ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

การละหมาดญะมาอะฮฺ

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ความเมตตาจำเริญและความศานติจงมีแด่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรได้รับการภักดีนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีภาคีหุ้นส่วนอันใดสำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์           แท้จริงการละหมาดเป็นเสาหลักของศาสนา และเป็นบทบัญญัติที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดหลังจากการกล่าวคำปฎิญาณตนยอมรับต่ออัลลอฮฺและท่านเราะสูลุลลอฮฺ  และอัลลอฮฺได้กล่าวสรรเสริญต่อบรรดาปวงบ่าวที่รักษาการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิดว่า ﴿فِي بُيُوتٍ أَذِنَ ٱللَّهُ أَن تُرۡفَعَ وَيُذۡكَرَ فِيهَا ٱسۡمُهُۥ يُسَبِّحُ لَهُۥ فِيهَا بِٱلۡغُدُوِّ وَٱلۡأٓصَالِ ٣٦ رِجَالٞ لَّا تُلۡهِيهِمۡ تِجَٰرَةٞ وَلَا بَيۡعٌ عَن ذِكۡرِ ٱللَّهِ وَإِقَامِ ٱلصَّلَوٰةِ وَإِيتَآءِ ٱلزَّكَوٰةِ يَخَافُونَ يَوۡمٗا تَتَقَلَّبُ فِيهِ ٱلۡقُلُوبُ وَٱلۡأَبۡصَٰرُ﴾  ] النور :  36-37 [ ความว่า “ในบรรดามัสยิดที่อัลลอฮฺได้อนุญาตให้มีการเทิดเกียรติและรำลึกถึงพระนามของ...

ชีวประวัติท่านนะบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม

เราจะศึกษาเรื่องของนะบีและร่อซูลที่มีความสำคัญ เช่น นะบีอาดัม นะบีนูหฺ มาถึงบุคคลที่มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์มนุษย์ คือท่านนะบีอิบรอฮีม ระหว่างนะบีนูหฺกับนะบีอิบรอฮีมมีนะบีท่านอื่น คือ นะบีอิดรีส(เป็นนะบีที่มีชื่อเสียง และถูกยกย่องให้มีตำแหน่งสูงทั้งที่สวรรค์และดุนยา มีรายงานประวัติศาสตร์จากนักรายงานบางท่านว่านะบีอิดรีสเป็นมนุษย์คนแรกที่เริ่มการเขียนหนังสือ แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันที่น่าเชื่อถือ เป็นเพียงรายงานยืนยันทางประวัติศาสตร์) นะบีซอลิหฺ และนะบีฮูด ซึ่งอยู่บริเวณเกาะอาหรับ เป็นนะบีรุ่นเก่าแก่มาก ท่านนะบีอิบรอฮีมเกิดที่เมืองอิรักหรือที่เรียกว่าอาณาจักรบาบิโลน สมัยนั้นพวกบาบิโลนบูชาดวงดาวต่าง ๆ และรูปเจว็ด โดยผูกพันรูปเจว็ดกับดวงดาวต่าง ๆ เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺกำหนดว่าคนที่เป็นศัตรูกับนะบีอิบรอฮีมในการทำหน้าที่เป็นนะบี คือ บิดาของท่าน ชื่อ อาซัร เป็นคนสร้างรูปเจว็ด อิบรอฮีมอยู่ในบ้านอาซัร เกิดในสิ่งแวดล้อมที่เป็นชิริกทั้งสิ้น เข้าบ้านก็เห็นแต่รูปเจว็ด ไปร้านพ่อก็มีรูปเจว็ด แล้วสัจธรรมหรือแสงสว่างจากพระผู้เป็นเจ้ามาถึงนะบีอิบรอฮีมได้อย่างไร? นี่คือบทเรียน อย่าแปลกใจที่ยุค...

เหตุใดอัลลอฮฺทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินภายในหกวัน?

เหตุใดอัลลอฮฺทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินภายในหกวัน? คำถาม เพราะสาเหตุอันใดเล่าที่อัลลอฮฺได้สร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินเป็นระยะเวลาถึงหกวัน  ทั้งที่พระองค์มีความสามารถที่จะสร้างในช่วงระยะเวลาที่น้อยกว่านี้?  เมื่อพระองค์มีความประสงค์ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดพระองค์จะตรัสว่า “จงเป็น”  ดังนั้นมันก็จะปรากฏขึ้น  แล้วเพราะสาเหตุอันใดที่พระองค์ต้องใช้ระยะเวลาถึงหกวันจนกว่าจะสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน? คำตอบ อัลฮัมดุลิลลาฮฺ... เป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้ที่มีศรัทธาอย่างลึกซึ้งและมีหลักเตาฮีด(การศรัทธาในเอกภาพของอัลลอฮฺ)ที่สมบูรณ์  ว่าพระเจ้าผู้สูงส่งเป็นผู้ที่มีความสามารถเหนือทุกสรรพสิ่ง  ความสามารถของพระองค์ไม่มีขอบเขตจำกัด  ดังนั้นพระองค์มีความสามารถต่อทุกสรรพสิ่งและความประสงค์มีอย่างสมบูรณ์  จุดจบของทุกกิจการงานและคำตัดสินจะสิ้นสุดที่พระองค์  เมื่อพระองค์มีความประสงค์ต่อสิ่งใดสิ่งนั้นก็จะเกิดขึ้น เช่นเดียวกันที่มันจะเกิดขึ้นในเวลาที่พระองค์ต้องการ  ด้วยวิธีการที่พระองค์ต้องการให้มันเป็น ดังที่มีตัวบทที่มีสายรายงานติดต่อกันจำนวนมากจากคัมภีร์ข...

