح ) หลังกล่าวตักบีรแล้วให้อ่านดุอาอ์อิสติฟตาหฺ (หรืออิฟติตาหฺ) ด้วยบท ดุอาอ์ที่มีรายงานอย่างถูกต้องจากท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังต่อไปนี้
3.1 ให้ดุอาอ์ว่า
اللَّهُـمَّ بَاعِدْ بَيْنِيْ وَبَيْنَ خَطَايَايَ كَمَا بَاعَدْتَ بَيْنَ المَشْرِقِ وَالمَغْرِبِ، اللَّهُـمَّ نَقِّنِي مِنْ خَطَايَايَ كَمَا يُنَقَّى الثَّوْبُ الأَبْيَضُ من الدَّنَسِ، اللَّهُـمَّ اغْسِلْني مِنْ خَطَايَايَ بِالثَّلْـجِ وَالمَاءِ وَالبَرَدِ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ บาอิด บัยนี วะ บัยนะ เคาะฏอยายา กะมา บาอัดตะ บัยนัล มัชริกิ วัล มัฆริบ, อัลลอฮุมมะ นักกินี มินัล เคาะฏอยาย่า กะมา ยุนักก็อษ เษาบุ้ล อับยะฎุ มินัดดะนัส, อัลลอฮุมมัฆซิลนี มิน เคาะฏอยาย่า บิษ-ษัลญิ วัลมาอิ วัลบะร็อด )
ความหมาย “ โอ้อัลลอฮฺ ขอทรงแยกระหว่างข้าพระองค์และบาปของข้าพระองค์ ให้ห่างไกล เหมือนที่ทรงแยกทิศตะวันออกและทิศตะวันตกให้ห่างจากกัน ขอทรงชำระข้าพระองค์ ให้บริสุทธิ์จากความผิดของข้าพระองค์ เหมือนผ้าขาวที่ถูกชำระจนบริสุทธิ์จากความสกปรก ขอพระองค์ทรงล้างข้าพระองค์จากความผิดทั้งหลายของข้าพระองค์ด้วยหิมะ น้ำ และลูกเห็บ ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
3.2 หรือจะอ่านบทดุอาอ์นี้
سُبْـحَانَكَ اللَّهُـمَّ وَبِـحَـمْدِكَ، وَتَـبَارَكَ اسْمُكَ، وَتعَالَى جَدُّكَ، وَلا إلَـهَ غَيْرُكَ
คำอ่าน ( ซุบหานะกัลลอฮุมมะ วะบิหัมดิก้า วะตะบาเราะกัสมุก้า วะตะอาลาญัดดุก้า วะลาอิลาฮะฆัยรุก้า )
ความหมาย “ มหาบริสุทธ์ยิ่งพระผู้อภิบาลแห่งเรา เราขอสรรเสริญพระองค์ จำเริญยิ่งแล้วพระนาม ของพระองค์ สูงส่งยิ่งแล้วพระบารมีของพระองค์ และไม่มีพระเจ้าอื่นใดอีกแล้วนอกจากพระองค์”
บันทึกโดยอาบูดาวูดและอัตติรมิซีย์
3.3 หรือจะอ่านบทดุอาอ์นี้
اللَّهُـمَّ رَبَّ جِبْرَائِيلَ وَمِيكَائِيلَ وَإسْرَافِيلَ، فَاطِرَ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ، عَالِـمَ الغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ، أَنْتَ تَـحْكُمُ بَيْنَ عِبَادِكَ فِيْـمَا كَانُوا فِيهِ يَـخْتَلِفُونَ،اهْدِنِي لِـمَا اخْتُلِفَ فِيْـهِ مِنَ الحَقِّ بِإذْنِكَ،إنَّكَ تَـهْدِي مَنْ تَشَاءُ إلَى صِرَاطٍ مُسْتَقِيمٍ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ร็อบบะ ญิบรีล วะ มีกาอีล วะ อิสรอฟีล, ฟาฏิร็อส สะมาวาติ วัลอัรฎิ, อาลิมัล ฆ็อยบิ วัชชะฮาดะฮฺ, อันตะ ตะห์กุมุ บัยนะ อิบาดิกะ ฟีมา กานู ฟีฮิ ยัคตะลิฟูน, อิฮดินี ลิมัคตุลิฟะฟีฮิ มินัลฮักกิ บิอิซนิก, อินนะกะ ตะฮฺดี มัน ตะชาอุ อิลา ศิรอฏิม มุสตะกีม )
ความหมาย “ โอ้อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าของญิบรีล,มิกาอีลและอิสรอฟีล ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน ผู้ทรงรอบรู้สิ่งที่เร้นลับและเปิดเผย พระองค์คือผู้ตัดสินระหว่างบ่าวทั้งหลายของพระองค์ในเรื่องที่เกิด ความขัดแย้งขึ้น ขอทรงชี้นำข้าพระองค์สู่ความถูกต้องในเรื่องที่มีการขัดแย้งนั้นด้วยพระอนุมัติแห่ง พระองค์ แท้จริงพระองค์ทรงชี้นำผู้ที่ทรงประสงค์สู่ทางอันเที่ยงตรง “
บันทึกโดยมุสลิม
3.4 หรือจะอ่านบทดุอาอ์นี้
اللهُ أَكْبَرُ كَبِيراً، وَالحَـمْدُ للهِ كَثِيراً، وَسُبْـحَانَ اللهِ بُكْرَةً وَأَصِيلاً
คำอ่าน ( อัลลอฮุ อักบะรุกะบีรอ, วัลฮัมดุลิลลาฮิกะษีรอ, วะซุบหานัลลอฮิบุกเราะตัน วะอะศีลา )
ความหมาย “ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ที่สุด มวลการสรรเสริญอันมากมายเป็นอภิสิทธิแห่งพระองค์ และทรงบริสุทธิ์ยิ่งทั้งในยามเช้าและยามเย็น ”
บันทึกโดยมุสลิม
3.5 หรือจะอ่านบทดุอาอ์นี้
الحَـمْدُ للهِ حَـمْداً كَثِيراً طَيِّباً مُبَارَكاً فِيْـه
คำอ่าน ( อัลฮัมดุลิลลาฮิ หัมดันกะษีร็อน ฏ็อยยิบัน มุบาเราะกัน ฟีฮิ )
ความหมาย “ การสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ขอสรรเสริญด้วยการสรรเสริญที่มากมาย ดียิ่งและจำเริญยิ่ง ”
บันทึกโดยมุสลิม
3.6 หรือจะอ่านบทตะวัจญุฮฺก็ได้ คือ
وَجَّهْتُ وَجْهِيَ لِلَّذِيْ فَطَرَ السَّمَاوَاتِ وَاْلأَرْضَ حَنِيْفًا مُسْلِمًا وَمَا أَنَا مِنَ الْمُشْرِكِيْنَ ، إِنَّ صَلاَتِيْ وَنُسُكِيْ وَمَحْيَايَ وَمَمَاتِيْ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ ، لاَ شَرِيْكَ لَهُ وَبِذَلِكَ أُمِرْتُ وَأَنَا مِنَ الْمُسْلِمِيْنَ
บทตะวัจญุฮฺนี้บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิมและอัดติรมีซีย์ และสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ละหมาดจะใช้บทดุอาอ์ต่าง ๆ สลับกันตามสมควรและตามความสามารถในการจดจำ ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งซุนนะฮฺรูปแบบของ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการละหมาด
مُؤَخَّرَةُ الرَّحْلِ تَكُوْنُ بَيْنَ يَدَيْ أَحَدِكُمْ ثُمَّ لاَ يَضُرُّهُ مَا مَرَّ عَلَيْهِ
“เพียงไม้ขัดเชือกรัดอานท่อนหนึ่งที่วางไว้ด้านหน้าพวกท่าน (ขณะละหมาด) จากนั้นสิ่งที่ผ่านด้าน หน้าเขาจะไม่ กระทบต่อการละหมาดเขาแต่อย่างใด ”
บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิม,อาบูดาวูดและอิบนุมาญะฮ์
4. อ่านอัลฟาติหะฮฺและซูเราะฮฺ ( قراءة الفاتحة والسورة ) หลังจากอ่านดุอาอิสติฟตาห์แล้ว ให้ผู้ละหมาดอ่าน ซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์จนจบต้น และให้กล่าวค่อย ๆ ว่า
أَعُوْذُ بِاللهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ
คำอ่าน ( อะอูซุบิลลาฮิ มินัช ชัยฏอนิร เราะญีม )
ความหมาย “ ข้าขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ ให้พ้นจากชัยฏอนผู้ถูกสาปแช่ง ”
หรือกล่าวว่า
أَعُوْذُ بِاللهِ السَّمِيْـعِ العَلِيمِْ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيمِْمِنْ هَـمْزِهِ، وَنَفْخِهِ وَنَفْثِهِ
คำอ่าน ( อะอูซุบิลลาฮิส สะมีอิล อะลีม, มินัช ชัยฏอนิร เราะญีม, มิน ฮัมซิฮี วะ นัฟคิฮี วะ นัฟษิฮฺ )
ความหมาย “ ข้าขอความคุ้มครองต่อพระองค์ ผู้ทรงได้ยินและรอบรู้ยิ่งให้พ้นจากชัยฏอนผู้ถูกสาป แช่ง จากการกระซิบของมัน การพ่นและเป่ามนตร์ของมัน ”
บันทึกโดยอาบูดาวูดและอัตติรมิซีย์
หลังจากนั้น ให้กล่าวบิสมิลลาฮ์ ค่อย ๆ ว่า
بِسْمِ اللهِ الرَّحْـمَنِ الرَّحِيْـمِ
คำอ่าน ( บิสมิลลาฮิร เราะห์มานิร เราะฮีม )
ความหมาย “ ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
การอ่านซูเราะฮฺอัลฟาติฮะฮฺในละหมาดนั้นเป็นรู่ก่น ผู้ละหมาดจำเป็นต้องอ่าน และต้องอ่านอย่างถูกต้องและ ชัดเจน และหยุด(วักฟฺ)ทีละอายะฮฺ ผู้ที่ละหมาดโดยไม่อ่านซูเราะฮ์อัลฟาติหะฮฺในละหมาดถือว่าการละหมาด ของเขานั้นใช้ไม่ได้ (ไม่เซาะฮ์) ท่านอุบาดะฮ์อิบนุสศอมิต ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لاَ صَلاَةَ لِمَنْ لَمْ يَقْرَأْ بِفَاتِحَةِ الْكِتَابِ
“ ไม่มีการละหมาดที่ถูกต้องสำหรับผู้ที่ไม่อ่านอัลฟาติฮะฮ์ ”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์,มุสลิมและอาบูดาวูด
ท่านอาบูฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مَنْ صَلَّى صَلاَةً لَمْ يَقْرَأْ فِيْهَا بِأُمِّ الْقُرْآنِ فَهِىَ خِدَاجٌ هِىَ خِدَاجٌ غَيْرُ تَمَامٍ
“ผู้ใดละหมาดครั้งหนึ่งครั้งใดโดยไม่อ่านอุมมุลกุรอาน-คืออัลฟาติฮะฮ์-ในละหมาดนั้นแน่นอนการ ละหมาดนั้นบกพร่อง บกพร่อง ไม่สมบูรณ์”
บันทึกโดยมุสลิม
อิหม่ามและผู้ละหมาดคนเดียวจำเป็นต้องอ่านซูเราะฮฺอัลฟาติฮะฮฺในทุกร็อกอะฮ์ ส่วนผู้ที่ละหมาดเป็นมะอฺมูมนั้น นักวิชาการมีมุมมองและความเข้าใจที่แตกต่างกัน ส่วนหนึ่งเข้าใจว่ามะอฺมูมต้องอ่านอัลฟาติฮะฮ์ในทุกกรณี อีกส่วนหนึ่งเข้าใจว่า ให้มะฮมูมอ่านอัลติฮะฮ์แต่เฉพาะในละหมาดที่อ่านค่อยเช่นละหมาดซุฮรฺและอัศรฺ ส่วนละหมาดที่อิหม่ามต้องอ่านดังเช่นมัฆริบและอิชาอฺนั้น มะอฺมูมไม่ต้องอ่านอัลฟาติฮะฮ์ แต่ให้นิ่งฟังการ อ่านของอิหม่ามด้วยอาการสงบ
และการอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์นี้นั้น สมควรอ่านที่ละอายะฮ์ ไม่สมควรอ่านต่อเนื่องกันหลาย ๆ อายะฮ์ดังปรากฏ ในรายงานของท่านอิหม่ามอะหมัด จากท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์ว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม อ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์หยุดทีละอายะฮ์
كَانَ يُقَطِّعُ قِرَاءَتَهُ آيَةً آيَةً
“ ท่านรอซูลลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านหยุดทีละอายะฮ์ๆ ดังนี้”
และท่านอิหม่ามอัลฮากิมบันทึกในหนังสืออัลมุสตัดร็อกจากท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์ไว้อีกว่า
كَانَ يُقَطِّعُ قِرَاءَتَهُ آيَةً آيَةً
“ท่านรอซูลลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านหยุดทีละอายะฮ์ๆ อ่านว่า (อัลฮัมดุลิลลาฮิร็อบบิล อาละมีน) แล้วก็หยุด (อัรเราะหฺมานิรร่อฮีม) แล้วก็หยุด ”
5. การกล่าวอามีน ( التَأْمِيْنُ )
เมื่ออ่านอัลฟาติฮะฮ์จบต้นแล้ว ให้กล่าวว่า “ อามีน ” ( آمِيْن ) ทั้งอิมาม,มะอ์มูมและผู้ที่ละหมาดคนเดียว ทั้งนี้ให้กล่าวโดยลากเสียงให้ยาวและออกเสียงให้ดังพร้อม ๆ กันทั้งอิหม่ามและมะอ์มูม ทั้งนี้เฉพาะการละหมาด ที่อ่านเสียงดังเท่านั้น ส่วนการละหมาดที่ต้องอ่านฟาติฮะฮ์ค่อยก็ให้กล่าวอามีนค่อย ท่านอาบูฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
إذَا أَمَّنَ الإمَامُ فَأَمِّنُوا فَإنَّهُ مَنْ وَافَقَ تَأْمِيْنُـهُ تَأْمِيْنَ المَلائِكَةِ غُفِرَ لَـهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِـهِ
“ เมื่ออิหม่ามกล่าว “อามีน” พวกท่านก็จงกล่าว “อามีน” เพราะผู้ใดที่กล่าวอามีนพร้อมการกล่าวอามีน ของ มะลาอิกะฮ์ เขาจะได้รับอภัยโทษจากความผิดที่ผ่านมา”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
ท่านอิบนุชิฮาบได้กล่าว อธิบายหะดีษนี้ว่า “ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็กล่าวว่า อามีน ”
หลังจากอ่านอัลฟาติฮะฮฺแล้วให้อ่านซูเราะฮฺหนึ่งซูเราะฮ์ หรืออายะฮ์อัลกุรอานจำนวนหนึ่งที่ง่ายและสะดวกที่จะ อ่าน การอ่านซูเราะฮ์นั้นให้ค่อยและดังตามการอ่านอัลฟาติฮะฮ์ ในร็อกอะฮ์แรกให้ยาวและมากกว่าในร็อกอะฮ์ ที่สอง ให้อ่านแบบช้าๆด้วยจังหวะและการออกเสียงที่ถูกต้องชัดเจนและด้วยน้ำเสียงที่ไพเราะน่าฟัง ท่านอาบูก้อตาดะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ( ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านอุมมุล กิตาบ-คืออัลฟาติฮะฮ์-และสองซูเราะฮ์ในสองร็อกอะฮ์แรกของละหมาดซุฮรฺ และในสองร็อกอะฮ์หลังนั้นอ่าน เพียงอุมมุลกิตาบเพียงอย่างเดียว โดยท่านจะอ่านซูเราะฮ์ในร็อกอะฮ์แรกให้ยาวและนานกว่าร็อกอะฮ์ที่สอง และท่านก็ทำในละหมาดอัศรฺและซุบห์แบบนี้ ) บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
6. แบบอย่างและตัวอย่างการอ่านซูเราะฮฺในการละหมาดทั้ง 5 เวลา
จากหะดีษของท่านอาบูก้อตาดะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ เข้าใจได้ว่า ตามซุนนะฮ์ของท่านรอซู ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในการอ่านซูเราะฮ์ในละหมาดนั้น ให้อ่านในร็อกอะฮ์แรกให้ยาวกว่าใน ร็อกอะฮ์ที่สอง และหากเป็นไปได้ สมควรอย่างยิ่งที่ผู้ละหมาดจะรักษาแบบอย่างการอ่านซูเราะฮ์ในละหมาด ตามที่มีปรากฏในซุนนะฮ์ของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ด้วย เพื่อให้การละหมาดนั้น เป็นไปอย่างสมบูรณ์และตรงตามซุนนะฮ์มากที่สุด
1. ละหมาดซุบหฺ โดยส่วนใหญ่แล้วท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะอ่านซูเราะฮ์ในละหมาดซุบหฺ ที่มีจำนวนอายะฮ์ ไม่น้อยกว่า 60 อายะฮ์ บางครั้งท่านรอซูลุลลอฮ์อ่านซูเราะฮ์ประเภทฏิวาลมุฟัศซ็อล (คือซูเราะฮ์ยาว) เช่น ซูเราะฮฺกอฟฺ,อัลก้อมัร,อัสซัจญฺดะฮ์และอัรรูมเป็นต้น และบางครั้งก็อ่านซูเราะฮฺประเภท เอาซาฏุลมุฟัศศ็อล (คือปานกลาง) เช่น ซูเราะฮ์อัตตักวีร,อัลอะอฺลา,อัลฆอชิยะฮ์ และบางครั้งก็อ่านประเภท กิซอรุลมุฟัศศ็อลเราะฮ์ (คือสั้นๆ) เช่น ซูเราะฮฺอัซซัลซะละฮฺ,อัลฟะลักและอันนาสเป็นต้น และบางครั้งท่าน รอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านซูเราะฮฺที่ ยาวทั้งซูเราะฮ์ โดยแบ่งอ่านในร็อกอะฮ์แรกให้มากและ ยาวกว่าในร็อกอะฮฺที่สอง และบ่อยครั้งที่ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านซูเราะฮ์อัส ซัจญฺดะฮ์ในร็อกอะฮ์แรกของละหมาดซุบหฺวันศุกร์และอ่านซูเราะฮ์อัลอินซานในร็อกอะฮฺที่สอง
2. การละหมาดซุฮรฺ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะอ่านซูเราะฮ์ในละหมาดซุฮริประมาณ 30 อายะฮ์ น้อยและสั้นกว่าละหมาดซุบหฺ บางครั้งท่านก็อ่านซูเราะฮฺยาว และบางครั้งก็อ่านสูเราะฮฺสั้น มีรายงานว่า บางครั้งท่านอ่านซูเราะฮ์อัลอะอฺลา,อัลลัยลฺ,อัลบุรูจญฺและอัดฏอริกเป็นต้น
3. การละหมาดอัศรฺ โดยปกติแล้วท่านจะอ่านซูเราะฮ์ในละหมาดอัศรฺน้อยกว่าที่อ่านในละหมาดซุฮรฺ
4. การละหมาดมัฆฺริบ มีรายงานยืนยันว่าบางครั้งท่านอ่านซูเราะฮ์ในละหมาดมัฆริบด้วยซูเราะฮ์ประเภทฏิวาลุล มุฟัศศ็อล เช่น ซูเราะฮ์อัลอะอฺรอฟและอัลอันฟาล บางครั้งก็อ่านประเภทเอาสาฏุลมุฟัศซ็อล เช่น ซูเราะฮ์อัส- ซ็อฟฟ้าตและอัดดุคอน และบางครั้งก็อ่านประเภทกิศอรุลมุฟัศศ็อล เช่น ซูเราะฮ์อัลลอะอฺลา อัตตีน,อัลอิคลาศ, อัลฟะลักและอันนาสเป็นต้น
5. การละหมาดอิชาอ์ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะอ่านซูเราะฮ์ในละหมาดอิชาอฺประเภท ปานกลางและสั้น เช่น ซูเราะฮ์อัชชัมสฺ,อัลลัยลฺ,อัลอะอฺลาและอัตตีนเป็นต้น
مِفْتَاحُ الصَّلاَةِ الطُّهُورُ وَتَحْرِيمُهَا التَّكْبِيرُ وَتَحْلِيلُهَا التَّسْلِيمُ
“กุญแจสู่พิธีละหมาดคือความสะอาด (น้ำละหมาด) การเข้าสู่พิธีคือการตักบีร และการยุติพิธีคือการ กล่าวสลาม ”
บันทึกโดยอะหมัด,อาบูดาวูด,อัดติรมิซีย์และอิบนุมาญะฮ์์
7. การรู่กั๊วะ ( الرُّكُوْع )
หลังเสร็จสิ้นจากการอ่านอัลฟาติฮะฮ์และซูเราะฮ์แล้ว ให้หยุดนิ่งชั่วขณะหนึ่ง แล้วยกมือทั้งสองจนถึงระดับไหล่ หรือระดับติ่งหูทั้งสอง พร้อมกับกล่าวตักบีรว่า ( اَللهُ أَكْبَرُ ) แล้วจึงโค้งลงรุกั๊วะ โดยวางมือทั้งสองบนหัวเข่า เสมือนจับหรือกุมไว้ กางนิ้วออกจากกันเล็กน้อย ให้ข้อศอกแยกห่างจากลำตัว ให้แผ่นหลังราบมีระดับเสมอกัน ทั้งหมด ศรีษะอยู่ในระดับเดียวกับหลัง ไม่เชิดศีรษะขึ้นและไม่งุ้มหรือมุดศีรษะลง และให้อยู่ในอาการสงบนิ่ง ในขณะรุกั๊วะชั่วขณะหนึ่ง(ฏุมะนีนะฮ์) ท่านหญิงอาอิชะฮ์รายงาน จากท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม ว่า
وَكَانَ إِذَا رَكَعَ لَمْ يُشْخِصْ رَأْسَهُ وَلَمْ يُصَوِّبْهُ وَلَكِنْ بَيْنَ ذَلِكَ
“ และเมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รู่กั๊วะ ท่านจะไม่เชิดศีรษะของท่านขึ้น และจะไม่มุดศีรษะของท่านลง แต่ท่านจะอยู่ในระดับที่พอดี ”
“ และเมื่อท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม รู่กั๊วะ ท่านจะไม่เชิดศีรษะของท่านขึ้น และจะไม่มุดศีรษะของท่านลง แต่ท่านจะอยู่ในระดับที่พอดี ”
คือปานกลาง คือไม่เชิดจนสูงและไม่มุดจนต่ำ หะดีษนี้บันทึกโดยมุสลิม
8. บทตัสบีห์ในรู่กั๊วะ (أَذْكَارُ الرُّكُوْعِ )
8.1 ให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَ رَبِّيَ العَظِيْمِ
คำอ่าน ( ซุบหานะ ร็อบบิยัล อะซีม )
“ บริสุทธิคุณยิ่ง พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ”
บันทึกโดยมุสลิม
8.2 หรือให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَكَ وَبِـحَـمْدِكَ لاَ إلَـهَ إلاَّ أَنْتَ
คำอ่าน ( ซุบหานะกะ วะ บิหัมดิกะ ลาอิลาฮะ อิลลา อันตะ )
“ บริสุทธิ์ยิ่งพระองค์ท่าน และด้วยการสรรเสริญพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอก จากพระองค์ ”
บันทึกโดยมุสลิม
8.3 หรือให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَكَ اللَّهُـمَّ رَبَّنَا وَبِـحَـمْدِكَ اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِيْ
คำอ่าน ( ซุบหานะกัลลอฮุมมะ ร็อบบะนา วะบิหัมดิกะ อัลลอฮุมมัฆฟิรฺลี )
“ มหาบริสุทธิ์ยิ่งพระองค์ท่าน โอ้อัลลอฮ์ โอ้พระผู้อภิบาลของเรา และด้วยการสรรเสริญ พระองค์ ได้โปรดประทานอภัยโทษแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
บทตัสบีห์นี้สมควรกล่าวให้มาก ๆ ทั้งในรุกูอฺและในสุญูด
8.4 หรือให้กล่าวว่าี้
سُبُّوحٌ قُدُّوْسٌ رَبُّ المَلاَئِكَةِ وَالرُّوْحِ
คำอ่าน ( ซุบบูหุน กุดดูซุน ร็อบบุล มะลาอิกะติ วัรรูหฺ )
“ผู้ทรงบริสุทธิคุณยิ่ง ผู้ทรงศักด์สิทธิ์ยิ่ง พระผู้อภิบาลแห่งมวลมลาอิกะฮฺทั้งหลายและญิบรีล ”
บันทึกโดยมุสลิม
8.5 หรือให้กล่าวว่าี้
اللَّهُـمَّ لَكَ رَكَعْتُ وَبِكَ آمَنْتُ وَلَكَ أَسْلَـمْتُ، خَشَعَ لَكَ سَمْعِيْ وَبَصَرِيْ وَمُـخِّيْ وَعَظْمِيْ وَعَصَبِيْ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ละกะ เราะกะอฺตุ, วะบิกะ อามันตุ, วะละกะ อัสลัมตุ, เคาะชะอะ ละกะ ซัมอี, วะ บะเศาะรี, วะมุคคี, วะอัซมี, วะ อะเศาะบี )
“โอ้อัลลอฮฺ แด่พระองค์ข้าได้โค้งรุกั๊วะ กับพระองค์ข้าได้ศรัทธา แด่พระองค์ข้าได้สยบยอม หูของข้าฯ ดวงตาของข้าฯ สมองของข้าฯ กระดูกของข้าฯ และเส้นประสาทของข้าฯ ได้น้อมนอบต่อพระองค์แล้ว ”
บันทึกโดยมุสลิม
8.6 หรือให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَ ذِي الجَبَرُوْتِ، وَالمَلَكُوْتِ، وَالكِبْرِيَاءِ، وَالعَظَمَةِ
คำอ่าน ( สุบหานะ ซิล วะบะรูต วัล มะละกูต วัล กิบริยาอ์ วัล อะเซาะมะฮฺ )
“ มหาบริสุทธิ์ยิ่ง พระองค์ผู้ทรงยิ่งด้วยความเกรียงไกร อำนาจบารมี ศักดิ์ศรี และความยิ่งใหญ่ ”
บันทึกโดยอาบูดาวูดและอันนะซาอีย์
โดยให้กล่าวทั้งในรุกูอฺและในสุญูด
ทั้งนี้หากมีความสามารถให้ใช้บทตัสบีหฺสำนวนนี้บ้าง สำนวนนั้นบ้าง ตามโอกาสและความสะดวก เพื่อเป็นการ รักษาไว้ซึ่งซุนนะฮฺแบบอย่างของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในทุกๆสำนวนที่ได้มีรายงานไว้
9. เงยขึ้นจากรุกูอฺ (الرَّفْعُ مِنَ الرُّكُوْعِ )
หลังจากกล่าวบทตัสบีห์ในรู่กั๊วะครบจำนวนแล้ว ให้เงยศีรษะขึ้นจากรู่กั๊วะ จนกระทั่งอยู่ในท่ายืนตรงโดยให้ข้อ กระดูกต่าง ๆ กลับอยู่ในสภาพที่เป็นธรรมชาติเดิมของมัน แล้วยกมือทั้งสองข้างเสมอระดับบ่าหรือระดับติ่งหูทั้ง สองเหมือนกับที่ผ่านมา แล้วปล่อยมือทั้งสองลง หากเป็นอิหม่ามหรือละหมาดคนเดียวให้กล่าวในขณะเงย ศีรษะว่า
سَمِعَ الله لِـمَنْ حَـمِدَه
คำอ่าน ( สะมิอัลลอฮุ ลิมันหะมิดะฮฺ )
“ อัลลอฮฺทรงได้ยินผู้ที่สรรเสริญพระองค์ ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
10. ดุอาอ์ขณะยืนตรงหลังเงยศีรษะขึ้นจากรู่กั๊วะ (الرَّفْعِ مِنَ الرُّكُوْعِ أَذْكَارُ )
เมื่ออยู่ในท่ายืนตรง(อิอฺติดาล)เรียบร้อยแล้ว ให้กล่าวดังต่อไปนี้
10.1 ให้กล่าวว่า
رَبَّنَا وَلَكَ الحَـمْدُ
คำอ่าน ( ร็อบบะนา วะละกัล หัมด์ )
“ โอ้พระผู้อภิบาลของเรา และการสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์เท่านั้น ์”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