อายะตุลกุรซีย ซูเราะตุลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 255

อายะตุลกุรซีย (ซูเราะตุลบะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 255) اللّهُ لاَ إِلَـهَ إِلاَّ هُوَ الْحَيُّ الْقَيُّومُ لاَ تَأْخُذُهُ سِنَةٌ وَلاَ نَوْمٌ لَّهُ مَا فِي السَّمَاوَاتِ وَمَا فِي الأَرْضِ مَن ذَا الَّذِي يَشْفَعُ عِنْدَهُ إِلاَّ بِإِذْنِهِ يَعْلَمُ مَا بَيْنَ أَيْدِيهِمْ وَمَا خَلْفَهُمْ وَلاَ يُحِيطُونَ بِشَيْءٍ مِّنْ عِلْمِهِ إِلاَّ بِمَا شَاء وَسِعَ كُرْسِيُّهُ السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضَ وَلاَ يَؤُودُهُ حِفْظُهُمَا وَهُوَ الْعَلِيُّ الْعَظِيمُ ﴿ 255. อัลลอฮฺนั้นคือไม่มีผู้ที่เป็นที่เคารพสักการะใด ๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น ผู้ทรงมีชีวิต ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลาย โดยที่การง่วงนอน และการนอนหลับใด ๆ จะไม่เอาพระองค์ สิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้าและสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินนั้นเป็นของพระองค์ ใครเล่าคือผู้ที่จะขอความช่วยเหลือให้แก่ผู้อื่น ณ ที่พระองค์ได้ นอกจากด้วยอนุมัติของพระองค์เท่านั้น พระองค์ทรงรู้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้าของพวกเขา และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของพวกเขา และพวกเขาจะไม่ล้อมสิ่งใดจากความรู้ของพระองค์ไว้ได้ นอกจากสิ่งที่พระองค์ประสงค์เท่านั้น เก้าอี้พระองค์นั้นกว้างขวางทั่วชั้นฟ้...

สิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาด

สิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาด มี 5 ประการ คือ 1.ถ้ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดออกมาจากทวารหนักหรือทวารเบา 2.นอนหลับโดยที่ก้นไม่แน่นแฟ้น ถ้านั่งในท่าขัดสมาธิหลับไม่เป็นไร 3. สติฟั่นเฟือนเนื่องจากเหตุเมา เจ็บไข้ เป็นลม หรือ เป็นบ้า 4.ผิวหนังของชายหญิงที่แต่งงานกันได้ ซึ่งมีความรู้สึกทางเพศแล้วกระทบกันโดยไม่มีของกั้น แม้จะกระทบกับคนตายก็ไม่ได้ แต่ผมกับเล็บไม่เป็นไร 5.กระทบทวารหนักหรือทวารเบาด้วยฝ่ามือ ซึ่งไม่มีของปิดกั้น กับบุคคลในเพศเดียวกันหรือคนละเพศหรือทวารของตนเองก็ไม่ได้เช่นกัน  เรื่องบาป (ฮาร่าม) บนเหนือชายหญิงที่ไม่มีน้ำละหมาดมี 3 ประการ คือ 1.ห้ามละหมาดฟัรดูและสุนัต 2.ห้ามตอว๊าฟใบตุ๊ลเลาะฮ์ ทั้งฟัรดูและสุนัต 3.ห้ามจับกระทบหรือถือหิ้วพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน  เรื่องบาป (ฮาร่าม) บนชายหญิงที่มียูนุบมี 5 ประการ คือ 1.ห้ามละหมาดทั้งฟัรดูและสุนัต 2.ห้ามอ่านพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านทั้งค่อยและดัง (คำว่าอ่านค่อยหมายความว่า เราอ่านได้ยินเฉพาะตนเองคำว่าอ่านดังหมายความว่า เราอ่านจนกระทั่งคนอื่นได้ยินเสียง) 3.ห้ามจับ กระทบ หรือหิ้วถือพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน 4.ห้ามตอว๊าฟใบตุ๊ลเลาะห์ทั้งฟัร...