10.2 หรือให้กล่าวว่า
رَبَّنَا لَكَ الحَـمْدُ
คำอ่าน ( ร็อบบะนา ละกัล ฮัมดฺ )
“โอ้พระผู้อภิบาลของเรา การสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์เท่านั้น ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์
10.3 หรือให้กล่าวว่า
اللَّهُـمَّ رَبَّنَا لَكَ الحَـمْدُ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ร็อบบะนา ละกัล ฮัมดฺ )
“โอ้อัลลอฮฺ โอ้พระผู้อภิบาลของเรา การสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์เท่านั้น”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
10.4 หรือให้กล่าวว่า
اللَّهُـمَّ رَبَّنَا وَلَكَ الحَـمْدُ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ร็อบบะนา วะ ละกัล ฮัมดฺ )
“โอ้อัลลอฮฺ โอ้พระผู้อภิบาลของเรา และการสรรเสริญทั้งมวลเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์เท่านั้น ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์
ทั้งนี้หากมีความสามารถให้ผู้ละหมาดใช้สำนวนนี้บ้าง สำนวนนั้นบ้าง ตามโอกาสและความสะดวก เพื่อเป็นการ รักษาไว้ซึ่งซุนนะฮฺแบบอย่างของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในทุกๆสำนวนที่ได้มีรายงานไว้
10.5 และสมควรกล่าวเพิ่มอีกว่า
حَـمْدًا كَثِيراً طَيِّباً مُبَارَكاً فِيْـهِ
คำอ่าน ( ฮัมดัน กะษีร็อน ฏ็อยยิบัน มุบาเราะกัน ฟีฮิ )
“ขอสรรเสริญต่อพระองค์ ด้วยการสรรเสริญที่มากมาย ดีเลิศ และจำเริญยิ่ง ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์
10.6 และกล่าวเพิ่มอีกว่า
مِلْؤُ السَّمَاوَاتِ، وَ مِلْؤُ الأَرْض وَمَا بَيْنَـهُـمَا، وَ مِلْؤُ مَا شِئْتَ مِنْ شَيْءٍ بَـعْدُ، أَهْلَ الثَّنَاءِ وَالمَـجْدِ، لا مَانِعَ لِـمَا أَعْطَيْتَ، وَلا مُعْطِيَ لِـمَا مَنَعْتَ، وَلا يَنْفَعُ ذَا الجَدِّ مِنْكَ الجَدُّ
คำอ่าน ( มิลอุส สะมาวาต, วะ มิลอุล อัรฎ์, วะ มาบัยนะฮุมา, วะ มิลอุ มา ชิอฺตะ มินชัยอิน บะอฺดุ, อะฮฺลัษ ษะนาอิ วัล มัจญ์ดฺ, ลา มานิอะ ลิมา อะอฺฏ็อยตะ, วะลา มุอฺฏิยะ ลิมา มะนะอฺตะ, วะลา ยันฟะอุ ซัลญัดดิ มินกัล ญัดดุ )
“การสรรเสริญที่เต็มเปี่ยมทุกท้องฟ้าและเปี่ยมทุกแผ่นดิน และเต็มเปี่ยมระหว่างทั้งสองนั้น รวมทั้งทุก สิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์นอกจากนั้น โอ้พระองค์ผู้ทรงคู่ควรแก่การสรรเสริญและการให้เกียรติ ไม่มีสิ่ง ใดกีดกันขัดขวางสิ่งที่พระองค์ประทานให้ และไม่มีสิ่งใดมอบในสิ่งที่พระองค์กีดกันขัดขวางได้ และความมั่งคั่งมิอาจให้ประโยชน์แก่ผู้มั่งคั่งนั้น ณ พระองค์ได้เลย”
บันทึกโดยมุสลิม
และในขณะยืนตรงเอี๊ยะติดาล ( اَلاِعْتِدَال ) หลังเงยศีรษะจากรู่กั๊วะแล้วทุกครั้ง จำเป็นจะต้องหยุดสงบนิ่ง ( الطمأنينة ) ชั่วขณะหนึ่งก่อนเปลี่ยนไปทำอิริยาบถต่อไป
11. การสุญูด (السجود )
หลังจากหยุดนิ่งชั่วขณะหนึ่งแล้ว ให้ย่อตัวลงสุญูด พร้อมกล่าวตักบีรฺ ( اَللهُ أَكْبَرُ ) โดยให้อวัยวะทั้งเจ็ดส่วน คือ หน้าผากรวมถึงจมูก ฝ่ามือมือทั้งสอง หัวเข่าทั้งสอง และปลายเท้าทั้งทั้งสอง วางให้แนบสนิทกับพื้น ห้ามกำหรือ ถืออะไรไว้ในมือ ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
أُمِرْتُ أَنْ أَسْجُدَ عَلَى سَبْعَةِ أَعْظُمٍ عَلَى الْجَبْهَةِ وَأَشَارَ بِيَدِهِ عَلَى أَنْفِهِ وَالْيَدَيْنِ وَالرُّكْبَتَيْنِ وَأَطْرَافِ الْقَدَمَيْنِ وَلاَ نَكْفِتَ الثِّيَابَ وَالشَّعَرَ
“ฉันถูกใช้ให้สุญูดบนอวัยวะเจ็ดส่วน คือ บนหน้าผาก แล้วท่านก็ชี้มือเลยไปถึงจมูกด้วย ฝ่ามือทั้งสอง ข้าง หัวเข่าทั้งสองข้าง และปลายเท้าทั้งสองข้าง และเราจะไม่กำผ้าหรือผมไว้ ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
โดยการลงสุญูดนั้น ให้ลงโดยการเอาหัวเข่าทั้งสองวางลงกับพื้นก่อนฝ่ามือ และเมื่อฝ่ามือทั้งสองแนบสัมผัสพื้น ดีแล้วจึงให้หน้าผากและจมูกแนบสัมผัสกับพื้นตามลำดับ และให้ฝ่ามือทั้งสองวางราบกับพื้นเสมอแนวหัวไหล่ หรือใบหู แบมือทั้งสองและให้นิ้วชิดกันและหันไปทางกิบละฮฺ ให้กางแขนห่างจากลำตัวพอประมาณ ข้อศอก ยกสูงขึ้นจากพื้น และให้หน้าท้องห่างจากต้นขา ให้ปลายเท้าทั้งสองแนบและยันพื้นโดยพยายามให้ปลายนิ้ว เท้าชี้ไปทิศกิบละฮฺ ให้เท้าทั้งสองตั้งชันอยู่ใกล้ๆกัน และระหว่างหัวเข่าทั้งสองข้างให้ห่างกันตามสมควร ต้องพยายามให้อวัยวะทั้ง 7 ส่วนแนบสัมผัสกับพื้น อย่าให้เผินลอย โดยเฉพาะส่วนหน้าผากที่มีตัวบทระบุกำชับไว้ ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวกำชับสอนวิธีละหมาดให้ชายคนหนึ่งว่า
وَإِذَا سَجَدْتَ فَأَمْكِنْ جَبْهَتَكَ مِنْ الأَرْضِ حَتَّى تَجِدَ حَجْمَ الأَرْضِ
“และเมื่อท่านสุญูด ท่านจงพยายามให้หน้าผากของท่านแนบสนิทกับพื้น จนกระทั่งท่านสัมผัสได้ถึง ลักษณะของพื้น ”
บันทึกโดยอะหมัดและอัดฏ็อบรอนีย์
และให้สงบและสำรวม ( الطمأنينة ) ในขณะสุญูด และให้กล่าวบทตัสบีหฺและอ่านดุอาอ์ให้มากๆ แต่ห้ามอ่าน อัลกุรอานทั้งในรุกูอฺและสุญูด ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
أَلاَ وَإِنِّي نُهِيْتُ أَنْ أَقْرَأَ الْقُرْآنَ رَاكِعًا أَوْ سَاجِدًا ، فَأَمَّا الرُّكُوْعُ فَعَظِّمُوْا فِيْهِ الرَّبَّ عَزَّ وَجَلَّ ، وَأَمَّا السُّجُوْدُ فَاجْتَهِدُوْا فِي الدُّعَاءِ فَقَمِنٌ أَنْ يُسْتَجَابَ لَكُمْ
“พึงทราบเถิดว่า ฉันถูกห้ามมิให้อ่านอัลกุรอานในขณะรู่กั๊วะและในขณะสุญูด ดังนั้นในการรู่กั๊วะ พวกท่านจงกล่าวถวายความยิ่งใหญ่เกรียงไกรแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าเถิด และส่วนในการสุญูดนั้นพวก ท่านจงพยายามกล่าวดุอาอฺวิงวอนให้มากๆ เพราะมันเป็นช่วงที่สมควรจะได้รับการตอบรับยิ่งนัก”
บันทึกโดยอะหมัดและอัดฏ็อบรอนีย์
12. ตัสบีห์และดุอาอ์ในสุญูด ( أَذْكَارُالسُّجُوْدِ )
เมื่ออวัยวะทั้งเจ็ดส่วนแนบสนิทกับพื้นเรียบร้อยแล้ว ให้กล่าวบทตัสบีห์และบทดุอาอฺที่มีรายงานจากท่านรอซูลุ ลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เช่น บทตัสบีห์ต่อไปนี้
12.1 ให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَ رَبِّيَ الأَعْلَى
คำอ่าน ( ซุบหานะ ร็อบบิยัล อะอฺลา์ )
“มหาบริสุทธิ์ยิ่ง พระผู้อภิบาลแห่งข้าพระองค์ ผู้ทรงสูงส่งยิ่ง ”
บันทึกโดยมุสลิม
12.2 หรือให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَكَ اللَّهُـمَّ رَبَّنَا وَبِـحَـمْدِكَ اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِيْ
คำอ่าน ( ซุบหานะกัลลอฮุมมะ ร็อบบะนา วะบิฮัมดิก้า อัลลอฮุมมัฆฟิรฺลีฺ )
“มหาบริสุทธิ์ยิ่งพระองค์ท่าน โอ้อัลลอฮ์ โอ้พระผู้อภิบาลของเรา และด้วยการสรรเสริญพระองค์ ขอทรงโปรดประทานอภัยโทษแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
12.3 หรือให้กล่าวว่า
سُبُّوْحٌ قُدُّوْسٌ رَبُّ المَلاَئِكَةِ وَالرُّوْحِ
คำอ่าน ( ซุบบูฮุน กุ้ดดูซุน ร็อบบุล มะลาอิกะติ วัรรูหฺฺ )
“ผู้ทรงบริสุทธิคุณยิ่ง ผู้ทรงศักด์สิทธิ์ยิ่ง พระผู้อภิบาลแห่งมวลมลาอิกะฮฺทั้งหลายและญิบรีล”
บันทึกโดยมุสลิม
12.4 หรือให้กล่าวว่า
اللَّهُـمَّ لَكَ سَجَدْتُ، وَبِكَ آمَنْتُ، وَلَكَ أَسْلَـمْتُ، سَجَدَ وَجْهِيَ لِلَّذِي خَلَقَهُ وَصَوَّرَهُ، وَشَقَّ سَمْعَهُ وَبَصَرَهُ، تَـبَارَكَ اللهُ أَحْسَنُ الخَالِقِينَ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ละกะ สะญัดตุ, วะบิกะ อามันตุ, วะละกะ อัสลัมตุ, สะญะดะ วัจญ์ฮิยะ ลิลละซี เคาะละเกาะฮุ วะ เศาวะเราะฮุ, วะ ชั๊กเกาะ ซัมอะฮุ วะ บะเศาะเราะฮู, ตะบาเราะกัลลอฮุ อะห์สะนุล คอลิกีน )
“โอ้อัลลอฮ์ เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ข้าพระองค์กราบสุญูด และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่ข้าฯศรัทธามั่น และต่อพระองค์เท่านั้นที่ข้าฯยอมจำนน ใบหน้าของข้าฯได้กราบสุญูดแด่ผู้ที่สร้างมัน ให้มันมีรูปทรง ที่สวยงาม และสร้างให้มีใบหูและดวงตา ดังนั้นบริสุทธิ์ยิ่งแล้วอัลลอฮฺผู้ทรงสรรสร้างที่ดียิ่ง”
บันทึกโดยมุสลิม
12.5 หรือให้กล่าวว่า
اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِيْ ذَنْبِيْ كُلَّهُ، دِقَّهُ وَجِلَّهُ، وَأَوَّلَـهُ وَ آخِرَهُ، وَعَلانِيَتَـهُ وَسِرَّهُ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมัฆฟิรฺลี ซันบี กุลละฮุ, ดิ๊กเกาะฮู วะ ญิลละฮุ, วะเอาวะละฮู วะ อาคิเราะฮุ, วะ อะลานิยะตะฮู วะ สิรเราะฮูิ )
“โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ในความผิดบาปทั้งหลายของข้า ฯ ทั้งเล็ก และใหญ่ ทั้งครั้งแรก (เก่า) และครั้งหลัง (ใหม่) ทั้งที่เปิดเผยและหลบซ่อน”
บันทึกโดยมุสลิมและอาบูดาวูด
12.6 หรือให้กล่าวว่า
اللَّهُـمَّ أَعُوذُ بِرِضَاكَ مِنْ سَخَطِكَ، وَبِمُعَافَاتِكَ مِنْ عُقُوبَتِكَ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْكَ، لا أُحْصِي ثَنَاءً عَلَيْكَ، أَنْتَ كَمَا أَثْنَيْتَ عَلَى نَفْسِكَ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ อะอูซุบิริฎอกะ มิน สะเคาะฏิก, วะ บิมุอาฟาติกะ มิน อุกูบะติก, วะอะอูซุบิกะ มินกะ, ลา อุห์ซี ษะนาอัน อะลัยกะ, อันตะ กะมา อัษนัยตะ อะลา นัฟซิกุ )
“โอ้อัลลอฮ์ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองด้วยความพอพระทัยของพระองค์จากความพิโรธของ พระองค์ และข้าฯขอความคุ้มครองด้วยการให้ความปลอดภัยของพระองค์จากการลงโทษของพระองค์ และข้าฯขอความคุ้มครองด้วยพระองค์จากพระองค์เอง ข้าฯมิอาจจะนับการสรรเสริญสดุดีต่อพระองค์ ได้ พระองค์ทรงเป็นเช่นที่พระองค์ได้สรรเสริญแก่พระองค์เอง”
บันทึกโดยมุสลิม
12.7 หรือให้กล่าวว่า
سُبْـحَانَكَ وَبِـحَـمْدِكَ لاَ إلَـهَ إلاَّ أَنْتَ
คำอ่าน ( ซุบหานะกะ วะ บิหัมดิกะ ลาอิลาฮะ อิลลา อันตะุ )
“บริสุทธิ์ยิ่งพระองค์ท่าน และด้วยการสรรเสริญพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ”
บันทึกโดยมุสลิม
และเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ละหมาดจะเลือกใช้สำนวนตัสบีห์ต่างๆนี้ตามโอกาสและความสะดวก ทั้งนี้เพื่อ เป็นการรักษาไว้ซึ่งซุนนะฮฺแบบอย่างของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ให้ครบทุกรูปแบบ และควรอยู่ในท่าสุญูดอย่างสงบและสำรวม กล่าวบทตัสบีห์อย่างน้อย1 ครั้ง ที่ดีควรกล่าว 3 ครั้งหรือมากกว่านี้ และควรกล่าวบทดุอาอ์อื่น ๆ ให้มากๆตามปรารถนา
เพราะการสุญูดนั้นถือว่าเป็นอิริยาบถที่บ่าวหรือผู้ละหมาดได้ใกล้ชิดอัลลอฮ์มากที่สุด ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงส่งเสริมให้ดุอาอฺวิงวอนขอจากอัลลอฮ์ในขณะสุญูดให้มากที่สุด ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า รอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
أَقْرَبُ مَا يَكُونُ الْعَبْدُ مِنْ رَبِّهِ وَهُوَ سَاجِدٌ فَأَكْثِرُوا الدُّعَاءَ
“วาระที่บ่าวจะได้อยู่ใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้ามากที่สุดคือในขณะสุญูด ดังนั้นพวกท่านจงดุอาอฺวิงวอน ให้มาก ๆ เถิด”
บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิม,อาบูดาวูดและอันนซาอีย์
13. เงยขึ้นนั่งระหว่างสองสุญูด ( الرَّفْعُ مِنَ السُّجُوْدِ )
จากนั้นให้เงยศีรษะขึ้นจากท่าสุญูด พร้อมกล่าวตักบีรฺ ( اَللهُ أَكْبَرُ ) แล้วนั่งแบบ “อิฟติรอช” ( افتراش ) คือนั่งให้ ก้นทับบนเท้าซ้ายที่แบนราบกับพื้น ปลายนิ้วเท้าขวายันพื้น และชี้ไปทิศกิบละฮฺ วางฝ่ามือทั้งสองทาบลง บนหน้าขาหรือหัวเข่า แบฝ่ามืออกเล็กน้อยไม่นิ้วมือชิดติดกัน และให้ปลายนิ้วมือทั้งหมดชี้ตรงไปทิศกิบละฮ์
และในบางครั้งให้นั่งแบบ “อิกอาอ์” คือนั่งโดยให้เท้าทั้งสองตั้งชันยันกับพื้นไว้ แล้วนั่งลงบนส้นเท้าทั้งสอง ด้วยอาการสำรวมและสงบนิ่ง แล้วกล่าวบทดุอาอ์ในขณะนั่ง
14. ดุอาอ์ขณะนั่งระหว่างสุญูด ( أَذْكَارُ الْجَلْسَةِ بَيْنَ السَّجْدَتَيْنِ )
จากนั้นให้กล่าวบทดุอาอ์และซิกรุลลอฮ์ที่มีรายงานจากท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังเช่นดุอาอ์ต่อไปนี้
14.1 หรือให้กล่าวว่า
اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِيْ وَارْحَمْنِيْ وَعَافِنِيْ وَاهْدِنِيْ وَارْزُقْنِيْ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมัฆฟิรลี วัรฮัมนี, วะอาฟินี, วะฮฺดีนี,, วัรซุกนี )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ โปรดเมตตาข้าฯ โปรดให้ความปลอดภัย แก่ข้าฯ โปรดชี้นำข้าฯ และโปรดประทานปัจจัยดำรงชีพแก่ข้าฯ”
บันทึกโดยอะหมัดและอบูดาวูด
14.2 หรือให้กล่าวว่า
رَبِّ اغْفِرْ لِيْ وَارْحَمْنِيْ وَاجْبُرْنِيْ وَارْزُقْنِيْ وَارْفَعْنِيْ
คำอ่าน ( ร็อบบิฆฟิรฺลี วัรฮัมนี , วัจญ์บุรนี , วัรซุกนี วัรฟะอฺนีี )
“โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานอภัยแก่ข้าฯ โปรดเมตตาข้าฯ โปรดปกครองดูแลข้าฯ โปรดประทานปัจจัยดำรงชีพแก่ข้าฯ โปรดยกฐานะข้าฯ”
บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ
14.3 หรือให้กล่าวว่า
رَبِّ اغْفِرْ لِيْ، رَبِّ اغْفِرْ لِيْ
คำอ่าน ( ร็อบบิฆฟิรลี ร็อบบิฆฟิรลีี )
“โอ้พระผู้เป็นเจ้าข้าพระองค์ ขอทรงประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ โอ้พระผู้เป็นเจ้าข้าพระองค์ ขอทรงประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ ”
บันทึกโดยอะหมัด,อาบูดาวูด,อันนะซาอีย์และอิบนุมาญะฮฺ
หลังจากนั้นให้กล่าวตักบีรฺ แล้วลงสุญูดครั้งที่สอง พร้อมกล่าวตักบีรฺ ( اَللهُ أَكْبَرُ ) แล้วปฏิบัติเหมือน กับที่ปฏิบัติใน การสุญูดครั้งแรกดังที่กล่าวมาแล้ว หลังจากนั้นให้เงยศีรษะขึ้นจากสุญูดครั้งที่สอง พร้อมกล่าวตักบีรฺ “อัลลอฮุอักบัรฺ” แล้วลุกขึ้นยืนเพื่อทำละหมาดในร็อกอะฮฺที่สองต่อไป โดยใช้ฝ่ามือทั้งสองยันพื้นแล้วลุกขึ้น (หรืออาจกำมือทั้งสองขณะยันพื้นหรือจับที่หัวเข่าขณะลุกขึ้นก็ได้) โดยไม่ต้องยกมือทั้งสองและไม่ต้องอ่าน ดุอาอ์อิสติฟตาหฺอีก ให้เอามือกอดอก แล้วปฏิบัติเหมือนในร็อกอะฮฺแรกทุกขั้นตอนดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพียงแต่ใช้เวลาให้สั้นกว่าร็อกอะฮฺแรกเล็กน้อย
อนึ่ง อนุญาตให้นั่งพักระยะสั้นๆหลังจากเงยศีรษะขึ้นจากสุญูดครั้งที่สองในร็อกอะฮ์ที่หนึ่งก่อนยืนขึ้นทำร็อกอะฮ์ ที่สอง โดยนั่งให้เส้นสาย ข้อกระดูกต่างๆของร่างกายอยู่ในสภาพที่ผ่อนคลาย พร้อมลุกชึ้นทำร็อกอะฮ์ต่อไป การนั่งนี้เรียกว่า (ญัลสะตุลอิสติรอหะฮฺ) ซึ่งไม่มีการอ่านบทดุอาอ์หรือคำซิกรุลลอฮ์ในขณะนั่งพักแต่อย่างใด
15.ขั้นตอนการปฏิบัติในร็อกอะฮ์ที่ 2 ( ألرَّكْعَةُ الثَّانِيَةُ )
เมื่อเส็รจและลุกขึ้นจากร็อกอะฮ์แรกแล้ว ให้ผู้ละหมาดยืนตรงเพื่อทำร็อกอะฮ์ที่ 2 ต่อ ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ยืนตรงแล้วอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์จนจบต้น โดยให้เริ่มอ่านจาก
1.1. อะอูซุบิลลาฮ์ฯ
1.2. บิสมิลลาฮ์
1.3. แล้วจึงอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์จนจบต้น
1.4. สร็จแล้วให้กล่าวอามีน ( آمِيْن )
2. อ่านซูเราะฮ์หรืออายะฮ์จำนวนหนึ่ง โดยให้มีจำนวนน้อยกว่าในร็อกอะฮ์แรก
3. ก้มลงรู่กั๊วะ พร้อมกล่าวตักบีร ( اَللهُ أَكْبَرُ ) และในขณะรู่กั๊วะให้กล่าวบทตัสบีหฺ
4. เงยศีรษะขึ้นจากรู่กั๊วะพร้อมกล่าว (سَمِعَ اللهُ لِـمَنْ حَـمِدَه ) และ (رَبَّنَا وَلَكَ الحَـمْدُ ) และดุอาอฺ
5. ก้มลงสุญูดพร้อมกล่าวตักบีร ( اَللهُ أَكْبَرُ ) และในขณะสูญูดให้กล่าวบทตัสบีห์ (سُبْـحَانَ رَبِّيَ الأَعْلَى ) และดุอาอฺ
6. เงยศีรษะขึ้นมานั่งระหว่างสองสุญูดพร้อมกล่าวตักบีร ( اَللهُ أَكْبَرُ ) แล้วอ่านบทดุอาอฺ เช่น (رَبِّ اغْفِرْ لِيْ )
7. ก้มลงสุญูดครั้งที่สองพร้อมกล่าวตักบีร ( اَللهُ أَكْبَرُ ) และในขณะสูญูดให้กล่าวบทตัสบีห์และดุอาอฺ
8. เงยศีรษะขึ้นจากสุญูดครั้งที่ 2 พร้อมกล่าวตักบีร ( اَللهُ أَكْبَرُ ) เพื่อนั่งตะชะฮฮุด์
16. เงยขึ้นนั่งระหว่างสองสุญูด ( الرَّفْعُ مِنَ السُّجُوْدِ )
หากเป็นการละหมาดที่มี 2 ร็อกอะฮ์ เช่น ละหมาดซุบหฺ ละหมาดวันศุกร์ หรือละหมาดอีด วิธีการนั่งหลังจากเงย ศีรษะขึ้นจากสุญูดครั้งที่สองแล้ว คือ ให้นั่งทับบนเท้าซ้ายที่แนบราบกับพื้น เท้าขวายันกับพื้น เช่นเดียวกับการ นั่งระหว่างสองสุญูด วางมือทั้งสองบนต้นขาหรือหัวเข่า ให้ปลายนิ้วเสมอหัวเข่า กำนิ้วมือขวาทั้งหมดยกเว้นนิ้วชี้ สายตามองที่นิ้วชี้ ชี้ด้วยนิ้วชี้ยังที่สุญูด และให้เหยียดนิ้วสูงขึ้นและตรงไปทิศกิบละฮ์เมื่อกล่าวถึงประโยค ชะฮาดะฮ์ (หรือเมื่อกล่าวถึงพระนามของอัลลอฮ์) เพื่อแสดงถึงความเอกะของอัลลอฮ์ และจะเป็นการดียิ่ง (อัฟฎ็อล) หากจะกำนิ้วก้อยและนิ้วนางและให้หัวแม่มือ(นิ้วโป้ง)ชนต่อเป็นวงกลมกับนิ้วกลาง แล้วชี้ด้วยนิ้วชี้ จากนั้นให้อ่านบทตะชะฮฺฮุด ดังต่อไปนี้
16.1 บทตะชะฮฺฮุดจากรายงานของท่านอับดิลลาฮ์อิบนิมัสอูด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งเป็นบทที่ท่านรอลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สอนท่านอิบนุมัสอูดด้วยตัวเอง คือ
التَّحِيَّاتُ للهِ وَالصَّلَوَاتُ وَالطَّيِّبَاتُ، السَّلاَمُ عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُّ وَرَحْـمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُـهُ، السَّلاَمُ عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِـحِينَ، أَشْهَدُ أَنْ لاَ إلَـهَ إلاَّ اللهُ، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُولُـهُ
คำอ่าน ( อัตตะหิยฺยาตุลิลลาฮฺ, วัศฺศอละวาตุวัฏฺฏ็อยยิบาตฺ, อัสลามุอะลัยกะ อัยฺยุฮันนะบิยฺยุ วะเราะฮฺมะตุล ลอฮิวะบะรอกาตุฮฺ, อัสลามุอะลัยนา วะอะลาอีบาดิลลาฮิศฺศอลิหีน, อัชฮะดุอัลฺลาอิลาฮะอิลฺลัลลอฮฺ, วะอัชฮะดุอันนะมุหัมมะดัน อับดุฮูวะรอซูลุฮฺี )
“มวลการเคารพสดุดี การวิงวอนและความดีงามต่างๆเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ขอความศานติ ความเมตตาและความจำเริญทั้งหลายของอัลลอฮ์จงประสบแด่ท่านโอ้ผู้เป็นนบี ขอความศานติ จงประสบแด่พวกเราและแด่ปวงบ่าวของอัลลอฮ์ผู้ทรงคุณธรรม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญาณว่ามุฮัมหมัดนั้นเป็นบ่าว และศาสนทูตของพระองค์ ”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
16.2 หรือบทตะชะฮฺฮุดจากรายงานของท่านอับดุลลอฮ์อิบนิอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งเป็นบทที่ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สอนท่านอิบนุมัสอูดด้วยตัวท่านเองเช่นกัน คือ
التَّحِيَّاتُ المُبَارَكَاتُ الصَّلَوَاتُ الطَّيِّبَاتُ للهِ، السَّلاَمُ عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُّ وَرَحْـمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُـهُ،السَّلاَمُ عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِـحِيْنَ، أَشْهَدُ أَنْ لاَ إلَـهَ إِلاَّ اللهُ، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُـحَـمَّداً رَسُوْلُ اللهِ