การอาบน้ำละหมาด

การอาบน้ำละหมาด คือ ข้อปฏิบัติในการอาบน้ำละหมาดที่เป็นฟัรดูนั้นมีอยู่ 6 ประการคือ ประการที่ 1 เนียต คือต้องนึกในใจเมื่อเราล้างส่วนหนึ่งส่วนใดของหน้า คำอ่านสำหรับผู้ที่จะอาบน้ำละหมาด สุนัตให้อ่านว่า  “ นะวัยตุล วุดูอะ ฟัรด็อนลิ๊ลลาฮิตาอาลา “ ต้องนึกในใจว่า " ข้าพเจ้าอาบน้ำละหมาด วุดุอ์ฟัรดูเพื่ออัลลอฮตะอาลา " ประการที่ 2 ล้างหน้าให้ทั่วเขตของหน้า ตั้งแต่ หน้าผากจดถึงใต้คาง และระหว่างเม็ดหูข้างหนึ่งจดเมื่อหูอีกข้างหนึ่งให้น้ำถูกผิวหน้าจนทั่วตลอดจนโคนเคราที่บางถ้าเคราหนาก็ให้ล้าง เฉพาะภายนอกเท่านั้น ประการที่ 3 ล้างมือทั้งสองข้าง ตลอดจนถึงข้อศอกให้น้ำถูกผิวหนังจนทั่ว ประการที่ 4 เอาน้ำเช็ดที่ผมส่วนหนึ่งส่วนใดในเขตศรีษะ ประการที่ 5 ล้างเท้าทั้งสองข้าง ตลอดจนถึงสองตาตุ่มให้ถูกผิวหนังจนทั่ว ประการที่ 6 ต้องทำให้ได้อันดับเรียงมาตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 5 ถ้าสลับกันหรือละเว้นข้อการอาบน้ำละหมาดนั้นใช้ไม่ได้ สุนัตของการอาบน้ำละหมาดมี 10 ประการ คือทำได้ผลบุญ ถ้าละเว้นไม่เสียหายอะไร คือ 1. เมื่อจะเริ่มล้างฝ่ามือ ให้อ่านอะอูซูบิลลาฮิ มินัสไซตอนิรรอญีม และ บิสสมิลลาฮิรเราะห์มานิรรอฮีม 2. ...

การละหมาดในศาสนาอิสลาม

  การละหมาด เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู   ละหมาด หมายถึง การขอพร ความหมายทางศาสนาหมายถึง การกล่าวและการกระทำ ซึ่งเริ่มต้นด้วยตักบีร และ จบลงด้วยสะลาม การละหมาดเป็นการสร้างเอกภาพอย่างหนึ่งของมุสลิม เมื่อละหมาดมุสลิมทั่วโลก หันหน้าไปทางกิบละฮฺ เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ การละหมาด ฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางชั่วร้าย ดังอัลกุรอานระบุไว้ ความว่า " และจงละหมาด แท้จริงการละหมาดจะยับยั้งความลามกอนาจารและสิ่งต้องห้าม " อัล - อังกะบูต : 45 การละหมาดฟัรฏู อัลลอฮฺทรงกำหนดให้มุสลิมทำการละหมาด วันละ 5 เวลา คือ 1. ละหมาดศุบหฺ      มี 2 ร็อกอะฮฺ       เวลา เริ่มตั้งแต่ฟ้าสางจนถึงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น 2. ละหมาด ซุฮฺริ      มี 4 ร็อกอะฮฺ      เวลาเริ่มตั้งแต่ดวงตะวันคล้อยจนเงาของสิ่งหนึ่งสิ่งใดทอดยาวออกไป...

ซะกาตในอิสลาม

 ในฐานะที่เป็นคนไทย ขณะที่มีงานทำและมีรายได้เป็นเงินเดือนประจำในทุกสิ้นเดือนที่บริษัทจ่ายเงินเดือนให้ ต้องเสียภาษีเงินได้ส่วนหนึ่งให้แก่รัฐตามกฎระเบียบที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ หากใครหลีกเลี่ยงภาษีก็ถือว่าผิดกฏหมายและหากถูกจับได้ก็จะต้องถูกลงโทษตามที่กฏหมายระบุไว้ ทำไมต้องจ่ายภาษี ? คำตอบก็คือ มันเป็นหน้าที่ของพลเมืองไทยทุกคนที่จะต้องช่วยกันทำนุบำรุงและพัฒนาประเทศชาติบ้านเมือง ซึ่งในที่สุดแล้วก็จะส่งผลดีกลับมายังผู้จ่ายนั้นเอง ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำระปา การชลประทาน โรงเรียน  โรงพยาบาล เงินเดือนข้าราชการ ทหาร ตำรจ และอื่นๆเหล่านี้ล้วนแต่มาจากภาษีของประชาชนทั้งสิ้น แต่ในฐานะที่เป็นมุสลิม  นอกจากจะต้องจ่ายภาษีให้แก่รัฐแล้ว ยังต้องจ่ายภาษีศาสนาที่เรียกว่า “ซะกาต” อีกส่วนหนึ่งให้แก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับ 8 ประเภทตามที่ศาสนากำหนดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพสักการะพระเจ้า (อัลลอฮฺ) การจ่ายซะกาตเป็นบทบัญญัติทางกฏหมายอิสลามที่กำหนดให้บุคคลและนิติบุคคลมุสลิมทีมีทรัพย์สินถึงพิกัดอัตราทที่ศาสนากำหนดไว้ (นิศอบ) ในวันครบรอบปีจันทรคติจะต้องจ่ายทรัพย์สินนี้ออกไปจำนวนหนึ่งในอัตราที่...