คำอ่าน ( อัตตะหิยฺยาตุล มุบาเราะกาตุศ เศาะลาวาตุต ฏ็อยยิบาตุลิลลาฮฺ , อัสลามุอะลัยกะอัยฺยุฮันนะบิยฺยุ วะเราะฮฺมะตุลลอฮิวะบะรอกาตุฮฺ, อัสลามุอะลัยนาวะอะลา อีบาดิลลาฮิศฺศอลิหีน , อัชฮะดุอัลฺลาอิลาฮะ อิลฺลัลลอฮฺ , วะอัชฮะดุอันนะมุหัมมะดันเราะสูลุลลอฮฺีี )
“มวลการเคารพสดุดีอันจำเริญยิ่ง การวิงวอนและความดีงามต่างๆ เป็นกรรมสิทธิ์ของ อัลลอฮฺ ขอความศานติ ความเมตตาและความจำเริญทั้งหลายของอัลลอฮ์จงประสบแด่ท่านโอ้ผู้เป็นนบี ขอความศานติจงประสบแด่พวกเราและแด่ปวงบ่าวของอัลลอฮ์ผู้ทรงคุณธรรม ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญาณว่ามุฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์ ”
บันทึกโดยมุสลิม
16.3 หรือบทตะชะฮฺฮุดจากรายงานของท่านอาบีมูซาอัลอัชอะรีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งแตกต่างจากบทตะชะฮฺฮุดในรายงาน ของท่านอิบนุมัสอูด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เพียงแค่ประโยคแรกเท่านั้น
التَّحِيَّاتُ الطَّيِّبَاتُ الصَّلَوَاتُ للهِ ، السَّلاَمُ عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُّ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُهُ ،السَّلاَمُ عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِحِينَ ، أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّاللهُ ، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ
คำอ่าน ( อัตตะหิยฺยาตุต ฏ็อยยิบาตุตุศ เศาะลาวาตุต ลิลลาฮฺ , อัสลามุอะลัยกะอัยฺยุฮันนะบียฺยุ วะเราะฮฺมะตุลลอฮิวะบะรอกาตุฮฺ อัสลามุอะลัยนา วะอะลา อีบาดิลลาฮิศฺศอลิฮีน , อัชฮะดุอัลฺลาอิลาฮะ อิลฺลัลลอฮฺ , วะอัชฮะดุอันนะมุหัมมะดัน อับดู้ฮูว่าร่อซูลุฮฺีี )
“มวลการเคารพสดุดี ความดีงามและการวิงวอนทั้งหลาย เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ขอความ ศานติจงประสบแด่พวกเราและแด่ปวงบ่าวของอัลลอฮ์ผู้ทรงคุณธรรม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้า อื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญาณว่ามุฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์”
บันทึกโดยมุสลิมฺ
16.4 หรือบทตะชะฮฺฮุดจากรายงานของท่านค่อลีฟะฮ์อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งจะแตกต่างจากบทตะชะฮฺฮุด ในรายงานของท่าน อิบนุมัสอูด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ เพียงแค่ประโยคแรกเช่นเดียวกัน
التَّحِيَّاتُ للهِ الزَّاكِيَاتُ للهِ الطَّيِّبَاتُ الصَّلَوَاتُ للهِ ، السَّلاَمُ عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُّ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُهُ ،السَّلاَمُ عَلَيْنَا وَعَلَى عِبَادِ اللهِ الصَّالِحِينَ ، أَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّاللهُ ، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ
คำอ่าน ( อัตตะหิยฺยาตุลิลลาฮฺ อัซซากิยาตุลิลลาฮฺ อัดฏ็อยยิบาตุตุศ เศาะลาวาตุลิลลาฮฺ , อัสลามุอะลัยกะอัยฺยุฮันนะบียฺยุ วะเราะฮฺมะตุลลอฮิวะบะรอกาตุฮฺ อัสลามุอะลัยนา วะอะลา อีบาดิลลาฮิศฺศอลิฮีน , อัชฮะดุอัลฺลาอิลาฮะ อิลฺลัลลอฮฺ , วะอัชฮะดุอันนะมุหัมมะดัน อับดู้ฮูว่าร่อซูลุฮฺฺีี )
“มวลการเคารพสดุดีเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ความบริสุทธิ์จำเริญกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ และความ ดีงาม,การวิงวอนทั้งหลายกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ขอความศานติจงประสบแด่พวกเราและแด่ปวงบ่าว ของอัลลอฮ์ผู้ทรงคุณธรรม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และขอปฏิญาณว่า มุฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์ ”
บันทึกโดยมาลิก,อัชชาฟิอีย์และอัลบัยฮะกีย์ฺ
ในการอ่านบทตะชะฮฺฮุดนั้น หากมีความสามารถก็ควรอ่านด้วยสำนวนนี้บ้าง และสำนวนนั้นบ้าง ตามความ สามารถ สลับสับเปลี่ยนกันไป ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งซุนนะฮ์ของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่มีรายงานไว้อย่างหลากหลาย
17. การอ่านซอละหวาตนาบี (الصَّلاةُ عَلَى النَّبِيِّ )
หลังจากอ่านบทตะชะฮฺฮุดเรียบร้อยแล้ว ซุนนะฮ์ให้อ่านซอละหวาตให้กับท่านนบี ด้วยประโยคสำนวนที่ได้รับ รายงานมาจากท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เช่น
17.1 สำนวนที่หนึ่ง จากรายงานของท่านกะอฺบิบนิอุญเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ คือ
اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ ، كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ ، إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ اللَّهُمَّ بَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ ،كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ ، إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลา มุฮัมหมัด วะอะลาอาลิ มุฮัมหมัด, กะมาศ็อลลัยตะ อะลาอิบรอฮีม วะอะลา อาลิอิบรอฮีม อินนะกะหะมีดุมมะญีด, อัลลอฮุมมะบาริกอะลา มุฮัมหมัด วะอะลาอาลิ มุฮัมหมัด, กะมาบาร็อกตะอะลาอิบรอฮีม วะอะลาอาลิอิบรอฮีม อินนะกะหะมีดดุมมะญีดฺฺีี )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานซอละหวาต (ความเมตตาและการสรรเสริญ) แด่มุฮัมหมัดและวงษ์วาน ของมุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทานซอละหวาตแด่อิบรอฮีมและวงษ์วานของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญและทรงเกียรติยิ่ง โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานบาร่อกะฮ์ (ความประเสริฐจำเริญ) แด่มูฮำหมัดและวงษ์วานของมุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทานความประเสริฐ จำเริญแด่อิบรอฮีมและวงษ์วานของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญ และทรงเกียรติยิ่ง”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์
17.2 หรือสำนวนที่สอง จากรายงานของท่านอาบีสะอีดอัลคุดรีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ คือ
اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ عَبْدِكَ وَرَسُوْلِكَ كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ ،وَبَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَآلِ إِبْرَاهِيْمَ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลา มุฮัมหมัด อับดิกะ วะร่อซูลิกะ กะมาศ็อลลัยตะ อะลาอิบรอฮีม วะบาริกอะลา มุฮัมหมัด วะอะลาอาลิ มุฮัมหมัด, กะมาบาร็อกตะอะลาอิบรอฮีม วะอะลาอาลิอิบรอฮีม )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานซอละหวาต (ความเมตตาและการสรรเสริญ) แด่มุฮัมหมัดผู้เป็นบ่าวของ พระองค์ และศาสนทูตของพระองค์ เช่นที่พระองค์ประทานซอละหวาตแด่อิบรอฮีม และขอทรงประทาน บาร่อกะฮ์ (ความประเสริฐจำเริญ) แด่มูฮำหมัดและวงษ์วานของมุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทานความ ประเสริฐจำเริญแด่อิบรอฮีมและวงษ์วานของอิบรอฮีม ”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์,อันนะซาอีย์และอิบนุมาญะฮ์
17.3 หรือสำนวนที่สาม จากรายงานของท่านอาบีมัสอูดอุกบะฮ์บินอัมร์อัลอันซอรีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ คือ
اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ ،كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ ، وَبَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ ،كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ فِي الْعَالَمِينَ، إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิอะลา มุฮัมหมัด วะอะลาอาลิมุฮัมหมัด, กะมาศ็อลลัยตะ อะลาอิบรอฮีม วะอะลา อาลิอิบรอฮีม วะบาริกอะลา มุฮัมหมัด วะอะลาอาลิมุฮัมหมัด, กะมาบาร็อกตะอะลาอิบรอฮีม วะอะลาอาลิ อิบรอฮีม ฟิลอาละมีน อินนะกะหะมีดดุมมะญีดฺฺีี )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานซอละหวาต (ความเมตตาและการสรรเสริญ) แด่มุฮัมหมัดและวงษ์วานของ มุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทานซอละหวาตแด่อิบรอฮีมและวงษ์วานของอิบรอฮีม และขอทรง ประทานบาร่อกะฮ์ (ความประเสริฐจำเริญ) แด่มูฮำหมัดและวงษ์วานของมุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทาน ความประเสริฐจำเริญแด่อิบรอฮีมและวงษ์วานของอิบรอฮีมในสากลโลก แท้จริงพระองค์นั้นทรง เป็นที่สดุดีสรรเสริญและทรงเกียรติยิ่ง”
บันทึกโดยอัดติรมิซีย์และอิบนุหิบบาน
17.4 หรือสำนวนที่สี่ จากรายงานของท่านอาบีหุมัยดฺอัสซาอิดีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ คือ
اللَّهُـمَّ صَلِّ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى أَزْوَاجِهِ وَذُرِّيَّتِـهِ، كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى آلِ إبْرَاهِيْمَ، وَبَارِكْ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى أَزْوَاجِهِ وَذُرِّيَّتِـهِ ، كَمَا بَارَكْتَ عَلَى آلِ إبْرَاهِيْمَ، إنَّكَ حَـمِيْدٌ مَـجِيْدٌ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะศ็อลลิอะลา มุฮัมหมัด วะอะลาอัซวาญิฮี วะซุรริยะติฮฺ, กะมาศ็อลลัยตะ อะลาอาลิอิบรอฮีม, วะบาริกอะลามุฮัมหมัด วะอะลาอัซวาญิฮี วะซุรริยะติฮฺ, กะมาบาร็อกตะ อะลาอาลิอิบรอฮีม, อินนะกะหะมีดดุมมะญีดฺฺีี )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานซอละหวาต (ความเมตตาและการสรรเสริญ) แด่มุฮัมหมัด และแด่เหล่าภริยา และลูกหลานของมุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทานซอละหวาตแด่วงษ์วานของอิบรอฮีม และขอทรง ประทานบะรอกะฮ์ (ความประเสริฐจำเริญ) แด่มุฮัมหมัด และแด่เหล่าภริยาและลูกหลานของ มุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประ ทานความประเสริฐจำเริญแด่วงษ์วานของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรง เป็นที่สดุดีสรรเสริญและทรงเกียรติยิ่ง”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์
17.5 หรือสำนวนที่ห้า จากรายงานของท่านอาบีมัสอูดอุกบะฮ์บินอัมร์อัลอันซอรีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ คือ
اللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ النَّبِيِّ اْلأُمِّيِّ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَآلِ إِبْرَاهِيمَ وَبَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะศ็อลลิอะลา มุฮัมหมัด อันนะบียิลอุมมียฺ วะอะลาอาลิมุฮัมหมัด กะมาศ็อลลัยตะ อะลาอาลิอิบรอฮีม, วะอะลาอาลิอิบรอฮีม วะบาริกอะลามุฮัมหมัด กะมาบาร็อกตะ อะลาอาลิอิบรอฮีม วะอะลาอาลิอิบรอฮีม , อินนะกะหะมีดดุมมะญีดฺฺีี )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานซอละหวาต (ความเมตตาและการสรรเสริญ) แด่มุฮัมหมัด ผู้เป็นนาบี ที่อ่านเขียนไม่เป็น และแด่วงษ์วานของมุฮัมหมัด เช่นที่พระองค์ประทานซอละหวาตแด่อิบรอฮีม และวงษ์วานของอิบรอฮีม และขอทรงประทานบะรอกะฮ์ (ความประเสริฐจำเริญ) แด่มุฮัมหมัด ผู้เป็นนาบีที่อ่านเขียนไม่เป็นเช่นที่พระองค์ประทานบะรอกะฮ์ (ความประเสริฐจำเริญ) แด่อิบรอฮีมและวงษ์วานของอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์นั้นทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญและทรงเกียรติยิ่ง”
บันทึกโดยอะหมัดและอันนะซาอีย์และอิบนุคุซัยมะฮ์
ในการอ่านบทซอละหวาตนั้น หากมีความสามารถก็ควรอ่านด้วยสำนวนนี้บ้าง สำนวนนั้นบ้าง ตามความสามารถ สลับสับเปลี่ยนกันไป ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งซุนนะฮ์ของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่มีรายงานไว้อย่างหลากหลาย
18.การลุกขึ้นทำต่อในร็อกอะฮ์ที่สามและสี่ ( القِيَامُ إِلَى الرَّكْعَةِ الثَّالِثَةِ والرَّابِعَةِ )
หากเป็นการละหมาด 3 ร็อกอะฮฺเช่นมัฆฺริบ หรือ 4 ร็อกอะฮฺ เช่น ซุฮรฺ,อัศรฺและอิชาอ์ เมื่ออ่านบทตะชะฮฺฮุด ครั้งที่หนึ่งและซอละหวาตนาบีในร็อกอะฮ์ที่สองเรียบร้อยแล้ว ให้ลุกขึ้นทำร็อกอะฮฺที่สามต่อ โดยกล่าวตักบีรฺ ( اَللهُ أَكْبَرُ ) ขณะยันตัวลุกขึ้น โดยใช้มือทั้งสองยันพื้น หลังจากนั้นให้ยกมือทั้งสองจนถึงระดับไหล่หรือระดับติ่งหู ทั้งสอง แล้ววางมือทั้งสองกอดอกอีกครั้ง แล้วอ่านอัลฟาติหะฮฺ โดยไม่ต้องอ่านซูเราะฮ์ จากนั้นให้ลงรู่กั๊วะและ สุญูดตามขั้นตอนที่ผ่านมาแล้วข้างต้น จากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นร็อกอะฮฺที่สามให้นั่งเพื่ออ่านตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย เป็นลำดับต่อไป
แต่ถ้าเป็นการละหมาดสี่ร็อกอะฮฺ ก็ให้ลุกขึ้นทำร็อกอะฮฺที่สี่อีกร็อกอะฮ์หนึ่ง โดยอ่านเพียงอัลฟาติฮะฮ์เท่านั้น ไม่ต้องอ่านซูเราะฮ์อื่น จากนั้นให้ลงรู่กั๊วะและสุญูดตามขั้นตอนปกติ จนกระทั่งแล้วเสร็จ
19. การนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย (جَلْسَة التَشَهُّدِ الأَخِيْرِ )
เมื่อสุญูดครั้งสุดท้ายเสร็จแล้ว ให้นั่งเพื่ออ่านบทตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้าย โดยมีซุนนะฮ์ให้นั่งในท่าตะวัรรุก (التَوَرُّك ) โดยนั่งให้ก้นราบกับพื้น สอดเท้าซ้ายลอดใต้แข้งขาขวา ปลายเท้าขวายันพื้น มือทั้งสองวางบนหน้าขา หรือหัวเข่า ให้ปลายนิ้วเสมอหัวเข่า กำนิ้วก้อยและนิ้วนางและให้หัวแม่มือ(นิ้วโป้ง)ชนต่อเป็นวงกลมกับนิ้วกลาง แล้วชี้ด้วยนิ้วชี้ สายตามองที่นิ้วชี้ จากนั้นให้อ่านบทตะชะฮฺฮุด หรือนั่งโดยให้สะโพกซ้ายแนบพื้น ปลายเท้าทั้งสองยืดไปทางเดียวกัน สอดเท้าซ้ายลอดใต้แข้งขาขวา โดยไม่ต้องชันเท้าขวา
เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว ให้อ่านบทตะชะฮฺฮุดและบทซอละหวาตนาบีจนจบต้นตามลำดับ และในการนั่งท่าตะวัรรุก นี้นั้น ให้นั่งในลักษณะนี้บ้าง และลักษณะนั้นบ้าง สลับกันไปตามโอกาส ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งซุนนะฮ์ของท่าน รอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่มีรายงานไว้อย่างหลากหลาย
20.การอ่านตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้ายและการซอละหวาตนาบี (التَشَهُّدِ الأَخِيْرِ وَالصَّلاَةُ عَلَى النَّبِيِّ )
ในการนั่งตะชะฮฺฮุดครั้งสุดท้ายในทุกการละหมาด เช่น ร็อกอะฮ์ที่สามของละหมาดมัฆริบและร็อกอะฮ์ที่สี่ของ ละหมาดซุฮรฺ,อัศรฺและอิชาอฺ และรวมถึงร็อกอะฮ์ที่สองของละหมาดที่มีสองร็อกอะฮ์เช่นละหมาดซุบหฺ ผู้ละหมาดจำเป็นต้องอ่านบทตะชะฮฺฮุดและซอละหวาตนาบีจนจบต้น จะอ่านด้วยสำนวนหนึ่งสำนวนใดก็ได้ จากหลาย ๆ สำนวนที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งนี้การอ่านตะชะฮฺฮุดและการซอละหวาตนาบีในการนั่งครั้ง สุดท้ายหรือในร็อกอะฮ์สุดท้ายนั้นมีฮู่ก่มเป็นรู่ก่น ส่วนการอ่านตะชะฮฺฮุดครั้งแรกนั้นเป็นวาญิบ และการอ่านซอละหวาตในตะชะฮฺฮุดครั้งแรกนั้นเป็นสุหนัต ตามทรรศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางท่านที่เข้าใจว่าเป็นวาญิบ
21.การอ่านดุอาอฺก่อนให้สลาม ( الدُّعَاءُ قَبْلَ السَّلاَمِ )
หลังจากอ่านบทตะชะฮฺฮุดและซอละหวาตนาบีเรียบร้อยแล้ว มีซุนนะฮ์ให้อ่านดุอาอฺก่อนให้สลาม ด้วยบทดุอาอฺต่อไปนี้
21.1 ดุอาอ์จากรายงานของอาบีฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ใช้ให้อ่านดุอาอฺหลังบทตะชะฮฺฮุดว่า
اللَّهُـمَّ إنِّيْ أَعُوْذُ بِكَ مِنْ عَذَابِ جَهَنَّمَ، وَمِنْ عَذَابِ القَبْرِ، وَمِنْ فِتْنَةِ المَـحْيَا وَالمَـمَاتِ، وَمِنْ شَرِّ فِتْنَةِ المَسِيْحِ الدَّجَّالِ
คำอ่าน (อัลลอฮุมมะ อินนีอะอูซุบิกะ มินอะซาบิ ญะฮันนัม, วะมินอะซาบิล ก็อบริ, วะมิน ฟิตนะติล มะห์ยา วัลมะมาติ, วะมิน ชัรริ ฟิตนะติล มะสีหิด ดัจญาล)
“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากการลงโทษในนรกญะฮันนัม จากการลงโทษในหลุมฝังศพ จากการทดสอบทั้งขณะมีชีวิตและขณะเสียชีวิตแล้ว และจากความชั่วร้ายของการล่อลวงของดัจญาล”
บันทึกโดยมุสลิม
21.2 ดุอาอ์จากรายงานของท่านค่อลีฟะฮ์อาบีบักร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะ ซัลลัม ให้อ่านดุอาอฺในละหมาดหลังตะชะฮฺฮุดว่า
اللَّهُمَّ إِنِّيْ ظَلَمْتُ نَفْسِيْ ظُلْمًا كَثِيْرًا ، وَلاَ يَغْفِرُ الذُّنُوبَ إِلاَّ أَنْتَ ، فَاغْفِرْ لِيْ مَغْفِرَةً مِنْ عِنْدِكَ ،وَارْحَمْنِي إِنَّك أَنْتَ الْغَفُورُ الرَّحِيْمُ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ อินนี ซ่อลัมตุ นัฟซี ซุลมัน กะษีรอ, วะลา ยัฆฟิรุซซุนูบะ อิ้ลลาอันตะ, ฟัฆฟิรลี มัฆฟิเราะตัน มินอินดิกะ, วัรฮัมนี อินนะกะ อันตัล เฆาะฟูรุรเราะหีมฺีี )
“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าพระองค์อยุติธรรมต่อตัวเองอย่างมากมาย และไม่มีผู้ใดจะอภัยโทษได้นอกจาก พระองค์เท่านั้น ขอทรงโปรดอภัยแก่ข้าฯ โดยการประทานอภัยจากพระองค์ ขอทรงเมตตาข้าฯ แท้จริงพระองค์นั้นทรงยิ่งด้วยการอภัย ทรงยิ่งด้วยพระเมตตา ”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์และอัดติรมิซีย์
21.3 ดุอาอ์จากรายงานของท่านค่อลีฟะฮ์อาลี ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านดุอาอฺหลังตะชะฮฺฮุดก่อนสลามว่า
اللَّهُـمَّ اغْفِرْ لِيْ مَا قَدَّمْتُ وَمَا أَخَّرْتُ، وَمَا أَسْرَرْتُ وَمَا أَعْلَنْتُ، وَمَا أَسْرَفْتُ، وَمَا أَنْتَ أَعْلَـمُ بِـهِ مِنِّيْ،أَنْتَ المُقَدِّمُ وَأَنْتَ المُؤَخِّرُ، لاَ إلَـهَ إلاَّ أَنْتَ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมัฆฟิรลี มาก็อดดัมตุ วะมาอัคค็อรฺตุ, วะมาอัสร็อรฺตุ, วะมาอะอฺลันตุ, วะมาอัสร็อฟตุ, วะมา อันตะอะอฺละมุ บิฮีมินนี, อันตัลมุก็อดดิมุ, วะอันตัลมุอัคคิรุ, ลาอิลาฮะ อิลลาอันตะฺฺีี )
“โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงประทานอภัยในสิ่งที่ข้าพระองค์ทำผิดไปแล้วและสิ่งที่ข้าฯจะทำในภายหลัง ทั้งสิ่งที่ข้าฯทำโดยลับ (ลักลอบ) และโดยเปิดเผย ทั้งสิ่งที่ข้าฯทำเกินเลยไปโดยพลการ และสิ่งที่พระองค์รู้ดีกว่าตัวข้าฯ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ดำรงอยู่ก่อนแต่เดิมและเป็นผู้ดำรงอยู่สุดท้าย ไม่มีอวสาน ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น”
บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิม,อาบูดาวูดและอัดติรมิซีย์์ฺ
21.4 ดุอาอ์จากรายงานของท่านหญิงอาอิชะฮ์ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านดุอาอฺในละหมาดก่อนสลามว่า
اللَّهُمَّ إِنِّيْ أَعُوْذُ بِكَ مِنْ الْمَأْثَمِ وَالْمَغْرَمِ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ อินนี อะอูซุบิกะ มินัล มะอฺษะมิ วัล มัฆร็อมฺฺีี )
“โโอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าพระองค์ ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากการทำบาป และการมีหนี้สิน”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์,มุสลิม,อาบูดาวูดและอันนะซาอีย์
21.5 ดุอาอ์จากรายงานของท่านฟัรวะฮ์บินเนาฟัล ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม อ่านดุอาอฺในละหมาดก่อนสลามว่า
اللَّهُمَّ إِنِّيْ أَعُوْذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا عَمِلْتُ وَمِنْ شَرِّ مَا لَمْ أَعْمَلْ
คำอ่าน (อัลลอฮุมมะ อินนี อะอูซุบิกะ มินชัรริ มาอะมิลตุ วะมินชัรริ มาลัม อะอฺมัล )
“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าพระองค์ ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายที่ข้าฯได้ทำ และจากความชั่วร้ายที่ข้าฯไม่ได้ทำ”
บันทึกโดยอันนะซาอีย์์
21.6 ดุอาอ์จากรายงานของอาบีซอและห์ จากซอฮาบะฮ์ของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม คนหนึ่งว่า เขาอ่านดุอาอฺในละหมาดหลังตะชะฮฺฮุดก่อนสลามว่า
اللَّهُمَّ إِنِّيْ أَسْأَلُكَ الْجَنَّةَ وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ النَّارِ
คำอ่าน ( อัลลอฮุมมะ อินนี อัสอะลุกั้ลญันนะตะ วะอะอูซุบิกะ มินันนาริ)
“โอ้อัลลอฮ์ แท้จริงข้าพระองค์ขอต่อพระองค์ให้ได้เข้าสวรรค์ และขอความคุ้มครองต่อพระองค์ ให้พ้นจากนรก”
บันทึกโดยอะหมัดและอาบูดาวูด
และหากประสงค์จะอ่านดุอาอื่นเพิ่มอีก ก็สามารถทำได้ ทั้งนี้จากท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สอนให้ผู้ละหมาด ขอดุอาอฮฺให้มากๆตามใจปรารถนา ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุมัสอูด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า สอนบทตะชะฮฺฮุดให้พวกเรา และใช้ให้พวกเราเลือกขอดุอาอฺที่ดีต่างๆหลังอ่าตะชะฮฺฮุดแล้วว่า
ثُمَّ يَتَخَيَّرُ مِنْ الْمَسْأَلَةِ مَا شَاءَ
“จากนั้นให้เขาเลือกวอนขอได้ตามใจชอบ ”
บันทึกโดยมุสลิม
ในอีกรายงานหนึ่งระบุว่า
ثُمَّ يَتَخَيَّرُ بَعْدُ مِنْ الدُّعَاءِ مَا شَاءَ
“จากนั้นให้เขาเลือกดุอาอฺตามที่ปรารถนาในภายหลัง-คือหลังบทตะชะฮฺฮุด ”
บันทึกโดยอะหมัด
ในบันทึกของ ท่านอาบูดาวูดระบุไว้ว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
ثُمَّ لِيَتَخَيَّرْ أَحَدُكُمْ مِنْ الدُّعَاءِ أَعْجَبَهُ إِلَيْهِ فَيَدْعُوَ بِهِ
“จากนั้นคนหนึ่งคนใดจากหมู่พวกท่านจงเลือกดุอาอฺที่ถูกใจเขามากที่สุดแล้วขอตามนั้น ”
22. การให้สลามเลิกละหมาด ( التَّسْلِيْم )
การกล่าวสลามเป็นการยุติและออกจากพิธีละหมาด ดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว จากรายงานของท่านอาบีสะอีด อัลคุดรีย์
وَتَحْلِيلُهَا التَّسْلِيمُ
“และการยุติพิธีละหมาดคือการกล่าวสลาม”
บันทึกโดยอะหมัด,อาบูดาวูด,อัดติรมิซีย์และอิบนุมาญะฮ์
ดังนั้นเมื่อผู้ละหมาดอ่านบทตะชะฮฺฮุด,ซ่อละหวาตนาบีและดุอาอฺก่อน สลามเรียบร้อยแล้ว ให้กล่าวสลาม 1 ครั้ง โดยผินหน้าไปทางขวาสุด จนกระทั่งว่าผู้อยู่ด้านหลังสามารถมองเห็นแก้มได้ และกล่าวสลามอีกครั้งพร้อม ผินหน้าไปทางซ้ายสุดเช่นเดียวกัน การกล่าวสลามให้กล่าวด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
ثُمَّ يَتَخَيَّرُ بَعْدُ مِنْ الدُّعَاءِ مَا شَاءَ
“จากนั้นให้เขาเลือกดุอาอฺตามที่ปรารถนาในภายหลัง-คือหลังบทตะชะฮฺฮุด ”
บันทึกโดยอะหมัด
22.1 วิธีที่ 1 สลามตามรายงานของท่านอับดุลลอฮ์อิบนุมัสอูด,ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอุมัร,ท่านวาอิลอิบนิหุญุร และท่านอัมมารบินยาซิร ว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวสลามเลิกละหมาด 2 ครั้ง ด้านขวาและด้านซ้ายว่า
السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللهِ
“อัสสะลามมุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮฺ ”
บันทึกโดยอะหมัด,อาบูดาวูด,อัดติรมิซีย์,อันนะซาอีย์และอิบนุมาญะฮ์
22.2 วิธีที่ 2 สลามตามรายงานของท่านวาอิลอิบนิหุญุร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม กล่าวสลามด้านขวาว่า
السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُه
“อัสสะลามมุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮิ วะบ่าร่อกาตุฮฺ ”
และด้านซ้ายว่า
السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللهِ
“อัสสะลามมุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮฺ ”
บันทึกโดยอาบูดาวูด
22.3 วิธีที่ 3 สลามตามรายงานของท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวสลามด้านขวาว่า
السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللهِ
“อัสสะลามมุอะลัยกุม วะเราะหฺมะตุลลอฮฺ ”
และด้านซ้ายว่า
السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ
“อัสสะลามมุอะลัยกุม ”
บันทึกโดยอะหมัดและอันนะซาอีย์
23. บทซิกรุลลอฮ์หลังละหมาด ( الصَّلاَةِ أَذْكَارٌبَعْدَ )
เมื่อผู้ละหมาดกล่าวสลามเลิกจากละหมาดเรียบร้อยแล้ว มีซุนนะฮฺให้กล่าวบทซิกรุลลอฮ์ดังต่อไปนี้
23.1 กล่าวอิสติฆฟาร 3 ครั้ง โดยนั่งอยู่ในอิริยาบถเดิมและออกเสียงให้ดังพอประมาณ
اَسْتَغْفِرُ اللهَ ، اَسْتَغْفِرُ اللهَ ، اَسْتَغْفِرُ اللهَ
คำอ่าน อัสตัฆฟิรุ้ลลอฮฺ อัสตัฆฟิรุ้ลลอฮฺ อัสตัฆฟิรุ้ลลอฮฺ
“ฉันขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์”
บันทึกโดยมุสลิม
23.2 เสร็จแล้วให้กล่าว ( 1 ครั้ง ) โดยนั่งอยู่ในอิริยาบถเดิมและให้เสียงดังพอประมาณ
اللَّهُمَّ أَنْتَ السَّلاَمُ ، وَمِنْكَ السَّلاَمُ ، تَبَارَكْتَ ذَا الْجَلاَلِ وَاْلإِكْرَامِ
คำอ่าน อัลลอฮุมม่า อันตัส-ซ่าลาม ว่ามินกัสซ่าลาม ต้าบาร็อกต้า ยาซั้ลญ่าลาลี่ วั้ลอิกรอม
“โอ้อัลลอฮ์พรององค์ทรงสันติ และความศาสนตินั้นมาจากพระองค์ พระองค์ทรงยิ่งด่วยความจำเริญ โอ้ผู้ทรงยิ่งในความสูงศักดิ์และความมีเกียรติ”
บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิมและอัดติรมิซีย์
ท่านเษาบาน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า “ เมื่อท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เสร็จสิ้นจาก ละหมาด ท่านจะกล่าวอิสติฆฟาร 3 ครั้ง และกล่าวต่อว่า ( اللَّهُمَّ أَنْتَ السَّلاَم ... ) ”
บันทึกโดยมุสลิม,อาบูดาวูดและอัตติรมีซีย์
และมีรายงานจากท่านหญิงอาอิฃะฮ์ว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะนั่งอยู่ในท่าเดิม ขณะกล่าว ( اللَّهُمَّ أَنْتَ السَّلاَمُ وَمِنْكَ السَّلاَمُ .... ) และท่านอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “ การออกเสียง ซิกรุลลอฮ์ให้ดัง (พอประมาณ)หลังจากเสร็จละหมาดฟัรฏูนั้น มีมาตั้งแต่สมัยของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม แล้วข้าพเจ้ารู้ว่าพวกเขาเลิกละหมาดเพราะได้ยินเสียงดังนั้น ” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม
23.3 เสร็จแล้วให้กล่าวว่า ( 1 ครั้ง )
لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ اللَّهُمَّ لاَ مَانِعَ لِمَا أَعْطَيْتَ ، وَلاَ مُعْطِيَ لِمَا مَنَعْتَ ، وَلاَ يَنْفَعُ ذَا الْجَدِّ مِنْكَ الْجَدُّ
คำอ่าน ลาอิลาฮ่า อิ้ลลั้ลลอฮู่ วะหฺด้าฮู ลาชะรีก้าละฮฮ ละฮุ้ลมุ้ลกู้ ว่าละฮุ้ลฮัมดู้ ว่าฮู่ว่าอะลากุ้ลลี่ ชัยอินก็อดีรรฺ อัลลอฮุมม่า ลามานิอ้า ลี่มาอะอฺฏ็อยต้า ว่าลามุอฺฏิย่า ลี่มาม่านะอฺต้า ว่าลายันฟ่าอู้ ซั้ลญัดดี้ มินกั้ลญัดดู้
“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาดีใดๆสำหรับพระองค์ อำนาจและการสรร เสริญทั้งมวลเป็นของพระองค์ และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง โอ้อัลลอฮ์ ไม่มีผู้ใดสามารถ ยับยั้งขัดขวางสิ่งที่พระองค์ทรงประทานได้ และไม่มีผู้ใดมอบสิ่งที่พระองค์ทรงยับยั้งได้ และฐานะ ความมั่งคั่งจะไม่สามารถเอื้อใหผู้มีฐานะนั้นรอดพ้นจากการเอาผิดและลงโทษของอัลลอฮ์ได้”
บันทึกโดยอัลบุคอรีย์์์ฺ
ท่านมุฆีเราะฮฺอิบนิชัวะบะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า “ แท้จริงท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะกล่าวบทดังกล่าวนี้หลังจากเสร็จละหมาดฟัรฏูทุกครั้ง ”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์,มุสลิม,อาบูดาวูดและอัตติรมิซีย์
23.4 เสร็จแล้วให้กล่าวว่า ( 1 ครั้ง )
لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ،لاَ حَوْلَ وَلاَ قُوَّةَ إِلاَّ بِاللهِ،لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَ لاَ نَعْبُدُ إِلاَّ إِيَّاهُ ، لَهُ النِّعْمَةُ وَلَهُ الْفَضْلُ وَلَهُ الثَّنَاءُ الْحَسَنُ ، لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ مُخْلِصِيْنَ لَهُ الدِّيْنَ وَلَوْ كَرِهَ الْكَافِرُوْنَ
คำอ่าน ลาอิลาฮ่า อิ้ลลั้ลลอฮู่ วะหฺด้าฮู ลาชะรีก้าละฮฮ ละฮุ้ลมุ้ลกู้ ว่าละฮุ้ลฮัมดู้ ว่าฮู่ว่าอะลากุ้ลลี่ ชัยอินก็อดีรรฺ ลาเฮาล่า ว่าลากูว่าต้า อิ้ลลาบิ้ลลาฮฺ ลาอิลาฮ่า อิ้ลลั้ลลอฮู่ ว่าลานะอฺบู้ดู้อิ้ลลาอี้ยาฮู่ ล่าฮุนนิอฺมะตู้ ว่าล่าฮุ้ลฟัฎลู่ ว่าล่าฮุษษะนาอุ้ลหะซัน ลาอิลาฮ่า อิ้ลลั้ลลอฮู่ มุคลี่ซีน่าล่าฮุดดีน ว่าเลาก้ารี่ฮั้ลกาฟี่รูน
“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาดีใดๆสำหรับพระองค์ อำนาจและการสรร เสริญทั้งมวลเป็นของพระองค์ และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง ไม่มีอำนาจและพลังใดนอก จากอัลลอฮ์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และเราจะไม่สักการะภักดีสิ่งใดนอกจากพระองค์เท่านั้น กรุณาธิคุณ ความเมตตา และการสรรเสริญอันดีงามล้วนเป็นของพระองค์ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก อัลลอฮ์ โดยบริสุทธิ์ใจในการภักดีต่อพระองค์ แม้ว่าบรรดาผู้ปฏิเสธจะรังเกียจชิงชังก็ตาม”
บันทึกโดยมุสลิม
ท่านอับดุลลอฮฺอิบนุซุเบร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า “ ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อ่านบทซิกรุลลอฮ์ดังกล่าวเป็นประจำทุกครั้งหลังเสร็จละหมาด ” บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิมและอันนะซาอีย์ และท่านอิบนุซุเบร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ก็อ่านเป็นประจำเช่นกัน
23.5 สำหรับเวลาซุบห์ให้กล่าวเพิ่มอีก 10 ครั้ง (โดยนั่งท่าเดิมและไม่พูดอะไรก่อน)
لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ ، يُحْيِي وَيُمِيتُ ، وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ
คำอ่าน ลาอิลาฮ่า อิ้ลลั้ลลอฮู่ วะหฺด้าฮู ลาชะรีก้าละฮฮ ละฮุ้ลมุ้ลกู้ ว่าละฮุ้ลฮัมดู้ ยุหฺยีว่ายู่มีตู้ ว่าฮู่ว่า อะลากุ้ลลี่ ชัยอินก็อดีรรฺ
“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาดีใดๆสำหรับพระองค์ อำนาจและการสรร เสริญทั้งมวลเป็นของพระองค์ ทรงให้เป็นและทรงให้ตาย และพระองค์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง”
ท่านอาบีซัรรฺและท่านอับดุรเราะหฺมานบินฆ็อนมฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ ผู้ใดกล่าว
..... لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ
หลังเสร็จจากละหมาดซุบหฺ โดยที่เขายังคงนั่งสอดเท้าอยู่ตามเดิมและไม่พูดอะไรก่อน อัลลอฮฺ ตะอาลา จะทรงบันทึกความดีให้เขา 10 ความดี และลบล้างความผิดให้ 10 ความผิด และเพิ่มฐานานุศักดิ์ให้ เขาอีก 10 ขั้น และคุ้มครองเขาให้รอดพ้นจากชัยฏอนและสิ่งเลวร้ายทั้งมวลตลอดทั้งวัน ”
บันทึกโดยอัตติรมิซีย์
และท่านอุมาเราะฮฺบินชะบีบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ ผู้ใดกล่าว
..... لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ
หลังละหมาดมัฆริบ อัลลอฮฺ ตะอาลา จะทรงส่งมะลาอิกะฮฺพร้อมอาวุธ เพื่ออารักขาคุ้มครองเขาจาก ชัยฏอนตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า และบันทึกความดีให้เขาอีก 10 ความดี ลบล้างความผิดให้อีก 10 ความผิด และเสมือนว่าเขานั้นได้ปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระอีก 10 คน ”
บันทึกโดยอัตติรมิซีย์
23.6 จากนั้นให้กล่าวคำตัสบีหฺ ( سُبْحَانَ اللهِ ) ตะหฺมีด ( الْحَمْدُ للهِ ) และตักบีร ( اللهُ أَكْبَرُ ) อย่างละ 33 ครั้ง เมื่อครบเสร็จแล้วให้กล่าวตามทันทีว่า
لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ ، وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ
คำอ่าน ลาอิลาฮ่า อิ้ลลั้ลลอฮู่ วะหฺด้าฮู ลาชะรีก้าละฮฮ ละฮุ้ลมุ้ลกู้ ว่าละฮุ้ลฮัมดู้ ยุหฺยีว่ายู่มีตู้ ว่าฮู่ว่า อะลากุ้ลลี่ ชัยอินก็อดีรรฺ
“ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาดีใดๆสำหรับพระองค์ อำนาจและ การสรรเสริญทั้งมวลเป็นของพระองค์ ทรงให้เป็นและทรงให้ตาย และพระองค์ทรงเดชานุภาพ เหนือทุกสิ่ง”
ท่านอาบีฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ ผู้ใดกล่าวคำตัสบีหฺ ( سُبْحَانَ اللهِ ) 33 ครั้ง กล่าวคำตะหฺมีด ( الْحَمْدُ لله ) 33 ครั้ง และกล่าวคำตักบีร (اللهُ أَكْبَرُ ) อีก 33 ครั้ง และกล่าวให้ครบร้อยครั้งด้วยคำว่า
( لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللَّهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ ، لَهُ الْمُلْكُ وَلَهُ الْحَمْدُ ...... إلخ )
ความผิดชองเขาจะได้รับการอภัย แม้จะมีมากเท่าฟองน้ำในทะเลก็ตาม ”
บันทึกโดยอะหมัด,อัลบุคอรีย์,มุสลิมและอาบูดาวูด
23.7 จากนั้นให้กล่าว ( 1 ครั้งหรือมากกว่า )
اللَّهُمَّ أَعِنِّي عَلَى ذِكْرِكَ وَشُكْرِكَ وَحُسْنِ عِبَادَتِكَ
คำอ่าน : อัลลอฮุมม่า อ้าอินนี อ้าลาซิกริก้า ว่าชุกรี่ก้า ว่าฮุสนี่อี้บาด้าตี้ก้า
“โอ้อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานความช่วยเหลือต่อข้าพระองค์ให้ได้กล่าวรำลึกถึงพระองค์ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์โดยดี”
ท่านมุอาซอิบนิญะบัล ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม คว้ามือฉันและบอกกับฉันว่า “ โอ้มุอาซเอ๋ย ฉันขอสาบานยืนยันต่ออัลลอฮ์ ฉันรักท่านมากๆ ฉันขอสั่งกำชับว่า ท่านอย่าละเลยเพิกเฉยหลังเสร็จละหมาดทุกครั้ง ท่านต้องกล่าวว่า
( اللَّهُمَّ أَعِنِّي عَلَى ذِكْرِكَ وَشُكْرِكَ وَحُسْنِ عِبَادَتِكَ )
บันทึกโดยอาบูดาวูด
23.8 เสร็จแล้วให้อ่านอายะฮฺกุรซีย์,ซูเราะฮ์อัลอิคลาศ,ซูเราะฮฺอัลฟะลักและซูเราะฮฺอันนาสอย่างละ 1 ต้น
ท่านอาบูอุมามะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ ผู้ใดอ่าน อายะฮฺกุรซีย์หลังละหมาดฟัรฏูทุกครั้ง จะไม่มีสิ่งใดขัดขวางเขาจากการได้เข้าสวรรค์นอกจากความ ตายเท่านั้น ”
บันทึกโดยอันนะซาอีย์
และมีรายงานจากท่านอุกบะฮฺอิบนิอามิร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ใช้ให้ฉันอ่านอัลมุเอาวะซ้าต ( الْمُعَوَّذَاتُ ) ขอความคุ้มครองหลังเสร็จละหมาดทุกครั้ง ” บันทึกโดยอะหมัด และอาบูดาวูด ( อัลมุเอาวะซ้าต คือ ซูเราะฮ์อิคลาศ,ซูเราะฮฺ อัลฟะลักและซูเราะฮฺอันนาส )
بسم الله الرحمن الرحيم
قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ اللَّهُ الصَّمَدُ لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ وَلَمْ يَكُنْ لَهُ كُفُوًا أَحَدٌ
คำอ่าน : กุ้ลฮู่วั้ลลอฮู่อ้าฮัด อัลลอฮุศซ่อมัด ลัมย่าลิดว่าลัมยูลัด ว่าลัมย่ากุ้ลล่าฮู กู้ฟู่วันอ้าฮัด
“-มูฮัมหมัด-จงกล่าวเถิดว่า พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ อัลลอฮฺทรงเป็นที่พึ่ง พระองค์มิได้ให้กำเนิด ผู้ใดและมิได้กำเนิดจากผู้ใด และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ ฺ ”
بسم الله الرحمن الرحيم
قُلْ أَعُوذُ بِرَبِّ الْفَلَقِ مِنْ شَرِّ مَا خَلَقَ وَمِنْ شَرِّ غَاسِقٍ إِذَا وَقَبَ وَمِنْ شَرِّ النَّفَّاثَاتِ فِي الْعُقَدِ وَمِنْ شَرِّ حَاسِدٍ إِذَا حَسَدَ
คำอ่าน : กุ้ลอ้าอูซู่บี้ร็อบบิ้ลฟ่าลัก มินชัรฺรี่มาค่อลัก ว่ามินชัรฺรี่ฆอซี่กินอี้ซาว่าก็อบ ว่ามินชัรฺริน นัฟฟาซาตี้ ฟิ้ลอู้ก็อด ว่ามินชัรฺรี่ฮาซิดินอี้ซาฮ่าซัด
“-มูฮัมหมัด- จงกล่าวเถิดว่า ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระผู้เป็นเจ้าแห่งรุ่งอรุณ ให้พ้นจาก ความชั่วร้ายของสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง และพ้นจากความชั่วร้ายของความมืดมิดในยามราตรี เมื่อมันปกคลุม และพ้นจากความชั่วร้ายของบรรดาผู้เสกเป่าในปมเงื่อน และพ้นจากความชั่วร้าย ของผู้อิจฉาเมื่อเขาอิจฉา”
بسم الله الرحمن الرحيم
قُلْ أَعُوذُ بِرَبِّ النَّاسِ مَلِكِ النَّاسِ إِلَهِ النَّاسِ مِنْ شَرِّ الْوَسْوَاسِ الْخَنَّاسِ الَّذِي يُوَسْوِسُ فِي صُدُورِ النَّاسِ مِنَ الْجِنَّةِ وَالنَّاسِ
คำอ่าน : กุ้ลอ้าอูซู่บี้ร็อบบินนาส ม่าลี่กินนาส อี้ลาฮินนาส มินชัรฺริ้ลวัสวาซิ้ลคอนนาส อั้ลล่าซียู่วัสวิซู่ ฟีซู่ดูรินนาส มี่นั้ลญินน่าตี้วันนาส
“-มูฮัมหมัด- จงกล่าวเถิดว่า ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระผู้เป็นเจ้าแห่งมวลมนุษย์ ผู้เป็นราชาแห่งมวลมนุษย์ ผู้เป็นพระเจ้ามวลมนุษย์ ให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายของเหล่า ชัยฏอนที่กระซิบกระซาบ หลอกลวง ซึ่งกระซิบกระซาบในหัวอกของมนุษย์ ทั้งจากเหล่า ญินและมวลมนุษย์ ”
อายะฮฺกุรซียฺ
اللَّهُ لَا إِلَهَ إِلَّا هُوَ الْحَيُّ الْقَيُّومُ لَا تَأْخُذُهُ سِنَةٌ وَلَا نَوْمٌ لَهُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الْأَرْضِ مَنْ ذَا الَّذِي يَشْفَعُ عِنْدَهُ إِلَّا بِإِذْنِهِ يَعْلَمُ مَا بَيْنَ أَيْدِيهِمْ وَمَا خَلْفَهُمْ وَلَا يُحِيطُونَ بِشَيْءٍ مِنْ عِلْمِهِ إِلَّا بِمَا شَاءَ وَسِعَ كُرْسِيُّهُ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ وَلَا يَئُودُهُ حِفْظُهُمَا وَهُوَ الْعَلِيُّ الْعَظِيمُ
คำอ่าน : อัลลอฮู่ลาอี้ลาฮ่า อิ้ลลาฮู่วั้ลฮัยยุ้ลก็อยยูม ลาต๊ะคู่ซู่ฮู ซี่น่าตูวฺ ว่าลาเนามฺ ล่าฮูมาฟิสซ่าวาตี้ ว่ามาฟิ้ลอัรฎฺ มันซั้ลล่าซียัชฟ่าอู้อินด้าฮู อิ้ลลาบี้อิซนิฮฺ ยะอฺล่ามู่มาบัยน่าอัยดีฮิม ว่ามาค็อลฟ่าฮุม ว่าลายู่ ฮีฏูน่า บี้ชัยอิน มินอิลมี่ฮี อิ้ลลาบี้มาชาอฺ ว่าซี้อ้ากุรฺซียู่ฮุสซ่ามาวาตี้วั้ลอัรฎฺ ว่าลาย่าอูดู้ฮู ฮิฟซู่ฮู่มา ว่าฮู่วั้ล อ้าลียุ้ลอ้าซีม
“อัลลอฮ์นั้น ไม่มีพระเจ้าที่คู่ควรแก่การเคารพสักการะใดๆนอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงมีชีวินผู้ทรง ดำรงด้วยพระองค์เอง การง่วงนอนและการนอนหลับใด ๆจะมิอาจเกิดขึ้นกับพระองค์ สิ่งที่อยู่ในบรรดา ชั้นฟ้าและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ ใครเล่าคือผู้ที่จะอนุเคราะห์ช่วยเหลือ แก่ผู้อื่น ณ ที่พระองค์ได้ นอกจากด้วยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้า ของพวกเขา และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของพวกเขา และพวกเขาจะไม่รู้สิ่งใดจากความรู้ของพระองค์ ได้นอกจากสิ่งที่พระองค์ประสงค์เท่านั้น เก้าอี้พระองค์นั้นกว้างไพศาลทั่วชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และการรักษามันทั้งสองก็ไม่เป็นภาระหนักอึ้งต่อพระองค์ และพระองค์นั้นคือผู้ทรงสูงศักดิ์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่” ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ อายะฮ์ที่ 255
ยังมีบทซิกรุลลอฮ์และบทดุอาอฺอื่นๆอีกที่ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยใช้กล่าว และอ่านหลังละหมาด ศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราหะดีษที่บันทึกกิจวัตรของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น